เป็นไหน ๆ : ว. มากมายจนประมาณไม่ได้ เช่น ดีกว่าเป็นไหน ๆ.
เป็นอยู่ : ว. สภาพความเป็นไป ในคำว่า ความเป็นอยู่.
เป็นอัตรา : (ปาก) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ขยันเป็นอัตรา ขี้เกียจเป็นอัตรา.
เป็นอัน : ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันยุติ, เป็นอันว่า ก็ใช้; ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่เป็นอัน หมายความว่า ทําได้ไม่เต็มที่ เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
เป็นอันว่า : ก. รวมความว่า, แสดงว่า, เช่น เป็นอันว่ายุติ, เป็นอัน ก็ใช้.
เป็นเอง : ก. ทําเรื่องเสียหายเอง, เป็นเสียเอง ก็ว่า.
สมาชิกวุฒิสภา : น. สมาชิกของวุฒิสภา, (ปาก) วุฒิสมาชิก.
เป็นกันเอง : ว. มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน.
เป็นความ : ว. มีคดีพิพาทหรือฟ้องร้องกันในโรงศาล. (ปาก) ก. สู้คดี, สู้ความ.
เป็นงาน : ว. มีความชำนาญ.
เป็นเงาตามตัว : (สํา) ว. คอยติดตามอยู่ตลอดเวลา; เพิ่มขึ้นหรือ ลดลงตามส่วน.
เป็นชู้ : ก. ร่วมประเวณีกับเมียผู้อื่น.
เป็นได้ : ก. อาจ.
เป็นธรรม : ว. ถูกต้อง.
เป็นน้ำเป็นนวล : ว. มีผิวพรรณผุดผ่องสวยงาม.
เป็นน้ำยาเย็น : ว. จืดชืด.
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน : ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.
เป็นนิตย์ : ว. เสมอ ๆ, เนือง ๆ.
เป็นเบื้อ : ว. อาการที่นั่งนิ่งเฉย.
เป็นปากเป็นเสียงกัน : ก. ทะเลาะกัน.
เป็นไป : ก. ดำเนินไป.
เป็นฝั่งเป็นฝา : ก. มีหลักฐานมั่นคง.
เป็นเพื่อน : ว. อาการที่อยู่ด้วยหรือไปด้วยเพื่อให้มีความอุ่นใจ.
เป็นมั่นเป็นเหมาะ : ว. มั่นคง, แข็งขัน, หนักแน่น.
เป็นลม ๆ : ว. เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย.
เป็นลม, เป็นลมเป็นแล้ง : ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืด บางคราว ถึงกับหมดสติ.
เป็นหนี้, เป็นหนี้เป็นสิน : ก. ติดค้างเงินผู้อื่น.
เป็นห่วง : ก. กังวลถึง.
เป็นหุ่นให้เชิด : (สํา) ก. อยู่ในฐานะหรือตําแหน่งที่ต้องทําตามที่เขาสั่ง.
เป็นหูเป็นตา : (สํา) ก. ช่วยสดับตรับฟังและดูแลรักษาแทน.
เป็นอันขาด : ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่า แน่นอน, แน่แท้.
เป็นอันมาก : ว. มากหลาย, ถมไป.
กรรมาธิการ : [กํา-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้ง เป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคล ผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือ บุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.
กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
กิตติมศักดิ์ : [-ติมะ-] ว. ยกย่องเพื่อเป็นเกียรติยศ เช่น ปริญญากิตติมศักดิ์ สมาชิกกิตติมศักดิ์.
เขตเลือกตั้ง : (กฎ) น. ท้องที่ซึ่งจัดเป็นเขตอันจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น.
จรรยาบรรณ : [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
ธนาคารโลก : น. คําสามัญเรียกธนาคารระหว่างประเทศเพื่อบูรณะและ วิวัฒนาการ ซึ่งทําหน้าที่ให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ธนาคารนี้ไม่รับฝากเงิน.
เนตรนารี : น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิง ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
บัตรเครดิต : น. บัตรซึ่งสถาบันการเงินหรือธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภค ที่เป็นสมาชิก เพื่อให้ชำระค่าสินค้าหรือบริการจากสถานการค้าหรือ ธุรกิจที่รับบัตรนั้นแทนการชำระด้วยเงินสด. (อ. credit card).
ฝ่ายค้าน : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอ ในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทําหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใคร จะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
รัฐมนตรี : [รัดถะมนตฺรี] น. ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีหรือคณะ รัฐบาลรับผิดชอบร่วมกับคณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือ ทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วย อีกฐานะหนึ่ง; (โบ) ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
ลูกพรรค : น. สมาชิกที่มิได้เป็นหัวหน้าของพรรคการเมือง.
ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
เลือกตั้ง : ก. เลือกสรรบุคคลให้เป็นผู้แทนหรือให้ดํารงตําแหน่ง ด้วยการออกเสียงลงคะแนน เช่น เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลือกตั้งกรรมการ.
วงนอก : ว. ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยตรง เช่น ผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกถือเป็นคนวงนอก, ตรงข้ามกับ วงใน.
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
สภาผู้แทนราษฎร : (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับ วุฒิสภาแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๔๐๐ คน มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา.
สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
องค์ประชุม : น. จํานวนสมาชิกหรือกรรมการที่มาประชุมตามข้อ บังคับการประชุมที่กำหนดไว้ เช่น กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อย ครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม.