พสกนิกร : [พะสกกะนิกอน, พะสกนิกอน] น. คนที่อยู่ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวที่มาอาศัยอยู่ ก็ตาม.
พหุ : ว. มาก, เขียนเป็น พหู ก็มี. (ป., ส.).
พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
พ่อขุน : (โบ) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในสมัยสุโขทัย.
พ่อเจ้า : ส. คําเรียกพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๒.
พอน ๑ : น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่งแผ่ขยาย ออกไปรอบ ๆเพื่อพยุงลําต้น เช่น พอนตะเคียน พอนมะค่า, พูพอน ก็เรียก.
พ่อบ้าน : น. ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัว, ชายผู้จัดการงานธุรการ ในสถานที่เช่นโรงพยาบาลเป็นต้น.
พ่อพวงมาลัย : (สํา) น. ชายที่ปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ยอมตั้งตัว หรือทําการงานเป็นหลักฐาน.
พอมีพอกิน : ว. มีฐานะปานกลาง เช่น เขาเป็นคนมีฐานะพอมีพอกิน.
พอมีอันจะกิน : ว. ค่อนข้างรวย, มีฐานะค่อนข้างดี, เช่น เขาเป็นคน พอมีอันจะกิน.
พ่อเมือง : น. ผู้ที่ชาวเมืองยกขึ้นเป็นเจ้าเมือง.
พ่อเล้า : (ปาก) น. ผู้ชายผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.
พอโลเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๘๔ สัญลักษณ์ Po เป็นธาตุกัมมันตรังสี ลักษณะ เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๕๔?ซ. (อ. polonium).
พะงาบ, พะงาบ ๆ : ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการ ของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), ปะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ งาบ ๆ ก็ว่า.
พะเนียง ๑ : น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินดํา ใช้ตั้งจุด ไฟให้ลุกเป็นช่องาม เรียกว่า ไฟพะเนียง.
พะเยิบพะยาบ : ว. อาการที่โบกหรือกระพือขึ้นลงช้า ๆ (ใช้แก่สิ่งที่ เป็นผืนแผ่นบาง ๆ หรือที่อ่อนไหวได้ในตัว), เช่น หลังคาเต็นท์ถูก ลมพัดพะเยิบพะยาบ.
พะเลย : น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนําข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทน ข้าวที่เสียไป, เรียก นาที่ทําด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.
พะไล : น. เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน, พาไล ก็ว่า.
พัก : ก. หยุดชั่วคราว เช่น พักร้อน พักเครื่อง, อยู่ชั่วคราว, อาศัยชั่วคราว, เช่น บ้านพัก; รอรั้ง มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่พักต้องว่า. น. คราว เช่น เมื่อพักที่น้ำท่วม การจราจรติดขัดมาก, ช่วงระยะเวลา เช่น เดินไปพักหนึ่ง หยุดเป็นพัก ๆ.
พักฟื้น : ก. พักผ่อนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปรกติ เมื่อหายเจ็บป่วย.
พักแรม : ก. พักค้างคืน (มักไปกันเป็นหมู่คณะ) เช่น ลูกเสือไปพักแรม.
พังก๊ำ : น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับ เส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อม หรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่างสำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
พังพอน : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Herpestes วงศ์ Viverridae ขนหนาสีนํ้าตาลหรือเทา หัวแหลม หางยาวเป็นพวง เคลื่อนไหว เร็วมากกินสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พังพอนธรรมดา (H. javanicus) ตัวเล็ก สีนํ้าตาล และพังพอนกินปู หรือ พังพอน ยักษ์ (H. urva) ตัวใหญ่สีเทา มีแต้มขาวที่ด้านข้างลําคอ.
พัดงาสาน : (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จ พระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า ''คามวาสี อรัญวาสี'' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่าย อรัญวาสี.
พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ : น. พัดยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ มีลักษณะอย่างทรงพุ่ม ข้าวบิณฑ์ ปลายแหลม และมีแฉกโดยรอบ พื้นตาดโหมด หรือ กำมะหยี่ ปักลวดลายด้วยดิ้นเลื่อมหรือดิ้นด้าน มีสีและลวดลาย ต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์ ด้ามงาเกลี้ยง, ถ้าเป็นพัดยศสมเด็จ พระสังฆราช ยอดทำด้วยงาสลักเป็นฉัตร ๓ ชั้น.
พัดยศ : น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยค ขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในการศึกษา การ บริหารหรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดง ลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.
พัดหน้านาง : น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำ กว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้า นางด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็น พัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง.
พัทธยา ๑ : น. จํานวนที่หักหรือริบเอาไว้เป็นภาคหลวง.
พัน ๒ : ก. วนรอบด้วยสิ่งที่เป็นเส้นสายหรือสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น พันคอ พันแผล เถาวัลย์พันกิ่งไม้, ม้วน เช่น พันไหมพรม, รัดโดยรอบ เช่น พันแข้ง, เกี่ยวกันไปมา, เกี่ยวกันยุ่งเหยิง, เช่น ด้ายพันกัน.
พันทาง : น. เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลย ไปถึงสัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิด บางอย่างที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลาย ครามพันทาง.
พันธกรณี : [พันทะกะระนี, พันทะกอระนี] น. เหตุแวดล้อมที่เป็น ข้อผูกมัด.
พันธบัตร : (กฎ) น. เอกสารหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งที่ออกโดยรัฐบาล หรือนิติบุคคล แสดงการเป็นหนี้ระยะยาวที่กู้จากบุคคลทั่วไป. พันธมิตร น.ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่จะช่วยเหลือกันตาม สนธิสัญญาที่ทําไว้ เพื่อร่วมรบหรือเพื่อการป้องกันร่วมกัน.
พับ : น. เรียกลักษณะผ้าหรือกระดาษที่พับไว้ เช่น ซื้อผ้าในพับ. ก. ทบ เช่น พับผ้า พับกระดาษ, หักทบ เช่น พับมีด, คู้เข้า เช่น นั่งพับขา; สิ้นกําลังทรงตัว เช่น คอพับ; ตัดบัญชีเป็นสูญ เช่น เป็นพับไป. ว. ที่ทบหรือหักทบเข้าด้วยกัน เช่น ผ้าพับ มีดพับ.
พัลวัน : [พันละ] ว. อุตลุด, เกี่ยวพันหรือพัวพันกันจนยุ่งเหยิงสับสนแยก ไม่ออก, เช่น ตบตีกันเป็นพัลวัน.
พัว : ว. เป็นพวง, ติดกัน.
พัสตร์ : น. ผ้า, เขียนเป็น พัตร ก็มี. (ส. วสฺตฺร; ป. วตฺถ).
พัสถาน : [พัดสะ] น. หลักฐาน, มักใช้เข้าคู่กับคํา สมบัติเป็น สมบัติพัสถาน.
พากย์ : ก. พูดแทนผู้แสดงหรือตามบทบาทของผู้แสดงโขน หนัง หรือ ภาพยนตร์ เป็นต้น เช่น พากย์โขน พากย์หนังตะลุง พากย์หนัง ใหญ่ พากย์ภาพยนตร์, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬาหรือ การแสดงบางอย่าง เช่น พากย์มวย พากย์ฟุตบอล, กล่าวเรื่องราว เป็นทำนองเมื่อเวลาแสดงโขนเล่นหนัง. น. คําพูด, ภาษา; คํากล่าว เรื่องราวเป็นทํานองเมื่อเวลาแสดงโขนหรือหนังใหญ่เป็นต้น, บทพากย์ ก็ว่า. (ป., ส. วากฺย).
พ่าง : น. พื้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พ่างพื้น เช่น พ่างพื้นพสุธา. ว. เพียง, เช่น เหมือน, แทบ, พาง หรือ ปาง ก็ว่า.
พาดหัวข่าว : ก. เก็บความสําคัญของข่าว นํามาตีพิมพ์เป็นหัวเรื่อง โดยใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ผิดปรกติเพื่อให้เกิดความสนใจ, เรียก ข่าวเช่นนั้นว่า ข่าวพาดหัว.
พ่าน : ว. พล่าน, พลุกพล่าน, ไม่เป็นระเบียบ.
พาน ๓ : น. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความ เป็นหนุ่มสาว, เรียกอาการของนมหรือเต้านมที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า นมขึ้นพาน หรือ นมแตกพาน.
พาน ๔ : ว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พาน แก่ชราหูตามัว. (สังข์ทอง).
พานกลีบบัว : น. พานที่ริมปากทําเป็นรูปกลีบบัวโดยรอบ.
พานปากกระจับ : น. พานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบ บัวคลี่ออกคล้ายฝักกระจับ.
พานพระขันหมาก, พระขันหมาก : (โบ; ราชา) น. พานมีรูปทรง คล้ายพานแว่นฟ้า ทำด้วยทองคำ จำหลักลวดลายลงยาสี เป็นเครื่อง ราชูปโภค ใช้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินในพานประกอบด้วย ตลับพู่ใส่ ขี้ผึ้ง ๑ มังสี ๒ สำหรับใส่หมากเจียน ๑ หมากทั้งลูก ๑ซองพลู ๒ สำหรับใส่พลูจีบ ๑ พลูทั้งใบ ๑ ตลับใส่กระวาน ๑ ตลับใส่ยาฝอย ๑ และพระแสงกรรบิด ๑, พานพระศรี ก็ว่า.
พานแว่นฟ้า : น. พานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือ กระจกเป็นต้น ใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีก ชนิดหนึ่งทําด้วยโลหะจําหลักลายกะไหล่ทอง ใบบนเป็นพานเล็ก ซ้อนอยู่บนพานใหญ่.
พาย : น. เครื่องมือสําหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ทำด้วยไม้ มีด้ามกลมยาว ประมาณ ๒ ศอก สำหรับจับด้านที่ใช้พุ้ยน้ำมีลักษณะแบน, ถ้า ลอกลวดเป็นคิ้วตลอดกลางใบพาย เรียกว่า พายคิ้ว, ถ้าด้ามสั้น ใบป้อม เพื่อให้จับได้ถนัด เรียกว่า พายทุย, เรียกไม้แบน ๆ ที่มี รูปคล้ายพาย เช่น พายกวนขนม. ก. เอาพายพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน.
พายุทอร์นาโด : น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมี ความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลาง พายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรือ งวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกา และทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก.
พายุฝุ่น : น. พายุที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินร้อนจัด กระแสอากาศยกตัว ขึ้นสู่เบื้องบน มวลอากาศที่อยู่ข้างเคียงจึงเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ มักเกิดในบริเวณที่เป็นทะเลทรายในฤดูร้อน.