Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสมาชิก, สมาชิก, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นสมาชิก, สมาชก, สมาชิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นสมาชิก, 8091 found, display 5451-5500
  1. ไม้ซาง : น. ไม้ไผ่ลำเล็ก ๆ เนื้อบาง ลำปล้องโต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๕-๑ เซนติเมตร มีช่วงลำปล้องยาวประมาณ ๗๐-๙๐ เซนติเมตร ใช้ทำเป็น ลำกล้องเป่าลูกดอกหรือลูกดินเหนียวปั้นกลมเป็นต้น.
  2. ไม้ซุง : น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ตัดเป็นท่อน ๆ ก่อนแปรรูป.
  3. ไม้ดัด : น. พรรณไม้ใหญ่ นิยมปลูกในกระถางและดัดกิ่งให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ.
  4. ไม้เด็ด, ไม้ตาย : น. ท่าสําคัญในการต่อสู้กระบี่กระบองหรือมวยซึ่งทําให้ฝ่ายปรปักษ์ ไม่สามารถจะสู้ได้อีก, ตรงข้ามกับ ไม้เป็น, โดยปริยายหมายถึงวิธีการที่จะเอาชนะ ศัตรูได้ เช่น เขาใช้ไม้ตาย เขามีไม้ตาย.
  5. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว : ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้.
  6. ไม่ได้ศัพท์ : (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง).
  7. ไมตรี : [-ตฺรี] น. ความเป็นเพื่อน, ความหวังดีต่อกัน. (ส.; ป. เมตฺติ).
  8. ไม้ตับ : น. ไม้สำหรับหนีบปลาปิ้งไฟ ทำด้วยไม้ไผ่; ไม้ที่ใช้เป็นแกนสอดในเวลา กรองจากแฝก หรือ คา เรียกว่า ไม้ตับจาก ไม้ตับแฝก.
  9. ไม้ตายขาน : น. ไม้ที่ยืนต้นตายเองเป็นแถว ๆ.
  10. ไม้ติ้ว : น. ไม้ซี่เล็ก ๆ ใช้สำหรับเป็นคะแนน เช่น ปักติ้ว นับติ้ว สำหรับเสี่ยงทาย แล้วนำไปขึ้นใบเซียมซี เช่น สั่นติ้ว.
  11. ไม้ท่อน : น. ไม้ที่ตัดเป็นท่อน ๆ.
  12. ไม้บรรทัด : น. อุปกรณ์การเขียนชนิดหนึ่งทําด้วยไม้เป็นต้น สําหรับทาบเป็นแนว เพื่อขีดเส้นให้ตรง, (ปาก) เรียกสั้น ๆ ว่า บรรทัด.
  13. ไม้เบื่อไม้เมา : ว. ไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกันเป็นประจำ.
  14. ไม้ป่าค่อม : น. ไม้ดัดแบบหนึ่ง ต้นเตี้ย มีกิ่งรอบต้นเป็นพุ่มกลม.
  15. ไม้แปรรูป : น. ไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทำเป็นแผ่นกระดานเป็นต้น.
  16. ไม้พุ่ม : น. ต้นไม้ที่มีกิ่งก้านรวมกันเป็นรูปคล้ายกระพุ่มมือ.
  17. ไม้มอบ : น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อย หรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบ ด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน.
  18. ไม่มีเงาหัว : (สำ) ก. เป็นลางว่าจะตายร้าย.
  19. ไม่มีวันเสียละ : (ปาก) ว. ไม่มีทางจะเป็นไปได้.
  20. ไม้ยาว : น. ไม้พลองเป็นเครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่น กระบี่กระบอง, คู่กับ ไม้สั้น. (ดู ไม้สั้น).
  21. ไม่แยแส : ก. ไม่เป็นธุระ, ไม่เกี่ยวข้อง. ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว.
  22. ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน : (สํา) ก. ไม่รู้ความเป็นมาหรือพื้นเพ.
  23. ไม่รู้ไม่ชี้ : ว. ไม่รับรู้, ไม่รับผิดชอบ, เช่น ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้.
  24. ไม้สั้น : น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมี ไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้, ตรงข้าม กับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น.
  25. ไม้สั้นไม้ยาว : น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จํานวนเท่าคนที่จะจับ กําปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้.
  26. ไม้สีฟัน : น. ไม้ที่ทุบปลายแล้วใช้สีฟันแทนแปรงสีฟัน โดยมากจะเป็นกิ่งข่อย หรือกิ่งไม้สีฟันคนทา.
  27. ไม้สูง : น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง; เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยม ฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.
  28. ไม้หมุน : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งทําเป็นไม้แป้นกลม ๆ เขียนแบ่งเป็นช่อง มีเข็มชี้วางตามแบน ใช้หมุน เมื่อเข็มชี้ไปหยุดตรงช่องที่แทง ก็ถูก; เรียก ไม้กลม ๆ สําหรับปาดปากสัดข้าวว่า ไม้หมุน.
  29. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  30. ไม้หึ่ง : น. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้อง วิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.
  31. ไม้เหลี่ยม : น. ไม้ท่อนที่เลื่อยด้านข้างออกทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปสี่เหลี่ยม.
  32. : พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เป็นพวกอักษรตํ่า เป็นได้ทั้งตัวต้นและตัวสะกดใน แม่เกย.
  33. ยก ๑ : ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหม ชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
  34. ยกกระเปาะ : ก. ยกขอบขึ้นเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก เพื่อใช้ฝังเพชร พลอยในงานโลหะรูปพรรณ.
  35. ยกกลีบ : ก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตาม แนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น.
  36. ยกครู : ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  37. ยกนิ้ว : (ปาก) ก. ยอมให้เป็นเยี่ยม.
  38. ยกบัตร : [ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรง กับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี.
  39. ยกฟ้อง : (กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคําฟ้อง ของโจทก์.
  40. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  41. ยกยอปอปั้น : (ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขา ไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง.
  42. ยกเว้น : ก. ไม่เกี่ยวด้วย, กันเอาออก, ยอมให้เป็นพิเศษ. บ. นอกจาก, เว้นแต่, เว้นเสียแต่.
  43. ยกหยิบ : (กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).
  44. ยกเหลี่ยม : ก. ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยม อกเลาของบานประตู.
  45. ยง ๑ : ว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง.
  46. ยงโย่ : ก. กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็น ระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก.
  47. ยชุรเวท : [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่า แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  48. ยติ ๒ : น. การหยุดเป็นจังหวะตามกําหนดในการอ่านฉันท์. (ป., ส.).
  49. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  50. ยถากรรม : [ยะถากํา] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | [5451-5500] | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8091

(0.2511 sec)