ที ๑ : น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
ทีใครทีมัน : น. โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น.
ที่ดินของรัฐ : (กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือ ทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.
ทีท่า : น. ความเป็นไปของสถานการณ์หรือบุคคลเป็นต้น, ท่าที ก็ว่า.
ที่ธรณีสงฆ์ : (กฎ) น. ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด.
ที่พึ่ง : น. ผู้คุ้มครองช่วยเหลือ เช่น พ่อแม่เป็นที่พึ่งของลูก, สิ่งที่อาศัย ยึดเป็นหลัก เช่น ได้ตําราเป็นที่พึ่ง, เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ เช่น ยึด พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
ที่ราชพัสดุ : (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดิน รกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหา ริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของ พลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติ บุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.
ที่ราบ : น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะ แตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
ทีเอ็นที : น. สารประกอบอินทรีย์ ชื่อเต็มคือ ไทรไนโทรโทลูอีน (trinitrotoluene) มีสูตร C7H5(NO2)3 ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกสีเหลืองอ่อน หลอมละลายที่ ๘๒?ซ. เป็นวัตถุ ระเบิดชนิดร้ายแรง. (อ. TNT).
ทึก ๑, ทึกทัก : ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้.
ทึ่ง : (ปาก) ก. อยากรู้อยากเห็นเกินกว่าที่ควรจะเป็น (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ); รู้สึกว่าน่าสนใจ, น่าอัศจรรย์ใจ, (ใช้ในทางที่ดี).
ทึดทือ : น. ชื่อนกในวงศ์ Strigidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเค้า ตัวสีนํ้าตาล มีลายกระสีขาว ลําตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านท้อง ขนคิ้วยาว เห็นได้ชัด ตาสีเหลือง ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน ในประเทศ ไทยมี ๒ ชนิด คือทึดทือพันธุ์เหนือ (Ketupa zeylonensis) และ ทึดทือมลายู (K. ketupa).
ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
ทุก ๑, ทุก ๆ : ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจํานวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็น หน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมี ปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.
ทุกขนิโรธ : [ทุกขะนิโรด] น. ความดับทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๓. (ป.).
ทุกขสมุทัย : [ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๒. (ป.).
ทุกข์สุข : น. ความเป็นอยู่หรือความเป็นไปของชีวิตในขณะนั้น.
ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
ทุทรรศนนิยม, ทุนิยม : น. ทฤษฎีที่ถือว่า โลก ชีวิตและมนุษย์ เป็นสิ่งเลวร้ายที่สุด; การ มองโลกในแง่ร้าย. (อ. pessimism).
ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
ทุนจดทะเบียน : (กฎ) น. จํานวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียน ไว้ตามกฎหมายและได้กําหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจํานวน สูงสุดของหุ้นที่จะออกจําหน่ายได้. (อ. authorized capital).
ทุนทรัพย์ : [ทุนซับ, ทุนนะซับ] น. ทรัพย์ที่เป็นทุน, จํานวนทรัพย์
ทุนนิยม : น. ระบบเศรษฐกิจที่ยอมให้บุคคลมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและ ทรัพยากรที่เป็นทุนมีเสรีภาพในการผลิต และการค้า. (อ. capitalism).
ทุ่นเบ็ด : น. ทุ่นสําหรับผูกสายเบ็ดตกปลา เพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่า ปลากินเบ็ด.
ทุนเรือนหุ้น : (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
ทุพภิกขันดร, ทุพภิกขันดรกัป : [ทุบพิกขันดอน, ทุบพิกขันดะระกับ] น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ว่า เป็นตอนที่ขาดแคลนอาหาร, คู่กับ สัตถันดรกัป คือ ระยะเวลาที่ ฆ่าฟันกันไม่หยุดหย่อน. (ป.).
ทุเรศ : (ปาก) คําพูดแสดงความรู้สึกเมื่อประสบสิ่งที่ขัดหูขัดตาหรือ เป็นที่น่าสมเพชเป็นต้น.
