พารา : น. เมือง, เขียนเป็น ภารา ก็มี.
พาราฟิน : (เคมี) น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1, 2, 3,
ในปัจจุบันเรียกสารประกอบประเภทนี้ว่า อัลเคน (alkane). (อ. paraffin); ชื่อนํ้ามันประเภทหนึ่ง ซึ่งมีขีดเดือดอยู่ ระหว่าง ๒๐๐?๓๐๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่ง มีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 1216 ได้มาจากการนํานํ้ามันปิโตรเลียม มากลั่น ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้, นํ้ามันก๊าด ก็เรียก. (อ. paraffin oil); ชื่อของแข็งประเภทหนึ่ง ลักษณะสีขาวโปร่งแสง หลอมละลาย ระหว่าง ๕๐?๖๐?ซ. เป็นสารผสมของสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีสูตร CnH2n+2 ในเมื่อ n = 2030 ใช้ประโยชน์ทําเทียนไข กระดาษไข ยาขัด เป็นต้น. (อ. paraffin wax).
พาลี : น. เรียกรอยเป็นชั้น ๆ ที่โคนเขาวัวและควาย.
พาหะ ๓ : น. ตัวนํา เช่น ยุงก้นปล่องเป็นพาหะไข้มาลาเรีย; (กฎ) คนหรือสัตว์ ซึ่งไม่มีอาการของโรคติดต่อปรากฏ แต่ร่างกายมีเชื้อโรคนั้นซึ่งอาจ ติดต่อถึงผู้อื่นได้.
พาหุสัจจะ : น. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก. (ป.).
พาฬมฤค : น. สัตว์ร้าย, สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร. (ป. พาฬมิค; ส. วฺยาลมฺฤค).
พำลา : น. เรียกช้างซึ่งมีลักษณะอันชั่วร้ายชนิดหนึ่ง ตําราไม่ให้เอามาใช้ เป็นพาหนะ.
พิกัด ๒ : (คณิต) น. จํานวนจริง ๒ จํานวนซึ่งเป็นคู่ลําดับ ที่แทนจุดจุดหนึ่ง บนระนาบ จํานวนแรกของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด x เป็นระยะตั้งฉาก ที่จุดนั้นห่างจากแกนดิ่ง ส่วนจํานวนที่ ๒ ของคู่ลําดับเรียกว่า พิกัด y เป็นระยะตั้งฉากที่จุดนั้นห่างจากแกนนอน. (อ. coordinates).
พิกัติ : น. การทําให้เป็นหลายอย่าง, การกระทําให้แปลกออกไป, การ ประดิษฐ์ทํา. (ป. วิกติ; ส. วิกฺฤติ).
พิฆเนศ, พิฆเนศวร : [พิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพ แห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศฺวร).
พิจิก : น. ชื่อกลุ่มดาวรูปแมงป่อง เรียกว่า ราศีพิจิก เป็นราศีที่ ๗ ในจักร ราศี, ราศีพฤศจิก ก็ว่า.
พิณพาทย์ : น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า, ปี่พาทย์ ก็เรียก.
พิถีพิถัน : ว. ละเอียดลออมาก เช่น เขาเป็นคนพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้า.
พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
พิธี : น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
พิธีจุ่ม : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะเพื่อ รับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, ศีลล้างบาป ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
พิธีสาร : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจาก สนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไข เพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
พินัย : น. เงินค่าปรับเป็นภาคหลวง. (ป., ส. วินย).
พินัยกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากําหนดการเผื่อ ตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็น ผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
พินัยหลวง : น. เงินค่าปรับเป็นของหลวง เช่น ปรับเป็นพินัยหลวง.
พิบัติ : น. ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล. ก. ฉิบหาย. (ป., ส. วิปตฺติ).
พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑสถาน : [พิพิดทะพัน, พันทะสะถาน] น. สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่าง ๆ ที่มีความสำคัญด้าน วัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็น ประโยชน์ต่อการศึกษา และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ.
พิมปะการัง : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Pholas orientalis ในวงศ์ Pholadidae รูปร่างค่อนข้างยาว สามารถใช้เปลือกขุดดินให้เป็นรูอยู่ได้, พิมพการัง ก็เรียก.
พิมพ์เขียว : ก. พิมพ์สําเนาโดยการฉายแสงผ่านต้นฉบับที่เป็น กระดาษบาง ๆ ลงบนกระดาษที่เคลือบสารเคมีซึ่งไวต่อแสง ให้ปรากฏเป็นลวดลายสีขาวบนพื้นสีนํ้าเงินหรือลวดลายสีนํ้าเงิน บนพื้นขาว. น. สําเนาที่ทําขึ้นโดยวิธีการเช่นนี้. (อ. blueprint).
