ปัก : ก. ตั้งฝังลง เช่น ปักเสา, เอาหัวดิ่งลง เช่น นกปักหัวลง เครื่องบิน ปักหัวลง; เสียบ เช่น ปักปิ่น ปักดอกไม้, ใช้เข็มร้อยด้าย ไหม หรือ ดิ้นเป็นต้นแล้วแทงแล้วแทงลงไปบนผืนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ปักลวดลาย ปักด้าย ปักไหม.
ปักจักร : ก. เย็บให้เป็นลวดลายด้วยจักรเย็บผ้า.
ปักเป้า ๑ : [ปักกะ-] น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetrodontidae และ Diodontidae ลําตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาว ตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinus และ Tetrodon ในวงศ์ Tetrodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็น กระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinus modestus ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนํามารับประทาน.
ปักษาสวรรค์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าชนิด Strelitzia reginae Banks ex Dryand. ในวงศ์ Musaceae ใบเรียงสลับซ้อนกันเป็นแผง ดอกสีนํ้าเงิน มีกาบสีส้ม รูปคล้ายปีกนกหุ้มอยู่.
ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
ปัจจุทธรณ์ : [ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบง ครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).
ปัจฉิมยาม : [ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืน ออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
ปัจยาการ : [ปัดจะยา-] (แบบ) น. อาการที่เป็นเหตุต่อเนื่องกัน คือ ปฏิจจสมุปบาท. (ป. ปจฺจยาการ).
ปัญจวัคคีย์ : น. พวก ๕ คน เป็นคําเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระ อัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และ ได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. (ป.).
ปัญญาอ่อน : น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทําให้เด็กมีความสามารถ จํากัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ ควรเป็น. ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.
ปัด ๒ : น. เม็ดแก้วเป็นต้นมีรูตรงกลางสําหรับร้อยเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ เรียกว่า ลูกปัด.
ปัดตลอด : ว. มีขนขาวหรือดําเป็นแนวยาวไปตามสันหลังตั้งแต่หัว ตลอดหาง เช่น แมวปัดตลอด; เรียก ''นะ'' ที่เขียนเป็นอักษรขอม สําหรับลงและปลุกเสกให้แคล้วคลาดตลอดปลอดภัยว่า ''นะปัดตลอด''.
ปัดไถม : [-ถะไหฺม] (โบ) น. ฝ้าบาง ๆ ที่เกิดขึ้นทําให้เป็นมลทินหรือคลํ้ามัว.
ปัตตานีกะ, ปัตตานึก : น. กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า, เป็นส่วนหนึ่งแห่ง กระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก หรือ ปัตตานีกะ (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป.).
ปัตตาเวีย ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Jatropha integerrima Jacq. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นสูงเป็นพุ่มโปร่ง ๆ ดอกสีแดงและชมพู.
ปัตหล่า : [ปัดตะหฺล่า] น. ผ้าริ้วทอด้วยไหมกับทองแล่งมีเนื้อบาง โดยมาก ทําเป็นเสื้อครุย.
ปัน : ก. แบ่ง เช่น ปันเป็นส่วน ๆ, แบ่งซื้อ ในคำว่า ขอปัน, แบ่งขาย ในคำว่า ปันให้.
ปั้น ๑ : ก. เอาสิ่งอ่อน ๆ เช่นขี้ผึ้งดินเหนียวเป็นต้นมาทําให้เป็นรูปตาม ที่ต้องการ เช่น ปั้นข้าวเหนียว ปั้นตุ๊กตา; สร้างขึ้น, เสกสรรขึ้น, เช่น ปั้นพยาน ปั้นเรื่อง; ชุบเลี้ยงและอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ฉันปั้นเขามาจนได้ดี. น. ลักษณนามเรียกสิ่งที่ปั้นเป็นก้อน ๆ เช่น ข้าวเหนียว ๓ ปั้น.
ปั่นด้าย : ก. เอาเส้นใยที่ทำให้ฟูตัวแล้วมาดึงให้ยืดเป็นเส้นพร้อมกับ บิดเกลียวเพื่อให้เส้นใยเกาะตัวเป็นเส้นยาวติดต่อกัน.
ปั่นฝ้าย : ก. เอาฝ้ายเข้าเครื่องหมุน (ไน) เพื่อทําเป็นเส้นด้าย, ถ้าเป็น วัตถุอย่างอื่นเช่นไหมและปอ เรียกตามวัตถุนั้น ๆ ว่า ปั่นไหม ปั่นปอ.
ปั้นสิบ : น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ใช้แป้งห่อไส้ แล้วม้วนบิดริมแป้งตรงที่ประกบกันให้เป็นลายเกลียว นึ่งหรือ ทอด, แป้งสิบ ก็เรียก.
ปั้นหยา : [-หฺยา] น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง ๔ ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา. (เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะ หลังคาเช่นนั้น).
ปั๊ม : ก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะ เป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่อง ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียก เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับ สูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้ หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการ น้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.
ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
ปากกบ : น. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่ง มุมฉากออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง.
ปากกระจับ : น. ชื่อพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรีทำเป็นรูปกลีบบัวคลี่ ออกคล้ายฝักกระจับ.
ปากกว้าง : น. ชื่องูนํ้าชนิด Homalopsis buccata ในวงศ์ Colubridae กินปลาเป็นอาหาร มีพิษอ่อนมาก.
ปากขม : ว. อาการที่รู้สึกขมในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
ปากขอ : น. ชื่อพยาธิตัวกลมขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Ancylostomatidae มีส่วนหัวโค้งงอคล้ายตาขอ ในช่องปากมีฟันแหลมหรือเป็นแผ่น ใช้เกาะเกี่ยวผนังลำไส้ อาศัยดูดกินเลือดมนุษย์และสัตว์ ขนาดเล็ก ที่สุดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร เช่น ชนิด Necator americanus, Ancylostoma duodenale อยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ ชนิด A. braziliense, A. ceylanicum อยู่ในลำไส้เล็กของสุนัขและแมว.
ปากคีบ : น. เครื่องคีบเป็นเหล็ก ๒ ขา ส่วนมากมีปลายแหลม สำหรับคีบสิ่งของ.
ปากฉลาม, ปากช้าง : น. รูปบาดแผลหรือรอยผ้าขาดเป็นรูป สามเหลี่ยมแบะออกอย่างปากปลาฉลามหรือปากช้าง.
ปากตะขาบ : น. รูปเป็นง่ามอย่างเขี้ยวตะขาบ; ชื่อกบไสไม้มีคมเป็น ง่ามสําหรับไสไม้ให้เป็นลวดลาย, ปากจะขาบ ก็เรียก.
ปากแตร ๒ : น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Fistularia วงศ์ Fistulariidae หัวและ ลําตัวแบนลงแต่แคบและยาวมาก ตาโต ปากเป็นท่อยาว มีช่อง ปากขนาดเล็กอยู่ปลายสุดเชิดขึ้นดูคล้ายแตร ลําตัวไม่มีเกล็ด ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหางเป็นแฉกมี เส้นยาวคล้ายแส้ยื่นออกจากกึ่งกลางครีบ ลําตัวทั่วไปรวมทั้งหัว และครีบสีนํ้าตาลแดง ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, สามรส ก็เรียก.
ปากนก : น. ชื่อดาวฤกษ์บูรพาษาฒ; ชื่อหินสําหรับใช้นกสับให้เป็น ประกาย.
ปากนกกระจอก : น. เรียกปากที่เป็นแผลเปื่อยขาว ๆ เหลือง ๆ ที่ มุมปากว่า ปากนกกระจอก.
ปากปลิง : น. ขั้วผลไม้ติดต่อกับก้าน โดยมากเป็นขั้วทุเรียนที่หลุด จากกันได้, ปลิง ก็เรียก.
ปากพล่อย : ก. พูดโดยไม่คำนึงว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง.
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม : (สํา) ว. ยังเป็นเด็ก.
ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
ปากหวาน : ว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
ปากห่าง : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans ในวงศ์ Ciconiidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกาบบัวแต่ตัวเล็กกว่า ลําตัวสีเทาอมขาว แต่ จะเป็นสีเทาเข้มในฤดูผสมพันธุ์ ปากหนาแหลมตรง เมื่อจะงอยปาก สบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน ทั้งนี้เพื่อ สะดวกในการคาบเหยื่อ กินหอยเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะหอยโข่ง มีที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เป็นจํานวนมาก.
ป่าแคระ : น. ป่าที่มีต้นไม้เตี้ย ๆ เป็นส่วนใหญ่ มักมีในบริเวณที่มี อากาศแห้งแล้ง.
ป่าชัฏ : น. ป่าที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น โดยมากเป็นไม้เลื้อยและ ไม้หนาม.
ป่าช้า : น. ป่าหรือที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ฝังหรือเผาศพ.
ป่าชายเลน, ป่าเลน : น. ป่าที่อยู่ตามชายทะเลที่มีเลนและนํ้าทะเล ขึ้นถึง ต้นไม้ในป่าประเภทนี้มักมีรากงอกอยู่เหนือพื้นดินเพื่อคํ้า ยันลําต้น โดยมากเป็นไม้โกงกาง แสม และลําพู.
ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
ปาณภูต : น. สัตว์เป็น. ว. มีลมหายใจ. (ป.; ส. ปฺราณภูต).
ปาณี ๒ : น. สัตว์, คน. ว. มีลมหายใจอยู่, ยังเป็นอยู่. (ป.; ส. ปฺราณินฺ).
ป่าดงดิบ, ป่าดิบ : น. ป่าไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ฝนชุก เป็นป่าไม้ สีเขียวไม่ผลัดใบ.