ทุเรียน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinus L. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กําปั่น ทองย้อย หมอนทอง.
ทุลักทุเล : ว. อาการที่เป็นไปอย่างขลุกขลัก ยุ่งยาก วุ่นวาย ไม่เป็นระเบียบ.
ทู ๒ :
(๑) ชื่อปลาทะเลชนิด Rastrelliger brachysoma ในวงศ์ Scombridae ตัวยาวเรียว แบนข้างเป็นรูปกระสวย คอดหางแคบ ปากกว้างเอียงขึ้นเล็กน้อย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ อยู่ตรงข้าม กับครีบก้น โดยต่างก็มีครีบย่อย ๕ อัน เรียงต่ออยู่ข้างท้าย เกล็ดเล็ก บาง ข้างหลังสีนํ้าเงิน ชิดโคนครีบหลังตอนแรกมีจุดสีดํา ๓-๖ จุด เรียงอยู่ ๑ แถว ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้า. (๒) ดู ลัง๒.
ทูกัง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Arius leiotetocephalus ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบ เป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิด อื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรี ใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อย โดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก.
ทูต : น. ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือ เจริญสันถวไมตรีเป็นทางราชการ. (ป.).
ทูลกระหม่อม ๑ : น. คําสําหรับเรียกเจ้าฟ้าซึ่งมีพระราชชนนีเป็น อัครมเหสีหรือมีพระราชชนนีเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ รัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง.
ทูเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๙ สัญลักษณ์ Tm เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๕๔๕?ซ. (อ. thulium).
เทคนีเชียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๓ สัญลักษณ์ Tc เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นัก วิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. technetium).
เทครัว : ก. ยกครอบครัวไป, กวาดครอบครัวไป; โดยปริยายเรียก ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้องว่า พระยาเทครัว.
เทคอนกรีต : ก. เอาปูนซีเมนต์ ทราย และกรวดหรือหินผสมกับนํ้า แล้วเทให้เป็นพื้นแข็งหรือทําถนนเป็นต้น.
เท้ง ๓ : น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายเรือกําปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสําหรับ ชักใบ กลางลํามีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลม และมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ, ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุน เรือนแพ.
เทปูน : ก. เอาปูนซีเมนต์ ทราย และปูนขาวผสมกับนํ้าแล้วเทให้ เป็นพื้น เสา เป็นต้น.
เทพเจ้า : น. เทวดาผู้เป็นใหญ่.
เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
เทพพยากรณ์ : [เทบ-] น. คําทํานายเหตุการณ์ล่วงหน้าที่มนุษย์ ได้รับจากพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง มักมีนักบวชหรือ คนทรงเป็นสื่อกลาง.
เทพา : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius sanitwongsei ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย เว้นแต่มีครีบหลัง ครีบอก และ ครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น ทั้งยังมีจุดสีขาวเด่นอยู่เหนือครีบอกหลัง กระพุ้งแก้ม พบอาศัยอยู่ในเขตแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขง เมื่อ โตเต็มที่มีขนาดยาวกว่า ๓ เมตร.
เทพี ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Caesalpinia crista L. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นมีหนาม ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อสั้น ๆ.
เทลลูเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว คล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกํามะถัน หลอมละลายที่ ๔๔๙.๕?ซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็น โลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้วสี. (อ. tellurium).
เทว- ๒ : [ทะเว-] (แบบ) ว. สอง, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น. (ป. เทฺว). เทวภาวะ น. ความเป็น ๒, ความเป็นคู่; พยัญชนะที่ซ้อนกัน ๒ ตัว; ใช้ เทวภาพ ก็ได้.
เทวธรรม : น. ธรรมสําหรับเทวดา, ธรรมสําหรับทําบุคคลให้เป็น
เทวนิยม : น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความ เป็นไปในโลก. (อ. theism).