ธัญพืช : น. พืชข้าวกล้า; พืชล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก. (ป. ธญฺ?พีช; ส. ธานฺยวีช).
ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
ธาตุ ๒ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
ธาร ๑ : [ทาน] น. การทรงไว้, การรับไว้, การหนุน, มักใช้เป็นบทหลังสมาส เช่น จุฑาธาร. (ป., ส.).
ธารกำนัล, ธารคำนัล : [ทาระกํานัน, คํานัน] น. ที่ชุมนุมชน, คนจํานวนมาก, เช่น ต่อหน้าธารกํานัล, โบราณเขียนเป็น ทารกํานัน ก็มี.
ธีรราช : น. กษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์.
ธุมเกตุ : [ทุมะเกด] น. ไฟ, ดาวหาง, ดาวตก, สิ่งที่เป็นหมอกเป็นควันเกิดขึ้น ในอากาศผิดธรรมดา มีรูปคล้ายธงเป็นต้น. (ป., ส. ธูมเกตุ).
ธูปแพเทียนแพ : น. ธูปไม้ระกํากับเทียน ๔ คู่ วางเรียงกันเป็นแพ แล้วคาด ด้วยริบบิ้นสี ใช้เป็นเครื่องแสดงความเคารพอย่างสูง.
ธูปไม้ระกำ : น. ธูปที่ใช้ไม้ระกําเป็นแกน.
น ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน.
นก ๑ : น. ชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่น มี ๒ เท้า ๒ ปีก และมีขนปกคลุม ร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว.
นกกระจอก ๒ : น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Parexocoetus และ Cypselurus วงศ์ Exocoetidae ลําตัวยาวเพรียว แต่เป็นเหลี่ยมเกือบกลม ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว แต่เชิดขึ้นเล็กน้อย ตาโต ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหางซึ่ง เป็นแฉกลึกโดยแฉกล่างยาวกว่าแฉกบน ที่สําคัญคือ ครีบอกซึ่งขยาย ใหญ่มากคล้ายปีกนกใช้ช่วยในการร่อนถลาไปเหนือผิวนํ้า ครีบบนของ ลําตัวสีเขียว หรือนํ้าเงินหม่น ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยอยู่บริเวณผิวนํ้า ห่างฝั่ง ขนาดยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร, ปลาบิน ก็เรียก.
นกสองหัว : (สํา) น. คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน.
นครรัฐ : [นะคอนรัด] น. เมืองที่ปกครองตนเองเป็นอิสระ. (อ. city state).
นนทรี ๑ : [นนซี] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Peltophorum pterocarpum Backer ex Heyne ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ฝักแบน สีนํ้าตาลแกมแดง.
นปุงสกลิงค์, นปุงสกลึงค์ : [นะปุงสะกะ] (ไว) น. เพศของคําที่ไม่เป็นเพศชายและเพศหญิง เช่น ภูเขา บ้าน โต๊ะ เก้าอี้ ดิน นํ้า. (ป., ส. นปุ?สก = กะเทย + ลิงฺค = เพศ).
นพเก้า : [นบพะ] น. ชื่อแหวนฝังพลอย ๙ อย่าง ทําเป็นยอดก็มี ฝัง รอบวงแหวนก็มี สําหรับสวมในการมงคล; ชื่อแกงชนิดหนึ่งมี ลักษณะคล้ายแกงส้ม ปรุงด้วยผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักบุ้ง ประสมปลาร้า, แกงซั้ว ก็เรียก.
นพคุณ : [นบพะ] น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกําหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.
นพศูล, นภศูล : [นบพะสูน] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูป หอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกาลําภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก.
นภศูล, นพศูล : [[นบพะสูน] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูป หอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกา ลําภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก.
นม ๑ : น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อม สำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาด เล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้า เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลาย เต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว; แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม; น้ำนม เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม; ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทอง หลาง นมจะเข้; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉด ว่า นมผักกระเฉด,เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อ พังพวยว่า นมพังพวย.
นมนาง ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Trochus niloticus ในวงศ์ Trochidae ขนาดใหญ่กว่าหอยนมสาว เปลือกเป็นรูปกรวยแหลม พื้นผิวขรุขระ และเวียนเป็นวงขึ้นไปยังปลายยอด อาศัยอยู่ตามโขดหินและแนว ปะการัง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ.
นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
นมผง : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นผง ได้จากการนํานํ้านมวัวไปผ่านกรรมวิธี ซึ่งทําให้ส่วนที่เป็นนํ้าระเหยออกไปหมด อาจเติมสารเคมีที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายลงไปด้วยก็ได้.
นมไม้ : น. ไม้ทําเป็นรูปนม ๒ เต้า สําหรับหนุนหลังแก้เมื่อยเป็นต้น.
นมสวรรค์ : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Clerodendrum paniculatum L. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ที่โคนใบมีต่อมนูนหลายต่อม ดอกสีแดง อมส้ม ออกเป็นช่อตามยอด ผลเล็กมี ๔ พู ใช้ทํายาได้, พนมสวรรค์ ก็เรียก.
นมสาว ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งถั่วหรือแป้งเท้ายายม่อม กวนจนใส ไส้ทําด้วยถั่วเขียวกวนปั้นเป็นก้อนกลม ห่อด้วยใบตองสด รูปอย่างขนมเทียน เรียกว่า ขนมเทียนนมสาว.
นมสาว ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Trochus maculatus ในวงศ์ Trochidae เปลือกม้วนเป็นวง ฐานเปลือกใหญ่ ปลายแหลม ขนาดเล็กกว่าหอย นมนาง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทําเป็นเครื่องประดับ.
นมหนู : น. ส่วนของปืนที่สวมแก๊ปเพื่อให้ประกายเข้าไปเผาดินปืน ข้างใน; ส่วนของเครื่องใช้เป็นปุ่มมีรูเพื่อให้ฉีดนํ้ามันออกมา เช่น นมหนูตะเกียง นมหนูเครื่องยนต์.
นโยบาย : น. หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดําเนินการ. (ป. นย + อุปาย).
นร : [นอระ] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคําหน้า สมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).
นว ๑ : [นะวะ] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป., ส.).
นว ๒ : [นะวะ] ว. เก้า, จํานวน ๙, (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป.; ส. นวนฺ).
นวกภูมิ : [นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึง ภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิมีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).
นวลจันทร์ทะเล : น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด Chanos chanos ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียว ตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาด ยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน หรือทูน้ำจืด ก็เรียก.
นวลน้อย : น. ชื่อหญ้าชนิด Zoysia matrella (L.) Merr. ในวงศ์ Gramineae ใช้เป็น หญ้าสนาม.
นวลละออง : ว. ผุดผ่องเป็นยองใย.
นวโลหะ : น. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคํา ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคําตัดมาจาก ''เจ้านํ้าเงินว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และ บริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตําราสร้าง พระพุทธรูป).
นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ : [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
นวัตกรรม : น. สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ เป็นต้น. (ป. นวต + ส. กรฺม; อ. innovation).
นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
น้อง ๆ : ว. จวนจะเป็น, ใกล้จะเป็น, เกือบจะเป็น, เช่น น้อง ๆ อธิบดีเข้าไปแล้ว.
นองเลือด : ว. อย่างดุเดือดและต้องเสียเลือดเนื้อหรือล้มตายกันเป็น จํานวนมาก เช่น รบกันนองเลือด.
นอต ๒ : น. เครื่องตรึงหรือขันสิ่งอื่นให้แน่น ประกอบด้วยแท่งและแป้นโลหะ, ตัวที่เป็นแท่งมีปลายข้างหนึ่งเป็นปุ่ม อีกข้างหนึ่งมีเกลียวด้านนอก เรียกว่า นอตตัวผู้ และตัวที่เป็นแป้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมมีรูตรงกลาง และมีเกลียวด้านใน เรียกว่า นอตตัวเมีย. (อ. nut).
นอนกิน : ก. ไม่ต้องทํางานก็มีกิน โดยมีผลประโยชน์เป็นรายได้ เช่น นอนกินดอกเบี้ย.
นอนกินบ้านกินเมือง : (สำ) ก. นอนตื่นสายด้วยความเกียจคร้าน (ใช้เป็น คำประชด).
นอนตาไม่หลับ : ก. นอนหวาดต่อภัยหรือเป็นทุกข์หรือห่วงใย.
น้อม : ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็น การแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ.
น้อย ๑ : ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก, เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย; โดยปริยายหมาย ถึงลักษณะที่ไม่สําคัญ เช่น ครูน้อยผู้น้อย เณรน้อย, เกี่ยวกับความรู้สึก เป็นไปในทางน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย.