มู่ลี่ : น. เครื่องบังประตูหน้าต่างเป็นทํานองม่าน ทําด้วยซี่ไม้เล็ก ๆ ถักด้วยเชือก เป็นช่องโปร่ง มีรอกและเชือกสำหรับชักให้ม้วนและคลี่ได้.
มูสิกทันต์ : น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ '' สำหรับเขียนบนสระ ิ ให้เป็นสระ ื, ฟันหนู ก็ว่า.
เม็ก : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum ในวงศ์ Myrtaceae ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบหนา ใบอ่อนสีชมพูอมแดง กินเป็นผักได้ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ.
เมฆฉาย : [เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรม ด้วยมนตร์เชื่อกันว่าจะทําให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่า คนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.
เมฆพัด : [เมกคะ-] น. ชื่อโลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วย กํามะถัน มีสีดําเป็นมัน แววเป็นสีคราม, เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ชนิดนี้ว่าพระเมฆพัด หรือ พระเนื้อเมฆพัด.
เม็ง : น. ชื่อชนชาติโบราณอยู่ทางเหนือแหลมอินโดจีน นัยว่าเป็นบรรพบุรุษของมอญ.
เม็ด ๑ : น. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็น ก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมี ยอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุก ที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.
เม็ดมะยม : น. ปุ่มสําหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.
เมตตา : น. ความรักและเอ็นดู, ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข, เป็นข้อ ๑ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
เมตริก : [เมดตฺริก] น. ระบบการใช้หน่วยสําหรับวัดปริมาณต่าง ๆ โดยกําหนดใช้ กรัมเป็นหน่วยของมวลสาร ใช้เซนติเมตร เป็นหน่วยของระยะห่าง และใช้วินาทีเป็นหน่วยของเวลา. (อ. metric).
เมถุน ๒ : น. คนคู่; ชื่อกลุ่มดาวรูปคนคู่ เรียกว่า ราศีเมถุน เป็นราศีที่ ๒ ในจักรราศี.
เมทิลแอลกอฮอล์ : น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3OH ลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีขีดเดือด ๖๔.๖?ซ. จุดไฟติด เป็นพิษ เมื่อดื่มเข้าไปจะทําให้ตาบอดได้ ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย เชื้อเพลิง และใช้สังเคราะห์สารเคมีบางอย่าง เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์, เมทานอล ก็เรียก. (อ. methyl alcohol).
เมธ : [เมด] น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. (ป., ส.).
เมนเดลีเวียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๑ สัญลักษณ์ Md เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. mendelevium).
เมนทอล : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C10H20O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๔๒?ซ. มีกลิ่นหอมเย็น มีอยู่ในนํ้ามันหอมระเหยที่ได้จาก พืชบางชนิด เช่น นํ้ามันมินต์ซึ่งสกัดจากใบมินต์ ใช้ประโยชน์ในทางยา ปรุงกลิ่นและปรุงรส. (อ. menthol).
เมริเดียน : (ภูมิ) น. ขอบของครึ่งวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือและขั้วใต้ของโลก ใช้เป็นเครื่องกำหนดแนวเหนือ-ใต้ของโลกซึ่งเรียกว่า เหนือจริง ใต้จริง หรือเหนือภูมิศาสตร์ใต้ภูมิศาสตร์ ตำแหน่งเส้นเมริเดียนบนผิวโลก แต่ละเส้นกำหนดได้ด้วยค่าลองจิจูดของเมริเดียนนั้น.
เมริเดียนแรก : (ภูมิ) น. เมริเดียนที่ลากผ่านหอตรวจดาว เมืองกรีนิช เป็นเมริเดียนที่ใช้กำหนดเวลามาตรฐานกรีนิชและใช้เป็นเมริเดียนแรก หรือเมริเดียน ๐ องศาเพื่อกำหนดเมริเดียนอื่น ๆ โดยใช้วัดจากเมริเดียนกรีนิช เป็นหลัก.
เมรุ, เมรุ- : [เมน, เม-รุ-] น. ชื่อภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งพระอินทร์อยู่; ที่เผาศพ เดิมผูกหุ่นทำเป็นภูเขาตั้งที่เผาขึ้นบนนั้น ของหลวงทำเป็นเรือนโถง เครื่องยอดหรือมณฑปครอบที่เผา เรียกว่า พระเมรุ, ต่อมาเรียกที่เผาศพทั่วไปทั้งมียอดและไม่มียอดว่า เมรุ. (ป.).
เมษ : [เมด] น. แกะ; ชื่อกลุ่มดาวรูปแกะ เรียกว่า ราศีเมษ เป็นราศีที่ ๐ ในจักรราศี. (ส.).
เม้า : (โบ) น. ปีเถาะ, เขียนเป็น เหมา ก็มี เช่น ปีโถะหนไทกดดเหมา. (จารึกสยาม).
เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
เมาลี : น. จอม, ยอด, ผมจุก, เขียนเป็น เมาฬี ก็มี. (ส.; ป. โมลิ).
เมีย : น. ภรรยา, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ ผัว. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า ตัวเมีย เช่น ไก่เมีย ม้าเมีย.
เมี่ยงลาว : น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วย หมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตามและเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียว กระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด.
เมียหลวง : น. เมียที่ยกย่องว่าเป็นใหญ่.
เมือก : น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นเลือก ๆ คือ เหนียว ๆ ลื่น ๆ อย่างเมือกปลา.
เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
เมืองขึ้น : น. เมืองที่เป็นข้าขอบขัณฑสีมา, ประเทศที่อยู่ในปกครองของประเทศอื่น.
เมืองท่า : น. เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมทะเลหรือแม่น้ำซึ่งใช้เป็นที่ให้ความสะดวกต่าง ๆ ในการขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารขึ้นหรือลงเรือเดินทะเล; (กฎ) ทําเลหรือถิ่นที่ จอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ.
เมืองลับแล : น. เมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจ ไปไม่พบ, บางทีก็เรียกว่า เมืองแม่ม่าย เพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมืองนี้ ล้วนเป็นแม่ม่ายทั้งสิ้น.
เมืองหลวง : น. เมืองเป็นที่ตั้งรัฐบาล.
เมื่อใด, เมื่อไร, เมื่อไหร่ : คำที่ใช้ถามเกี่ยวกับเวลา จะเป็นอดีตหรืออนาคตก็ได้ เช่น เมื่อไรเขาจะมา.
เมื่อนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่เป็นตัวเจ้าหรือ เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
เมื่อย : ก. อาการเพลียของกล้ามเนื้อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น เดินอยู่นานจนเมื่อย เมื่อยมือเพราะเขียนหนังสือนาน.
แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
แมกนีเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๒ สัญลักษณ์ Mg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๖๕๐?ซ. เมื่อจุดให้ติดไฟในอากาศจะได้เปลวสีขาว สว่างจัด ใช้ประโยชน์ในการถ่ายรูป ทําระเบิดเพลิง นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะ เจือชนิดนํ้าหนักเบา เป็นต้น. (อ. magnesium).
แม่กอง : น. ผู้เป็นนายกอง, หัวหน้างาน, เช่น แม่กองทำปราสาทพระเทพบิดร แม่กองทำประตูประดับมุก.
แมง : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง มักเรียกสับกับคําว่า แมลง.
แมงกะพรุน : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
แมงกานีส : น. ธาตุลําดับที่ ๒๕ สัญลักษณ์ Mn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน แข็งแต่เปราะ หลอมละลายที่ ๑๒๔๕ ?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่น ให้เป็นโลหะเจือ. (อ. manganese).
แมงดา : น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (Tachypleus gigas) ความยาวลําตัว ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ (Carcinoscorpius rotundicauda) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
แม่งาน : น. หัวหน้าผู้รับผิดชอบในงานบางอย่าง เช่น เขาเป็นแม่งาน ในการจัดเลี้ยงแขกที่มาในงาน.
แม่เจ้า : ส. คําเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. แม่เจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณ ยังไม่กลับบ้านเลย.
แม่ซื้อ : น. เทวดาหรือผีที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ดูแลรักษาทารก, แม่วี ก็เรียก.
แม่ท่า : น. แม่บท ท่าที่เป็นหลักของการรำ.
แม่น้ำ : น. ลํานํ้าใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลําธารทั้งปวง.
แม่บท : น. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรํา, แม่ท่า ก็เรียก.
แม่แปรก : [-ปะแหฺรก] น. ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง, (ราชา) แม่หนัก; หญิงสาวแก่ที่จัดจ้านซึ่งเป็นหัวหน้าของหญิงสาวในหมู่.
แม่พระ : น. คำเรียกพระมารดาของพระเยซู; เรียกผู้หญิงที่มีจิตใจเมตตาปรานี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ.
แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.