โพล่ง : [โพฺล่ง] ว. ใช้ประกอบกับคํา พูด เป็น พูดโพล่ง หมายความว่า พูดอย่างไม่ยับยั้ง; เสียงดังอย่างเสียงกระโดดลงไปในนํ้า.
โพลน : [โพฺลน] ว. ใช้ประกอบกับคำ ขาว เป็น ขาวโพลน หมายความว่า ขาวมาก, ขาวทั่วทั้งหมด, (ใช้แก่ผม) เช่น ผมหงอกขาวโพลนไป ทั้งหัว, โพลง ก็ว่า.
ฟ่อง : ว. อาการที่ลอยสูง เด่น หรืออยู่ตามลำพัง, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลอย เป็น ลอยฟ่อง, เช่น หมาตายลอยฟ่อง ลูกโป่งลอยฟ่องอยู่บน ท้องฟ้า.
ฟาง ๒ : น. ฟันที่เข้าใจว่าขึ้นแทนฟันแท้ที่หักไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฟัน เป็น ฟันฟาง.
ฟายมือ : ว. เต็มอุ้งมือ, เรียกของที่เต็มฝ่ามือที่ห่อเข้าว่า ฟายมือหนึ่ง. น. ชื่อมาตราตวง ๘ ฟาย มือ เป็น ๑ ทะนาน.
ฟุน : ก. ลุกฮือ (ใช้แก่ไฟ), โกรธเป็นไฟ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ไฟ เป็น ฟุนไฟ หรือ ไฟฟุน.
เฟือ : ก. เหลือมาก, มักใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือเฟือ.
ภาระ ๒, ภารา ๑ : น. ชื่อมาตราชั่งนํ้าหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ส. ภาร).
มด ๒ : น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคําประกอบกับคํา หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.
มดเท็จ : ว. โกหกหลอกลวง, มักใช้เข้าคู่กับคำ โป้ปด เป็น โป้ปดมดเท็จ.
มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
ม้วย : ก. ตาย, สิ้นสุด, วายวอด, มักใช้เข้าคู่กับคำ มอด เป็น ม้วยมอด หรือ มอดม้วย.
มหันต-, มหันต์ : [มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).
มหายุค :
น. ยุคใหญ่ คือ ยุคทั้ง ๔ รวมกัน, จตุรยุค ก็เรียก. (ดู จตุรยุค)๑, ๐๐๐ มหายุค หรือ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหม เมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิงและปล่อยให้โลกอยู่ในความมืด จนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. (ส.).
มอด ๒ : ก. จวนจะดับ (ใช้แก่ไฟ); ตาย, มักใช้เข้าคู่กับคํา ม้วย เป็น มอดม้วย หรือ ม้วยมอด.
มอร์ฟีน : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H19O3N ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๒๕๔ ? ซ. มีในฝิ่น เป็น ยาเสพติดอย่างแรง ทางแพทย์ใช้เกลือไฮโดรคลอไรด์หรือเกลือ แอซีเทต หรือเกลือซัลเฟตของมอร์ฟีนเป็นยาระงับความปวด. (อ. morphine).
มักใหญ่ : ก. ใฝ่สูง อยากเป็นใหญ่เป็นโต, มักใช้เข้าคู่กับคํา ใฝ่สูง เป็น มักใหญ่ใฝ่สูง.
ม้า ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus caballus ในวงศ์ Equidae เป็น สัตว์กีบเดี่ยว รูปร่างสูงใหญ่ ขายาว หางเป็นพู่ มีแผงคอยาว ใช้เป็น พาหนะขับขี่และเทียมรถ; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง, ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า ดาวอัศวยุช หรือ ดาวอัสสนี ก็เรียก; เครื่องรองนั่ง และรองสิ่งของ มีขาเป็นรูปต่าง ๆ; เรียกตัวหมากรุกที่แกะเป็นรูปม้า.
มาด ๓ : ก. มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา มุ่ง เป็น มุ่งมาด.
มาสก : [มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).
มิดหมี : ว. มาก, สนิท, ใช้ประกอบหลังคํา ดํา เป็น ดํามิดหมี.
มืดมน : ว. มืดมัว, มืดมาก, มืดจนมองไม่เห็นทาง, มักใช้เข้าคู่กับคํา อนธการ เป็น มืดมนอนธการ.
มือ ๑ : น. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วย ฝ่ามือและนิ้วมือ สําหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิด ที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่น คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะ สิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตําลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวน นับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ).
มุ : ก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.
แม่กระชังหน้าใหญ่ : (สํา) น. ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่, มักพูดเข้าคู่กับ แม่หญิงแม่หญัง เป็น แม่หญิงแม่หญัง แม่กระชังหน้าใหญ่.
ไม้ฝนทอง : น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ?สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี, ไม้เสียบหนู ก็เรียก.
ไม้สอย : น. ไม้เหลาแหลมคล้ายขนเม่นสําหรับสอยผมทําเป็นไรผม, ไม้สําหรับสอย ของสูง ๆ; ไม้สําหรับใช้, ใช้ประกอบกับคํา เครื่องใช้ เป็น เครื่องใช้ไม้สอย.
ไม้เสียบหนู ๒ : น. เครื่องหมายสระ รูปดังนี้ ' สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็น สระอี, ไม้ฝนทอง ก็เรียก.
ยก ๒ : น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวย ยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษ แผ่น หนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
ยอง ๓ : น. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส.
ยักหล่ม : น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับ หญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
ยัฐิ ๒ : [ยัดถิ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณ เท่ากับ ๑ วา ๑ ศอก, ๒๐ ยัฐิ เป็น ๑ อุสภ.
ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
ยางสน : น. ยางไม้ที่ได้จากต้นสนเขาในสกุล Pinus วงศ์ Pinaceae เป็น ของแข็งมีลักษณะโปร่งแสง สีคล้ายอำพัน, ชันสน ก็เรียก.
ยาน ๑ : น. เครื่องนําไป, พาหนะต่าง ๆ เช่น รถ เกวียน เรือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ พาหนะ เป็น ยานพาหนะ. (ป., ส.).
ยามักการ : น. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือ บาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.
ยิงฟัน : ก. แยกริมฝีปากให้เห็นฟันขบกัน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แยกเขี้ยว เป็น แยกเขี้ยวยิงฟัน.
ยิบ ๑ : ว. ยิ่ง, มักใช้ประกอบคํา ถี่ หรือ ละเอียด เป็น ถี่ยิบ ละเอียดยิบ.
ยื้อ : ก. แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคํา แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน.
เยา ๒ : ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.
เยียน : ก. ไปมาหาสู่, มักใช้ควบกับคํา เยี่ยม เป็น เยี่ยมเยียน, เยือน ก็ว่า.
เยียบ : ก. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น, มักใช้ควบกับ คํา เย็น เป็น เย็นเยียบ หรือ เยียบเย็น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึก เย็นเยียบ.
แยะ : ก. แยก, แบะออก, แตกออก. ว. มากมาย เช่น ข้าวของมีแยะไป, มักใช้ เข้าคู่กับคำ เยอะ เป็น เยอะแยะ.
โยชน์ : [โยด] น. ชื่อมาตราวัด ๔๐๐ เส้น เป็น ๑ โยชน์; การผูก. (ป., ส.).
ร้องห่ม : ก. ร้องรํ่าไรอย่างน้อยอกน้อยใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ร้องไห้ เป็น ร้องห่มร้องไห้ หรือ ร้องไห้ร้องห่ม.
ร้องไห้ : ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น เจ็บปวด เศร้าโศก ดีใจ,บางทีใช้ว่า ร้อง คําเดียว หรือใช้เข้าคู่กับคำ ร้องห่ม เป็น ร้องห่มร้องไห้หรือ ร้องไห้ร้องห่ม ก็ได้.
ระกะ : ก. มากเกะกะ, ใช้เข้าคู่กับคํา ระเกะ เป็น ระเกะระกะ.
ระทวย ๒ : ก. ระทด, มักใช้เข้าคู่กับคํา ระทด เป็น ระทดระทวย.
ระนาด ๓ : ว. อาการที่ล้มทับกัน, อาการที่เรียงกันเป็นแถว, มักใช้เข้าคู่กับคำระเน และ ระเนน เป็น ระเนระนาด และ ระเนนระนาด.