พิมพ์ดีด : น. เครื่องพิมพ์ชนิดหนึ่ง ใช้ปลายนิ้วเคาะแป้นอักษรให้ ตัวอักษรไปกดผ้าหมึกให้กระทบกระดาษปรากฏเป็นตัวอักษร.
พิมพ, พิมพ์ : [พิมพะ] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตา เป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือ ภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอย อย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือ วิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสําเนา. (ป., ส.).
พิมพ์ลายนิ้วมือ : ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็น หลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง.
พิมพ์ลายมือ : ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ ติดอยู่เป็นหลักฐาน.
พิมพ์สอดสี : ก. พิมพ์ให้เป็นสีตั้งแต่ ๒ สีขึ้นไป.
พิมพา : น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและ หาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโต ขึ้น ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง เสือทะเล หรือ ฉลามเสือก็เรียก.
พิมเสน ๑ : น. ชื่อสารชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีทั้งที่ได้จาก ธรรมชาติและได้จากการสังเคราะห์ ใช้ทํายา ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น จากไม้ต้นชนิด Dryobalanops aromatica C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae, จากไม้พุ่มชนิด Blumea balsamifera DC. ในวงศ์ Compositae, ที่ได้จากการสังเคราะห์เรียก พิมเสนหุง.
พิรอด : น. ชื่อแหวนชนิดหนึ่ง ถักด้วยผ้ายันต์หรือด้ายดิบเป็นต้น ใช้เป็น เครื่องราง.
พิราบ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่าง คล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบน พื้นดิน กินเมล็ดพืช ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia. (ส. วิราว, พิราว, พิราพ ว่า เสียงร้อง).
พิเศษ : ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
พิษนาศน์ ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Artemisia indica Willd. var. heyneana Pampan. ในวงศ์ Compositae ใบเล็กหยักเว้าเป็นแฉก ช่อดอก สีนวล ใช้ทํายาได้.
พิษ, พิษ : [พิด, พิดสะ] น. สิ่งที่ร้ายเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือให้ความ เดือดร้อนแก่จิตใจ; สิ่งที่ร้ายเป็นอันตราย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทํา ให้ตาย เจ็บปวด หรือพิการได้ บางอย่างเกิดจากแร่ เช่นสารหนู, บางอย่างเกิดจากต้นไม้ เช่นต้นแสลงใจ, บางอย่างเกิดจากสัตว์ เช่นงู. (ส. วิษ; ป. วิส).
พิษสุนัขบ้า : น. โรคติดเชื้อไวรัสของระบบประสาท ติดต่อจาก นํ้าลายของสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมีอาการเนื่องจาก สมองอักเสบ มีไข้ เอะอะ ซึม กลืนอาหารลําบากโดยเฉพาะนํ้า ถึงตายเกือบทุกรายในระยะเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์, โรคกลัวนํ้า ก็เรียก.
พิษสุราเรื้อรัง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งสมองและประสาทเสื่อม เนื่องจากดื่มสุรามากเป็นเวลานาน มีอาการมือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม บางครั้งชักแบบลมบ้าหมู.
พิสัย : น. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตําบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).
พิสูจน์ : ก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริง ในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
พีชคณิต : [พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มา ศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบ จํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็น สําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
พี่เบิ้ม : (ปาก) น. ผู้มีอํานาจมาก, ผู้เป็นหัวหน้าใหญ่.
พึง : ว. คําช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป ว่าควรไป, หมายความจําเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทํา ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทํา.
พืช : น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป, พืชพันธุ์ ก็ใช้. (ป. พีช; ส. วีช); พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ, พืชพรรณ ก็ใช้.
พืชพันธุ์ : น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป; (โบ; กลอน) กําพืด เช่น ด้วยพืชพันธุ์มันไม่น่าจะอาลัย. (ขุนช้างขุนแผน).
พืชมงคล : [พืดชะ, พืด] น. ชื่อพระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดเพื่อ ความเจริญของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์.
พืด : น. แผ่นหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น พืดเขา, โดย ปริยายหมายถึงอาการของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รถติดกันเป็นพืด; เรียกเหล็กเหนียวชนิดหนึ่งที่เป็นแผ่นยาวอย่าง เหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
พื้นเดิม : น. รกรากเดิม เช่น พื้นเดิมเป็นคนมั่งมี.
พื้นที่ : น. ขนาดของผิวพื้น เช่น หาพื้นที่, อาณาบริเวณ เช่น ตรวจ พื้นที่, ลักษณะของพื้นดิน เช่น พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม.