มีดซุย : น. มีดขนาดย่อม ใบมีดรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมา ปลายแหลม สันหนา คมบาง ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.
มีดดาบ : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปยาวรีประมาณ ๑ ศอก ปลายงอน ขึ้นเล็กน้อย ด้ามทำด้วยไม้ยาว ๑ คืบ ดาบของหลวงปรกติสอดไว้ในฝัก ดาบเชลยศักดิ์ไม่นิยมทำฝักสำหรับสอดดาบ ใช้เป็นอาวุธ มีชื่อเรียก ต่างกันออกไปตามลักษณะปลายดาบ, ถ้าปลายแหลม หัวงอน เรียกว่า มีดดาบหัวปลาซิว, ถ้าปลายมนแหลมเรียกว่า มีดดาบหัวปลาหลด, ถ้าปลายตัดขวางเรียกว่า มีดดาบหัวตัด, ถ้าปลายแหลมตัดปลายสันเฉียง ปัดไปทางปลายดาบเรียกว่า มีดดาบหัวเผล้.
มีดต้องสู้ : น. มีดขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายดาบ ปลายตัดเป็นหยัก ด้ามทำด้วยโลหะหรือไม้หุ้มโลหะ ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝัก เป็นมีด ที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวต้องสู้.
มีดโต้ : น. มีดขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ใบมีดมีรูปร่างคล้ายน้ำเต้าผ่าเสี้ยว หัวโต สันหนา โคนมีดแคบ ด้ามทำด้วยไม้เป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีด ขนาดสั้นพอมือกำ มีดโต้ขนาดใหญ่และกลาง ใช้ฟันหรือผ่าทั่วไป ขนาดเล็กใช้กรีดหรือผ่าทุเรียนเป็นต้น, พร้าโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก.
มีดแทงหยวก : น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียว ปลายแหลมคล้ายใบข้าว มีคม ๒ ด้าน ด้ามสั้นพอกำ ใช้แทงหรือฉลุหยวกกล้วยทำเป็นลวดลายใน งานเครื่องสด.
มีดแป๊ะกั๊ก : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดรูปแบนยาวประมาณ ๑ ศอก สันหนา ด้ามทำด้วยไม้ไผ่ยาวประมาณ ๓ ศอก ใช้เป็นอาวุธสำหรับทหารเดินเท้า ในกองทัพสมัยโบราณ.
มีดพก : น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดหนายาวเรียว ปลายแหลม มีคมด้านหนึ่ง หรือทั้ง ๒ ด้าน ยาวประมาณ ๑ ฝ่ามือ ด้ามสั้นทำด้วยไม้ เขาสัตว์ หรืองา ใช้พกเป็นอาวุธ.
มีดพับ : น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดพับกลับเข้าไปซ่อนอยู่ในฝักซึ่งทำ หน้าที่เป็นด้ามมีดอยู่ในตัวได้.
มีดสับหมู : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างหนา ยาวประมาณ ๑ คืบด้ามเป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีดขนาดพอมือกำ ถ้าเป็นแบบที่ใช้ในครัวมักทำสันงอนขึ้น และด้ามทำด้วยไม้.
มีดเสือซ่อนเล็บ : น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียวปลายแหลม ยาวประมาณครึ่งฝ่ามือ ชุดหนึ่งมี ๒ เล่ม ด้ามมีดทำเป็นท่อน สี่เหลี่ยมยาว มีช่องสำหรับสอดใบมีดอีกเล่มหนึ่งสวนเข้าไปเก็บไว้ ได้มิดชิด มีดทั้ง ๒ เล่มเมื่อสอดใบมีดเข้าไปในด้ามของกันและกัน แล้ว แลดูเหมือนไม้สี่เหลี่ยมท่อนสั้น ๆ ใช้พกเป็นอาวุธ.
มีดเหน็บ : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำ เป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือ หวายสาน ไว้ขัดเอว ในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง, มีดอีเหน็บ ก็เรียก.
มีดเหลียน : น. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดแบน ปลายกว้างโคนแคบ สันหนา และโค้งดุ้งขึ้น โคนมีดทำเป็นบ้องหรือกั่นสอดติดกับด้ามไม้ยาว ใช้ถางป่า ตัดอ้อย หรือรานกิ่งไม้เป็นต้น, มีดอีเหลียน ก็เรียก.
มีตระกูล : ว. ที่สืบเชื้อสายมาจากตระกูลสูง เช่น เขาเป็นลูกผู้ดีมีตระกูล.
มีเทน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อย ในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. (อ. methane).
มีน : น. ปลา; ชื่อกลุ่มดาวรูปปลา เรียกว่า ราศีมีน เป็นราศีที่ ๑๑ ในจักรราศี. (ป., ส.).
มึง : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, มักถือกันว่าไม่สุภาพหรือหยาบคาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
มึนซึม : ก. แสดงอาการเชื่อมซึมคล้ายเป็นไข้.
มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
มือขวา : น. ความสันทัด เช่น การรบพุ่งชิงชัยมันเป็นมือขวา ของเขานี่ครับ. (ชิงนาง ร. ๖). ว. ที่ใกล้ชิด, ที่เก่งกล้าสามารถ, ที่ไว้วางใจได้, เช่น สมุนมือขวา.
มือแข็ง : ว. ไม่ค่อยไหว้คนง่าย ๆ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ว่าผู้น้อย); เก่ง เช่น เขาเป็นนักเทนนิสมือแข็ง; เล่นการพนันไม่ค่อยเสีย เช่น เขามือแข็งในการเล่นโป, ตรงข้ามกับ มืออ่อน.
มือดี : ว. มีความชำนาญ, มีความสามารถสูง, เช่น เขาเป็นคน มือดีของกองปราบ.
มือต้น : (ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือทำงานเพียงคร่าว ๆ เป็นคนแรก.
มือถือสาก ปากถือศีล : (สํา) ว. มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลมีธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว.
มือปลาย : (ศิลปะ) น. ผู้ที่ลงมือตกแต่งงานเป็นคนสุดท้าย.
มือมืด : น. ผู้ที่ลอบทําความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเหลือรู้ เหลือเห็นว่าเป็นใคร.
มือรอง : น. ผู้มีความสำคัญเป็นคนที่ ๒ รองจากมือแรก, คนที่ลงมือทำเป็นคนที่ ๒ รองจากมือต้น.
มือสอง : น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนที่ ๒.
มือสาม : น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนที่ ๓.
มือเสือ ๒ : น. ชื่อมันชนิด Dioscorea esculenta Burk. ในวงศ์ Dioscoreaceae หัวเป็นแง่งมีรากติดอยู่โดยรอบ.
มือหนึ่ง : น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนแรก; ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เขาเป็นมือหนึ่ง ทางประวัติศาสตร์.
มืออ่อน : ว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย); มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.
มุก : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Pinctada วงศ์ Pteriidae อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ให้ไข่มุกและมุกซีก เปลือก ใช้ทําเป็นเครื่องประดับได้.
มุขเด็จ : น. มุขโถงที่ยื่นออกมาจากหน้าอาคาร เป็นที่เสด็จออก.
มุขบาฐ, มุขปาฐะ : [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.
มุขย- : [มุกขะยะ-] ว. สําคัญ, เป็นใหญ่. (ส.).
มุขยประโยค : น. ชื่อประโยคในตําราไวยากรณ์ได้แก่ ประโยคที่มี ประโยคอื่นเป็นส่วนขยาย.
มุโขโลกนะ : [-โลกะนะ] ว. เห็นแก่หน้า, เห็นแก่พวก, เช่น เขาเป็นคนมุโขโลกนะ. (ป.).
มุง : ก. เอาวัตถุมีกระเบื้องหรือจากเป็นต้น ขึ้นปิดส่วนบนของเรือนหรือหลังคา เพื่อกันแดดกันฝน เช่น เอากระเบื้องมุงหลังคา; รุมกันเข้าไปดูอย่างไม่มี ระเบียบ เช่น มีคนมุงดูคนเป็นลมเต็มไปหมด.
มุ้งประทุน : น. มุ้งรูปโค้งคล้ายประทุน มีโครงเป็นลวดเหล็ก หุบเก็บและกางได้.
มุ่งมาด : ก. ปรารถนา, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มุ่งมาดปรารถนา.
มุทิตา : น. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
มุทุ : ว. อ่อน. (ป.). มุทุตา น. ความเป็นผู้มีใจอ่อน, ความอ่อนหวาน, ความละมุนละม่อม. (ป.).
มุ่น : ก. ขมวด (ใช้แก่มวยผม) เช่น มุ่นมวยผม มุ่นพระเมาลี; กังวลอยู่; (กลอน) เกลี้ยงเกลา, อ่อนนุ่ม. น. เรียกเงินแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเงินเนื้อดีว่า เงินมุ่น.
มุหงิด : [-หฺงิด] น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี.
มุหน่าย : น. นํ้ามันตานี หรือนํ้ามันเหนียว เป็นเครื่องหอมสําหรับใส่ผม, นํ้ามันตานีที่ผสมกับเขม่าและปูน, นํ้ามันหอมเป็นเครื่องเจิม.
มูน ๑ : น. เนิน, โคก, จอม, เช่น มูนดิน. ก. พอกพูน, พูนขึ้น, มักใช้ว่า เกิดมูนพูนผล. ว. มาก, มักใช้เข้าคู่กันเป็น มากมูน.
มูนดิน : น. เนินดิน. ก. พูนให้เป็นเนินเป็นโคก เช่น มูนดินขึ้นกันน้ำท่วม.
มูล ๑, มูล- : [มูน, มูนละ-] น. โคน เช่น รุกขมูล; ราก, รากเหง้า, เช่น มีโทสะเป็นมูล, เค้า เช่น คดีมีมูล, ต้น เช่น ชั้นมูล. (ป. มูล; ส. มูลฺย).
มูล ๔, มูละ, มูลา ๑ : [มูน] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๙ มี ๙ ดวง เห็นเป็นรูปสะดือนาค, ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว ก็เรียก.
มูลโค : น. อุจจาระเหลว แต่ไม่เหลวถึงเป็นนํ้า, มักพูดว่า มลโค.