เปก ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับ เลข ๕, เขียนเป็น เบิก ก็มี.
-เปกข์ : น. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. (ป.).
เป็ด ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Alternanthera วงศ์ Amaranthaceae เรียกว่า ผักเป็ด คือ ผักเป็ดขาว [A. sessilis (L.) DC.] ใบสีเขียว กินได้และใช้ทํายาได้, ผักเป็ดแดง [A. ficoidea (L.) Pal.] ใบสีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ.
เป็ดก่า : (ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อนกเป็ดนํ้าชนิด Cairina scutulata ในวงศ์ Anatidae หัวและคอสีขาวประดํา อกสีเขียวเกือบดํา ทํารังในโพรง ไม้ริมลําธาร มักเกาะนอนบนต้นไม้สูง ๆ เวลาบินจะเห็นแถบสีขาว ที่ปีกได้ชัดเจน เป็นนกเป็ดนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย.
เป็ดน้ำ : น. ชื่อนกในวงศ์ Anatidae ซึ่งมีปากแบน ปลายมน ตีนเป็นพังผืดว่ายนํ้าเก่ง กินพืชและสัตว์นํ้า บินได้เร็วมาก ตัวผู้ มักจะมีขนสีสวยกว่าตัวเมีย มักอยู่เป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เป็ดหอม หรือ เป็ดหางแหลม (Anas acuta) เป็ดลาย (A. querquedula) เป็ดแดง (Dendrocygna javanica).
เป็ดผี ๒ : น. ชื่อนกชนิด Tachybaptus ruficollis ในวงศ์ Podicipedidae ปากแหลม นิ้วตีนแผ่ออกเป็นแผ่นแบนเป็นช่วง ๆ จากโคนถึง ปลายนิ้ว แต่ละนิ้วแยกกัน ไม่ติดเหมือนตีนเป็ด บินได้ในระยะ ทางสั้น ๆ มักลอยอยู่ในนํ้า หากินตามบึงหรือบริเวณที่มีพืชนํ้า จํานวนมาก ดํานํ้าได้เหมือนเป็ด เป็นนกซึ่งคล้ายเป็ด.
เป็ดหงส์ : น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Sarkidiornis melanotos ในวงศ์ Anatidae หัว คอ หน้าอก และท้องสีขาวประดํา ปีกสีเขียว เป็นมัน ตัวผู้มีตุ่มคล้ายหงอนอยู่เหนือโคนปากบนและจะโตขึ้น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัย อยู่ในป่าทึบ โดยทำรังในโพรงไม้ มักเกาะตามต้นไม้สูง ๆ.
เปตอง : น. ชื่อกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง มักเล่นในสนามที่เป็นดินแข็ง มี ผู้เล่นฝ่ายละไม่เกิน ๓ คน โยนลูกโลหะกลมซึ่งข้างในกลวง จํานวน ๑๒ ลูก ให้เข้าใกล้ลูกเป้าซึ่งเป็นลูกทรงกลมทําด้วย ไม้เนื้อแข็งให้มากที่สุด ฝ่ายที่ทําคะแนนถึงเกม คือ ๑๓ คะแนนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ. (ฝ. p?tanque).
เป็นการ : ก. ได้ผล, สําเร็จ, เช่น เป็นการหรือไม่เป็นการ, มักใช้ใน ความปฏิเสธ เช่น เห็นจะไม่เป็นการ. เป็นการเป็นงาน, เป็นงานเป็นการ
เป็นการใหญ่ : ว. เป็นการเอิกเกริก, เป็นงานใหญ่, เช่น จัดงาน สมโภชเป็นการใหญ่, เกินปรกติ เช่น เลี้ยงดูเป็นการใหญ่ จัดบ้าน เป็นการใหญ่.
เป็นใด : (กลอน) ว. เป็นอะไร, อะไร.
เป็นต้น ๑ : ว. เริ่มแรก, เป็นอันดับแรก, เป็นส่วนเบื้องต้น, เช่น อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น.
เป็นต้น ๒ : (ไว) คําที่ใช้แทนเครื่องหมาย ฯลฯ เพื่อละคําหรือข้อความ ตอนปลายซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับคําหรือข้อความที่ยกขึ้น กล่าวเป็นตัวอย่างตอนต้น เช่น อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น.
เป็นไร : ว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคําถาม หมายความว่า เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ.
เปร็ง : [เปฺร็ง] น. ชื่อไผ่ชนิดหนึ่ง ต้นเล็ก ชาวบ้านใช้ปล้องทําเป็น กล้องยาสูบ.
เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
เปราะ ๑ : [เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและ ทํายาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.
เปรียง ๑ : [เปฺรียง] น. นมส้มผสมนํ้าแล้วเจียวให้แตกมัน จัดเป็นโครส อย่างหนึ่งในจํานวน ๕ อย่าง.
เปรียบ : [เปฺรียบ] ก. เอาสิ่งหนึ่งเข้ามาเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นว่าใกล้กัน เสมอกัน หรือผิดกัน, ถ้าเอามาเทียบกันดูแล้ว ฝ่ายที่มีภาษีกว่า เรียกว่า ได้เปรียบฝ่ายที่เป็นรอง เรียกว่า เสียเปรียบ, ถ้าจะเอาฝ่ายตนให้มีภาษี ข้างเดียว เรียกว่า เอาเปรียบ.
เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
เปลญวน : น. เปลที่ถักด้วยป่านเป็นตาโปร่ง.
