นิกาย : น. หมู่, พวก, หมวด, ใช้เกี่ยวกับศาสนา ในกรณีเช่นคณะนักบวช ในศาสนาเดียวกันที่แยกออกไปเป็นพวก ๆ เช่น มหานิกาย ธรรมยุติกนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายโปรเตสแตนต์; เรียก คัมภีร์พระสุตตันตปิฎกที่แยกออกเป็น ๕ หมวดใหญ่ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย '';สังยุตนิกาย อังคุตรนิกาย ขุทกนิกาย. (ป., ส.).
นิคม ๑ : น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพ เป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. (ป.; อ. settlement).
นิคมที่ดิน : น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่น ฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผน เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
นิคมสร้างตนเอง : (กฎ) น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้ราษฎรได้มีที่ตั้งเคหสถานและ ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น.
นิคาหก, นิคาหก : [หก, หะกะ] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อ นิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
นิโคติน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C10H14N2 ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีขีดเดือด ๒๔๗?ซ. เป็นพิษอย่างแรง มีปรากฏอยู่ในใบยาสูบ. (อ. nicotine).
นิโครม : [โคฺรม] น. โลหะเจือชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยโครเมียมและนิกเกิล ใช้ประโยชน์นําไปทําเป็นเส้นลวดในอุปกรณ์ไฟฟ้าเพราะมีความ ต้านทานสูง และทนทานต่อความร้อนได้ดีมาก. (อ. nichrome).
นิ่งแน่ : ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, แน่นิ่ง ก็ว่า.
นิจ ๑, นิจ : [นิด, นิดจะ] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิจ. (ป. นิจฺจ; ส. นิตฺย).
นิจศีล : [นิดจะสีน] น. ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ได้แก่ ศีล ๕. ว. เป็นปรกติ เสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. (ป. นิจฺจสีล).
นิตย ๑, นิตย์ : [นิดตะยะ, นิด] ว. เสมอไป, สมํ่าเสมอ, มักใช้ว่า เป็นนิตย์. (ส.; ป. นิจฺจ).
นิตยภัต : น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์. (ส. นิตฺย + ป. ภตฺต).
นิตยสาร : น. หนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ เช่น นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายเดือน. (ส.).
นิติกรณ์ : (กฎ) น. การรับรองของเจ้าพนักงานว่าเป็นตราสารที่ถูกต้อง ตามกฎหมาย. (อ. legalization).
นิติการณ์ : (กฎ; โบ) น. เหตุการณ์หรือการเป็นไป ซึ่งมีผลตามกฎหมาย, ปัจจุบันใช้ว่า นิติเหตุ.
นิติบุคคล : (กฎ) น. กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็น กองทุนเพื่อดําเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็น บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่มิใช่บุคคลธรรมดา นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือ วัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือ ตราสารจัดตั้ง นอกจากนั้น นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียว กับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็น ได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพ มหานคร เมืองพัทยา บริษัทจํากัด สมาคม มูลนิธิ.
นิติภาวะ : (กฎ) น. ความเป็นผู้มีความสามารถที่จะใช้สิทธิตามกฎหมาย ได้ด้วยตนเอง.
นิติเหตุ : (กฎ) น. เหตุการณ์หรือการเป็นไป ซึ่งมีผลตามกฎหมาย เช่น การละเมิด, โบราณใช้ว่า นิติการณ์.
นิทรา : [นิดทฺรา] น. การหลับ, การนอนหลับ. ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาว นิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).
นิบาต : [บาด] น. เรียกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่รวบรวม พระสูตรเบ็ดเตล็ดหรือชาดกต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สุตตนิบาต = คัมภีร์ ที่รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน นิบาตชาดก = คัมภีร์ที่ รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็น หมวดต่าง ๆ; หมวดธรรม, ชุมนุมหลักธรรม, เช่น เอกนิบาต = หมวด หรือชุมนุมหลักธรรมที่มี ๑ ข้อ ทุกนิบาต = หมวดหรือชุมนุมหลักธรรม ที่มี ๒ ข้อ; (ไว)ศัพท์ประเภทหนึ่ง สำหรับใช้เติมลงข้างหน้าหรือ ข้างหลังคำหรือข้อความเพื่อเน้นความไขความ ยอมความอย่างไม่เต็มใจ เป็นต้น เช่น ก็ดี ก็ตาม หรือใช้เป็นคำขึ้นต้นข้อความใหม่ต่อจาก ข้อความเดิม เช่น ก็แหละ. (ป., ส. นิปาต).
นิบาตชาดก : น. คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น เอกกนิบาตชาดก ทุกนิบาตชาดก.
นิพัทธกุศล : [นิพัดทะ] น. กุศลที่ทําเป็นนิจ.
นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
นิยต, นิยต : [ยด, ยะตะ] (แบบ) ก. กําหนด เช่น พระพเนจรจรหลํ่า ได้หลายคํ่า หลายวัน ถึงแดนอันจะนิยต. (ลอ). (แบบ) ว. เที่ยง, แท้, แน่. (ป., ส.); (การศึกษา) ตระหนักแน่, เป็นที่ยอมรับ, เชิงสร้างสรรค์, ทางบวก. (อ. positive).
นิรโทษกรรม : [นิระโทดสะกํา] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบ ด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมาย อาญา หมายถึง การลบล้างการกระทําความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทํา มาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การ กระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทําการนั้นพ้นจากการ เป็นผู้กระทำความผิด.
นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
นิรมิต : [ระมิด] ก. นิมิต, เนรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา, บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
นิราศรัย : [ไส] (แบบ) ว. ไม่อยู่เป็นที่, ไม่ติดอยู่กับที่. (ส.).
นิโรธสมาบัติ : [นิโรดทะสะมาบัด, นิโรดสะมาบัด] (แบบ) น. การเข้าสู่ นิโรธ เป็นวิธีพักผ่อนของพระอรหันต์. (ป. นิโรธสมาปตฺติ).
นิล ๒ : [นิน] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tilapia nilotica ในวงศ์ Cichlidae ลําตัวสี เขียวอมนํ้าตาลหรือเหลือง มีจุดดําด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมีลายเข้ม พาด ขวางลําตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือแนวจุดสีคลํ้า หรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทํารังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ในโพรงปาก นํามาจาก ต่างประเทศเพื่อเลี้ยงเป็นอาหาร.
นิลบัตร : [นินละ] น. พิษซางอย่างหนึ่งมีสีดําที่โคนแขนเป็นแผ่นเดียว.
นิ่ว ๑ : น. เกลือเคมีหรือสารเคมีอื่น เช่นคอเลสเทอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งในไต กระเพาะปัสสาวะ ถุงนํ้าดี หรือท่อของต่อมบางชนิดในร่างกาย เช่นต่อม นํ้าลาย ตับอ่อน.
นิวเคลียส : น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วน ย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่น ไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
นิวตรอน : น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของ อะตอมของธาตุทุกชนิดยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มี ประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐ x ๒๗ กิโลกรัม. (อ. neutron).
นิสัย : น. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทําจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).
นีออน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐ สัญลักษณ์ Ne เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๕๕,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. (อ. neon); (ปาก) เรียกหลอดไฟเรืองแสง ที่ให้ความสว่างหรือโฆษณาว่า หลอดนีออน.
นีโอดิเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๐ สัญลักษณ์ Nd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๑๐๒๔?ซ. (อ. neodymium).
นึกไม่ถึง : ก. คาดไม่ถึง, ไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เช่นนั้น, เช่น รู้ว่าเขาจะเข้า มาทำงานด้วย แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมาเป็นสายให้โจร.
เนบิวลา : น. บริเวณที่มีลักษณะเป็นฝ้าเรืองแสง ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส กลุ่มดาวฤกษ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. (อ. nebula).
เนปทูเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน. (อ. neptunium).
เนมินธร :
[มินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๕ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลม รอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส.). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
เนยเทียม : น. สิ่งที่ทําจากไขมันหรือนํ้ามันที่ได้จากพืชและสัตว์ นํามาทํา ให้บริสุทธิ์ ผสมวิตามินเอ วิตามินดี เติมนมและสีที่เหมาะสม แบคทีเรีย ในนมจะทําให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนย ใช้เป็นอาหารได้.
เนรมิต : [ระมิด] ก. นิรมิต, สร้างหรือบันดาลด้วยอํานาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหาร ให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
เนระพูสี : น. ชื่อเฟินชนิด Microlepia speluncae (L.) Moore ในวงศ์ Dennstaedtiaceae ต้นเป็นกอใช้ทํายาได้.
เนา ๑ : ก. เย็บห่าง ๆ พอให้อยู่เป็นแนวเพื่อเย็บให้เรียบร้อยต่อไป.
เนียง ๒ : (ถิ่นปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Archidendron jiringa Nielsen ในวงศ์ Leguminosae ฝักบิดเป็นวง เมล็ดค่อนข้างแบน กินได้, พะเนียง ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ชะเนียง.
เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
เนื้อคู่ : น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน, ชายหญิงที่สม เป็นคู่ครองกัน, คู่สร้าง หรือ คู่สร้างคู่สม ก็ว่า.
เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.