ฝาสำหรวด : น. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็น หลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่น เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็น กรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.
ฝาหอยโข่ง : น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลัก ซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือ แผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็นหรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลัง ไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.
ฝิ่น : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Papaver somniferum L. ในวงศ์ Papaveraceae ยางซึ่งกรีดจากผลนํามาเคี่ยวให้เหนียวเป็นยาเสพติด ใช้ทํายาได้.
ฝี่ : ก. ซ้อนกันเป็นชั้น.
ฝี ๑ : น. โรคจําพวกหนึ่ง เป็นต่อมบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน เรียกชื่อ ต่าง ๆ กันหลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคําร้อย, ราชาศัพท์ว่า พระยอด.
ฝีกาฬ : น. ฝีพิษร้ายที่ทําให้ปวดร้อน กระสับกระส่าย มีสีดํา เป็นแล้ว มักตาย.
ฝีคัณฑมาลา : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นแถวตามคอ.
ฝีคัณฑสูตร : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง มักเป็นที่บริเวณขอบทวารหนัก.
ฝีจัก : น. ขวัญที่แสกหน้า ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ ฝีจัก ยักหล่มถ่มร้าย, สีจัก ก็ว่า.
ฝีดาษ : น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูง แล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็น เป็นรอยบุ๋ม, ไข้ทรพิษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. (อ. smallpox, variola).
ฝีดิบ : น. ฝีที่เป็นแก่คนอยู่ไฟเมื่อคลอดลูก เป็นฝีหัวเดียว มักขึ้น แถวท้อง.
ฝีประคำร้อย : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นบริเวณลำคอ เป็นเม็ดเรียงกัน รอบคอ.
ฝีหัวขาด : น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง เมื่อแรกขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ แล้วจึงเป็นฝี.
ฝึก : ก. ทํา (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจจนเป็นหรือมีความชํานาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.
ฝึกงาน : ก. สอนให้ทํางานจนทําเป็น.
ฝึกปรือ : ก. ฝึกให้ทําจนเป็น, หัดให้ทําจนดี, เช่น ฝึกปรือช้างม้า.
ฝึกสอน : ก. ฝึกหัดการสอนในโรงเรียนตามหลักสูตรวิชาการศึกษา; สอนให้ทําจนเป็น, สอนให้เป็นคนดี, เช่น เฝ้าฝึกสอน.
ฝุ่น : น. ดินแห้งหรือสิ่งอื่นที่ละเอียดเป็นผง เช่น ฝุ่นละออง ฝุ่นชอล์ก; ผงขาว ๆ คล้ายแป้งใช้ผัดหน้าหรือทาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ฝุ่นผัดหน้า.
เฝ้าศพ : ก. อยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพในงานศพ.
เฝือก ๑ : น. ของทําเป็นซี่ ถักให้ติดกันเป็นผืน สําหรับกั้นนํ้า ดักปลา หรือห่อศพ.
แฝด ๑ : ว. เป็นคู่ (ใช้เรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้กัน) เช่น มีลูกแฝด, โดยอนุโลมเรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่ คนเดียวกันแม้เกินกว่า ๒ คนก็ได้ เช่น แฝด ๓ แฝด ๖, ติดกันเป็นคู่ เช่น มะม่วงแฝด ผลไม้แฝด.
พ : พยัญชนะตัวที่ ๓๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคํา ที่มาจากบาลีและสันสกฤต เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์.
พง ๑ : น. ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ ๆ หรือที่รก ๆ เช่น ป่าดงพงพี รกเป็นพง.
พงศาวดาร : [วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
พจน์ ๒ : (คณิต) น. สัญลักษณ์ที่แทนจํานวนจริงหรือจํานวนเชิงซ้อน ซึ่งจะ เป็นจํานวนเดียวหรือหลายจํานวนคูณหรือหารกันก็ได้. (อ. term).
พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
พญาไฟ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Campephagidae มีเสียงร้องไพเราะและ สีสันสวยงาม ตัวผู้สีแดง ตัวเมียสีเหลือง บางชนิดเป็นสีเทาทั้งตัวผู้ และตัวเมีย รวมกันอยู่เป็นฝูงตามยอดไม้ มีหลายชนิด เช่น พญาไฟ สีกุหลาบ (Pericrocotusroseus) พญาไฟเล็กคอเทา (P. cinnamomeus) พญาไฟใหญ่ (P. flammeus) พญาไฟสีเทา (P. divaricatus).
พญาลอ : น. ชื่อนกชนิด Lophura diardi ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพก สีแดงสด ขนหางยาวสีดําเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดํา นกชนิดนี้ถือเป็นแบบฉบับของนกไก่ฟ้าในประเทศไทยมีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก.
พ่น : ก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, ที่อาการมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.
พนม : น. ภูเขา. (ข.); ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม. ก. ทําให้มีรูปอย่างดอกบัวตูม เช่น พนมมือ.
พนมศพ : น. การทําศพหรือการแต่งศพที่เป็นงานใหญ่.
พ้นวิสัย : ว. เกินความสามารถ, ที่ไม่อาจเป็นไปได้หรือไม่สามารถ จะกระทําได้.
พนอง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea hypochra Hance ในวงศ์ Dipterocarpaceae ยางใช้เป็นชันยาเรือและอื่น ๆ.
พนักงาน : น. หน้าที่ เช่น เรื่องนี้เป็นพนักงานของฉัน; ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงาน เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ.
พนักงานอัยการ : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่น ผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้; ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้มี อำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ในฐานะทนาย แผ่นดิน, อัยการ ก็เรียก.
พนัง : น. ทํานบกั้นนํ้าอย่างใหญ่; เครื่องกั้นเครื่องกําบัง เช่น พนังม้า คือแผ่นหนังสำหรับปิดข้างม้าทั้ง ๒ ข้าง พนังที่นอน คือแผ่นผ้า ที่เย็บปิดกั้นรอบข้างที่นอนหรือกั้นภายในที่นอนให้เป็นช่อง ๆ เพื่อยัดนุ่นเป็นลูก ๆ พนังหมอน คือแผ่นผ้าที่เย็บปิดกั้นรอบ หมอน.
พนิต : ว. เป็นที่รัก, ที่ชอบพอ. (ส. วนิต).
พยติเรก : [พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยค ใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).
พยักพเยิด : [พะเยิด] ก. แสดงกิริยาหน้าตาพลอยรับรู้เห็นกับเขาด้วย, ไม่แสดงอาการให้ชัดเจนเป็นแต่พยักหน้า หรือทําบุ้ยใบ้ไม้มือเพื่อให้รู้.
พยักยิ้ม : ก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิง เย้ยหยัน.
พยับแดด : น. เงาแดด, แสงแดดกล้าที่ปรากฏในระยะไกลเป็นระยิบ ระยับลวงตา ทําให้เห็นเป็นนํ้าเป็นต้น.
พยับเมฆ ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Orthosiphon aristatus Miq. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็กสีขาวอมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อยาว เกสรเพศผู้ยาว ใบใช้ ทํายาได้, หญ้าหนวดแมว ก็เรียก.
พยับหมอก ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Plumbago auriculata Lam. ในวงศ์ Plumbaginaceae ดอกเป็นช่อสีฟ้าอ่อน, เจตมูลเพลิงฝรั่ง ก็เรียก.
พยาธิ ๒ : [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของ ชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิ เส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.
พยาน : [พะยาน] น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้; (กฎ) บุคคลซึ่ง ให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็นได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น. (อ. witness).
พยานวัตถุ : (กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
พยานเอกสาร : (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
พร : [พอน] น. คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
พรม ๒ : [พฺรม] ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำประโปรยให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น เอาน้ำพรมผ้า พรมน้ำมนต์.