เปลว : [เปฺลว] น. เรียกไฟที่ลุกแลบออกมาหรือพวยพุ่งขึ้นว่า เปลวไฟ, เรียกควันที่พลุ่ง ๆ ขึ้นไปว่า เปลวควัน, เรียกช่องอยู่เหนือถํ้าที่แลบ ทะลุขึ้นไปเบื้องบนว่า ช่องเปลว หรือ เปลวปล่อง, เรียกสิ่งที่เป็น แผ่นบางอันมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ เช่น ทองคําเปลว, เรียกมัน ของสัตว์ที่ไม่ได้ติดอยู่กับหนัง ว่า มันเปลว, คู่กับ มันแข็ง; ชื่อลาย จําพวกหนึ่งมีปลายสะบัดอ่อนไหวคล้ายเปลวไฟ เช่น กระหนกเปลว.
เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
เปล้า ๑ : [เปฺล้า] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Croton วงศ์ Euphorbiaceae เช่น เปล้าใหญ่ (C. oblongifolius Roxb.) เป็นไม้ต้น, เปล้าน้อย (C. joufra Roxb. และ C. sublyratus Kurz) เป็นไม้พุ่ม ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ทั้ง ๓ ชนิดใบใช้ทํายาได้.
เปล้า ๒ : [เปฺล้า] น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา และนกพิราบ ลําตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสี ที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจมีสีม่วงหรือนํ้าตาล กินผลไม้ หากินเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น ชนิด Treron curvirostra ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เปล้าขาเหลือง (T. phoenicoptera) เปล้าคอสีม่วง (T. vernans) เปล้าใหญ่ปักษ์ใต้ (T. capellei), เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.
เปลาะ, เปลาะ ๆ : [เปฺลาะ] น. ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอน ๆ, ลักษณะที่มัดหรือ ขอดไว้เป็นตอน ๆ, เช่น ผูกเป็นเปลาะ แก้ปัญหาเป็นเปลาะ ๆ, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดหรือผูกให้เป็นตอน ๆ เช่น มัดไต้ ๓ เปลาะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหามี ๔ เปลาะ.
เปลี่ยนใจ : ก. เลิกล้มความตั้งใจเดิม, เปลี่ยนความตั้งใจเดิมไปเป็น อย่างอื่น.
เปลือกตา : น. หนังเป็นชั้น ๆ ที่หุ้มนัยน์ตา, กลีบตา.
เปลือกโลก : น. ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งหุ้มห่ออยู่ รอบนอกสุด ประกอบด้วย หิน ดิน และแร่ธาตุต่าง ๆ.
เปสละ : [เปสะละ] ว. ที่มีศีลเป็นที่รัก. (ป.).
เปอร์เซ็นต์ : น. จํานวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็น ส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จาก จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้ คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่า นายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้ เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.
เปะ : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะข้นเหลวเป็นต้นซัดลงไป เช่น เอาโคลนมาเปะ ที่กำแพง, โดยปริยายหมายถึงทิ้งไว้ให้เป็นภาระของผู้อื่น เช่น เอา ลูกมาเปะให้พี่สาวเลี้ยง.
เปะปะ : ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกเปะปะ, ไม่ตรงประเด็น เช่น พูดเปะปะ ให้การเปะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น เมาเหล้าเดินเปะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนมือเท้าเปะปะ, บางทีใช้ว่า สะเปะสะปะ.
เป๊า : (ถิ่น-พายัพ) น. ปีฉลู, เขียนเป็น เปรา ก็มี.
เป้า ๑ : น. สิ่งที่กําหนดไว้เป็นจุดหมาย เช่น นักยิงปืนยิงถูกตรงเป้าทุกนัด เอาต้นไม้เป็นเป้า; โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่เพ่งเล็ง เช่น เป็นเป้าสายตา.
เป้านิ่ง : น. เป้าที่อยู่กับที่, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ยืนเป็นเป้านิ่งให้เขาชกข้างเดียว.
เป่าใบไม้ : ก. เอาใบไม้บางชนิด เช่น ใบฝรั่ง ใบมะยม มาเป่าให้ เป็นเพลง.
เป่าฝุ่น : (ปาก) ก. หกล้มไม่มีท่า, พลาดพลั้งอย่างไม่เป็นท่า.
เป้าสายตา : น. บุคคลหรือสิ่งที่เป็นที่เพ่งเล็งหรือสนใจของผู้อื่น เช่น คนงามย่อมเป็นเป้าสายตาของใคร ๆ.
เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
เป่าหวูด : ก. ดึงสายเชือกเพื่อเปิดหวูดเรือกลไฟเป็นสัญญาณในการ เดินเรือ.
เป๋าฮื้อ ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล Haliotis วงศ์ Haliotidae เปลือก เป็นมุกรูปเหมือนใบหู ด้านข้างมีรูทะลุจํานวน ๖-๗ ช่องเรียงเป็น แถว เกาะอยู่ตามโขดหินในทะเล เนื้อกินได้ เปลือกทําเป็นเครื่อง ประดับและของใช้ เช่น กระดุม ด้ามมีดพับ พบจํานวนน้อยใน น่านนํ้าของประเทศไทย, โข่งทะเล ก็เรียก.
เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
เปิดกล้อง : (ปาก) ก. เริ่มการถ่ายภาพยนตร์เป็นปฐมฤกษ์ของ แต่ละเรื่อง.
เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
เปิดปีก : ก. เลื่อยเปิดข้างไม้ซุงแผ่นแรกของทั้ง ๔ ด้านให้เป็นสี่เหลี่ยม.
เปิดเผย : ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผย ความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
เปีย ๒ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งเป็นชั้น ๆ มีไส้ใน, ขนมเปียะ หรือ ขนมเปี๊ยะ ก็ว่า. (จ.).
เปียกปูน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าว เผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มี ด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก โรยด้วยมะพร้าวขูด.