เนื้องอก : น. เนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปรกติ อาจเป็นเนื้อร้าย หรือมะเร็ง หรือเป็นผลมาจากสาเหตุอื่นเช่นเชื้อโรค ก็ได้.
เนื้อนาบุญ : น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ.
เนื้อเพลง : น. ส่วนสําคัญของทํานองเพลงที่บอกให้รู้ว่าเป็นเพลงอะไร; ทํานองเพลง.
เนื้อร้าย ๒ : น. เนื้อเป็นโรค เกิดแก่ คน สัตว์ และต้นไม้ หรือแผลที่เป็น มะเร็ง มีอาการต่าง ๆ.
เนื้ออ่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่ แหลมคม ลําตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็น สีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบ หลังก็ได้บางชนิดลําตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่ เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.
แน่ ๒, แน่นิ่ง : ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, นิ่งแน่ ก็ว่า.
แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
แนว : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแถว เช่น แนวสน แนวรั้ว หรือเป็นเส้นเป็นทาง ยาวไป เช่น ถูกเฆี่ยนเป็นแนว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะเช่นนั้น เช่น แนวความคิด แนวนโยบาย.
แนวทาง : น. ทางปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนว.
แนวโน้ม : น. แนวทางที่น่าจะเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง.
แนวป่า : น. ชายป่าที่เห็นเป็นทิวยาวไป.
แนวเรือ : น. รอยต่อของกระดานเรือที่เห็นเป็นทางยาวไป.
แนะ : ก. ชี้แนวทางหรือวิธีการให้รู้โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น แนะให้ไปหา หมอ แนะให้รู้เป็นนัย ๆ.
โนเบเลียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๒ สัญลักษณ์ No เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. nobelium).
โนรี ๓ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Heniochus วงศ์ Chaetodontidae ลําตัว สั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุด ก้านครีบหลังตอนแรก ยื่นยาวเป็นเส้น ตัวมีสีสันสดสวยหัวและลําตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดํา เข้มพาดขวางรวม ๓ แถบ ที่พบเสมอได้แก่ชนิด H. acuminatus ขนาด ยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อาศัยตามแนวหิน ปะการัง.
ในที : (ว. มีท่าทีจะเป็นเช่นนั้นแต่ไม่แสดงให้ปรากฏ เช่น ยิ้มในที รู้ในที, อยู่ในที ก็ว่า.
ไน ๑ : น. เครื่องปั่นด้ายด้วยมือ และใช้ถ่ายด้ายที่ทําเป็นไจหรือเข็ดแล้วเข้าหลอด.
ไน ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Cyprinus carpio ในวงศ์ Cyprinidae ตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ ขอบเรียบ ในบางประเภทของปลา อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดําคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก.
ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
ไนลอน : น. สารประกอบอินทรีย์ซึ่งสังเคราะห์ขึ้น มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักผลิต ให้เป็นเส้นใยเล็ก ๆ ซึ่งนําไปฟั่นเป็นเส้นด้ายหรือเส้นเชือกที่มีความ เหนียวมาก หรือนําไปทอเป็นผ้าได้, เรียกสิ่งที่ทําจากเส้นใยนั้น เช่น ผ้าไนลอน เชือกไนลอน. (อ. nylon).
ไนโอเบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปเจือเหล็กกล้าไม่เป็น สนิม เพื่อทําให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี. (อ. niobium).
บ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๖ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบ.
บกพร่อง : ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความ บกพร่อง, หย่อนความสามารถ เช่น ทํางานบกพร่อง.
บ่ง : ก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทําของเขา บ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทําผิด; ใช้ของแหลม ๆ แทงที่เนื้อเพื่อ เอาหนามเป็นต้นที่ฝังอยู่ในเนื้อหรือหนองออก เช่น บ่งหนาม บ่งหนอง.
บงสุกูลิก : น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของ ภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทําเป็นเครื่อง นุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).
บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
บดี : [บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความ ว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคําท้ายด้วยหมายความ แต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
บดีพรต, บดีวรดา : น. การประพฤติซื่อสัตย์ต่อผัว คือ หญิงมอบตัว แก่ผัวเท่านั้น, ถ้าเป็นชายก็ว่า สทารสันโดษ คือ ยินดีแต่เมียตนเท่า นั้น (ส. ปติวฺรต, ปติวฺรตา).
บดีศร : [บอดีสอน] (กลอน) น. นายผู้เป็นใหญ่.
บทกลอน : น. คําประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง.
บทความ : น. ข้อเขียนซึ่งอาจจะเป็นรายงานหรือการแสดงความ คิดเห็น มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นต้น.
บทเจรจา : น. คําที่ตัวละครพูดเป็นร้อยกรองหรือถ้อยคําธรรมดา.
บทดอกสร้อย : น. ชื่อคําร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คํา มี เอ๋ย เป็นคําที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คํากลอน และคําลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.
บทบรรณาธิการ : น. ข้อเขียนที่บรรณาธิการหรือนักเขียนชั้นนํา เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นแนวของหนังสือนั้น ๆ, บทนํา ก็ว่า.
บทบัญญัติ : (กฎ) น. ข้อความที่กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรใน กฎหมาย.
บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
บทประพันธ์ : น. เรื่องที่แต่งขึ้นเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง.
บทพากย์ : น. คํากล่าวเรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือ หนังใหญ่เป็นต้น.
บทเรียน : น. คําสอนที่กําหนดให้เรียน, ข้อที่เป็นคติเตือนใจ เช่น บทเรียนในชีวิต.
บทอัศจรรย์ : น. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดย ใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.
บน ๑ : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของตอบ แทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บนบาน ก็ว่า. ว. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง, เช่น ข้างบน ชั้นบน เบื้องบน. บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ.
บน ๒ : น. คํา เช่น ให้บนถ้อยคํา. (จินดามณี); คําที่จดไว้เป็นหลักฐาน, คําให้ การที่จดไว้เป็นหลักฐาน, เช่น เอาบนเขาไว้, ให้คาดบนไว้. (สามดวง).
บนบาน : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของ ตอบแทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บน ก็ว่า.
บพิตร : [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้ อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
บพิตรพระราชสมภาร : ส. คําที่พระสงฆ์เรียกพระมหากษัตริย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
บ่มนิสัย : ก. อบรมให้มีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีจนเป็นนิสัย.
บรรจุ : [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะ หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่, ให้เข้าประจําตําแหน่ง ครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุ เข้าไว้ในรายการ.
บรรดาศักดิ์ : [บันดา-] น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคล ทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ.
บรรทัด : [บัน-] น. ข้อความที่เขียนหรือพิมพ์เป็นต้นต่อเนื่องกันเป็นแถวเป็น แนวแต่ละแนว เช่น ตัดบรรทัดที่ ๒๐ ออก, ลักษณนามว่า บรรทัด เช่น ให้เขียนเรียงความอย่างน้อย ๕๐ บรรทัด, เรียกตัวหนังสือที่ เขียนเต็มช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้นว่า ตัวเต็มบรรทัด, เรียก ตัวหนังสือที่เขียนเพียงครึ่งหนึ่งของช่วงระหว่างเส้นบรรทัด ๒ เส้น ว่า ตัวครึ่งบรรทัด, เรียกอุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนวเพื่อขีดเส้นให้ตรง ว่า ไม้บรรทัด, เรียกเส้นที่ตี หรือพิมพ์ไว้บนกระดาษเป็นต้นเพื่อเขียนหรือพิมพ์ตัวอักษรบนเส้น ใต้เส้นหรือระหว่างเส้น ว่า เส้นบรรทัด.
บรรทัดฐาน : น. แบบแผนสําหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.