พรมคดตีนเต่า : น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในวงศ์ Malvaceae ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเป็น ๓ แฉกดอกสีเหลือง.
พรมทาง : น. พรมเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่ใช้ปูเป็นลาดพระบาทหรือทางเดิน.
พรมน้ำมัน : น. เครื่องลาดชนิดหนึ่ง ทําด้วยผงไม้ก๊อกผสมนํ้ามัน ลินสีด สี และสารเคมีที่ทําให้นํ้ามันลินสีดแห้งแข็งตัวเร็ว แล้วอัดให้ เป็นแผ่น ใช้แผ่นสักหลาดเนื้อหยาบชุบแอสฟัลต์อัดทับด้านหนึ่งแล้ว จึงอบให้ร้อนจนแข็งตัวแห้งสนิททั้งแผ่น จึงนํามาตกแต่งอีกด้านหนึ่ง ให้มีผิวเรียบเป็นมัน, เสื่อนํ้ามัน ก็เรียก.
พรรคกลิน : [พักกะลิน] น. เหล่าทหารเรือที่เป็นช่างกลประจําท้องเรือ.
พรรคการเมือง : น. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียว กัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
พรรค, พรรค, พรรค์ : [พัก, พักคะ, พัน] น. หมู่คนที่เข้ารวมกันเป็นพวกเป็นฝ่าย เช่น พรรคการเมือง, พวก เช่น คนพรรค์นั้น. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
พรรณนา : [พันนะ] ก. กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็น เป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).
พรรณนาโวหาร : น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.
พรรดึก : [พันระ] น. อุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม.
พรวด ๑ : [พฺรวด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น เทพรวด; เสียงดังเช่น นั้น.
พรวด ๒ : [พฺรวด] (ถิ่นปักษ์ใต้, ตะวันออก) น. ชื่อผึ้งโพรง (Apis cerana) ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดกลาง ผึ้งงานลําตัวยาว ๐.๙๑ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๓.๕ มิลลิเมตร เมื่อกางปีกวัดจากปลายปีกยาวประมาณ ๑.๗๕ เซนติเมตร รวมตัวอยู่เป็นกลุ่ม ทํารังอยู่ในโพรงหรือตามซอก หิน ซอกหลังคาบ้านที่ปิดมิดชิด, ผึ้งรวง ก็เรียก.
พรวดพราด : [พฺราด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น วิ่งพรวดพราด เปิดประตูพรวดพราดเข้ามา.
พรวน ๑ : [พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น เรียกว่า ลูกพรวน, กระพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า, (ถิ่นพายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
พรวน ๒ : [พฺรวน] น. กระจุก, กลุ่ม, พวง, เช่น วิ่งตามเป็นพรวน.
พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
พรหมพักตร์ : น. ยอดเครื่องสูงหรือยอดสิ่งก่อสร้างที่เป็นหน้าพรหม ๔ ด้าน.
พรหมยาน : น. ยานที่นําไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอัน ยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
พรหมเรขา, พรหมลิขิต : [พฺรมมะ, พฺรม] น. อํานาจที่กําหนดความ เป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่ง เกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
พรหมฤษี : น. ฤษีที่เป็นพราหมณ์โดยกําเนิด.
พรหมโลก : [พฺรมมะ] น. โลกของพระพรหม; ภูมิเป็นที่สถิตของ พระพรหม.
พรหมวิหาร : [พฺรมมะ, พฺรม] น. ธรรมของพรหมหรือของท่าน ผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
พรหมสูตร : น. ด้ายที่สวมสะพายแล่ง เป็นเครื่องหมายของ, พราหมณ์ สายธุรําของพราหมณ์. (ส.).
พรหมัญตา : [พฺรมมันยะ] น. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่พราหมณ์. (ป.).
พรหมินทร์ : [พฺรมมิน] น. พรหมผู้เป็นใหญ่. (ส.).
พรหเมนทร์, พรหเมศวร : [พฺรมเมน, พฺรมเมสวน] น. พระพรหม ผู้เป็นใหญ่. (ส.).
พร้อมใจ : ก. ร่วมใจ, มีน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น เขา พร้อมใจกันทำงาน.
พร้อมเพรียง : ว. ครบถ้วน, ร่วมใจกัน, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น ช่วยกันทำงานอย่างพร้อมเพรียง.
พร้อมหน้า, พร้อมหน้าพร้อมตา : ว. รวมอยู่เป็นจํานวนมากอย่าง พร้อมเพรียงกัน (ใช้แก่คนที่มีความเกี่ยวข้องกัน) เช่น มากันพร้อม หน้า มากันพร้อมหน้าพร้อมตา.
พร้อย : [พฺร้อย] ว. ประไปทั่ว, ลายกระเป็นจุดประปราย, วาว, พราย, เช่น ลายพร้อย ด่างพร้อย.
พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
พระคะแนน : น. พระเครื่องขนาดเล็ก ใช้เป็นสิ่งกำหนดนับจำนวน พระเครื่องที่สร้างขึ้น เช่น เมื่อสร้างพระเครื่องครบ ๑๐๐ องค์ ก็มี พระคะแนน ๑ องค์.
พระคุณเจ้า : ส. คําเรียกพระภิกษุที่นับถือ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
พระเครื่อง : น. พระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ที่นับถือว่าเป็นเครื่องคุ้มครอง ป้องกันอันตราย (ย่อมาจากคํา พระเครื่องราง); เครื่องเสวย.
พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
พระเจ้าหลวง : น. พระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติให้รัชทายาทเป็น พระเจ้าแผ่นดินแทน.
พระชายา : (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
พระแผง : น. พระพิมพ์ที่หล่อติดกันเป็นแผง, พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ใน แผงไม้ขนาดใหญ่.
พระพุทธเจ้า : น. คําเรียกพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา, ใช้ เป็นคํานําหน้าชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น พระพุทธเจ้าเสือ.
พระพุทธองค์ : ส. คําเรียกพระพุทธเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
พระยาโต๊ะทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่อง สำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูล จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่ง ที่ได้รับโต๊ะทอง.
พระยาเทครัว : (ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือ ทั้งพี่ทั้งน้อง.
พระยาพานทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานพานทอง เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
พระราชกำหนด : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย อาศัยอํานาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการ รักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจําเป็น ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับ การพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.
พระรูป, พระรูปชี : น. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
พระองค์เจ้า : น. ยศสําหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระ มหากษัตริย์ที่ประสูติแต่สามัญชน, ยศสําหรับพระโอรสหรือที่ พระธิดาในพระองค์เจ้าลูกหลวงประสูติแต่พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า, ยศสําหรับพระโอรสหรือพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้าที่พระมารดาเป็นเจ้า, ยศสําหรับหม่อมเจ้าหรือผู้ที่ตํ่ากว่าหม่อมเจ้าที่ได้รับสถาปนา.
พระอันดับ : น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธาน หรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวช นาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึง ผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสําคัญอะไร.
พร้า : [พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสําหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสําหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สําหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สําหรับขุดดิน ได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.