Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสมาชิก, สมาชิก, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นสมาชิก, สมาชก, สมาชิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นสมาชิก, 8091 found, display 5651-5700
  1. โยน ๒ : น. เรียกขวานชนิดที่หัวเป็นบ้อง บิดเปลี่ยนทางเพื่อใช้ในการตัดหรือ ถากได้ ว่า ขวานโยน, ขวานปุลู หรือ ขวานปูลู ก็เรียก.
  2. โยพนมัท : [โยบพะนะมัด] น. ความมัวเมาในความเป็นคนหนุ่มสาว, ความพลาดพลั้งเพราะความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพนมท).
  3. โยพนะ : [โยบพะนะ] น. ความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพน).
  4. โยม : น. คําที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราว เดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคํา ใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร; เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของ พระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดย เจาะจงว่า โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณร ในวัดว่า โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.
  5. ใย : น. สิ่งที่เป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ๆ เช่น ใยบัว ใยแมงมุม. ว. นวลบาง, บาง ๆ, ละเอียดอ่อน เช่น นวลใย.
  6. ใยฟ้า : น. สิ่งที่เป็นเส้นละเอียดอ่อนอย่างใยแมงมุมที่ลอยอยู่ในอากาศ.
  7. ใยหิน : น. แร่ประเภทซิลิเกต โดยมากเป็นแคลเซียมและแมกนีเซียม ซิลิเกต ลักษณะเป็นเส้นใย ทนไฟ ใช้ประโยชน์นําไปทําวัสดุทนไฟ และฉนวนความร้อน.
  8. ไยไย, ไย่ไย่ : ว. เป็นแถวเป็นแนว.
  9. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  10. รก ๑ : ว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้ง กระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารําคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตา รกหู รกสมอง.
  11. รก ๒ : น. เครื่องสําหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูก มีสายล่ามมาที่ สะดือเด็ก; สิ่งที่เป็นเส้นคล้ายรากไม้ที่ห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บางอย่างเช่น มะดัน เรียกว่า รกมะดัน, บางทีเป็นแผ่นห่อกาบไม้เช่นต้นมะพร้าว เรียกว่า รกมะพร้าว.
  12. รดน้ำ : น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือ ทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า. ก. หลั่งนํ้าในพิธีต่าง ๆ เช่น รดน้ำบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน รดน้ำขอพร ผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์.
  13. รถกระบะ : น. รถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทำตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ.
  14. รถคฤห : [รดคฺรึ] น. รถที่มีหลังคาทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น บางทีก็เป็น จตุรมุข สำหรับชักศพเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าลงมา มีม้าลาก.
  15. รถเจ๊ก : (ปาก) น. รถลากสำหรับให้ผู้โดยสารนั่ง มีล้อขนาดใหญ่ ๒ ล้อ มีคนจีนเป็นผู้ลาก.
  16. รถโดยสารประจำทาง : (กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่ กําหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็น ระยะทางหรือตลอดทาง.
  17. รถตีนตะขาบ : น. รถชนิดหนึ่งซึ่งมีสายพานหุ้มล้อ สามารถขับเคลื่อนไป ในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนาป่าเขาได้ดีกว่ารถที่ใช้ล้อธรรมดา.
  18. รถบุปผชาติ : น. รถที่ใช้ดอกไม้สดประดับให้เป็นรูปต่าง ๆ.
  19. รถประจำทาง : น. รถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ.
  20. รถพระที่นั่ง : น. รถยนต์ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรม ราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้นทรง เรียกเต็มว่า รถยนต์ พระที่นั่ง, ถ้าเป็นรถม้า เรียกว่า รถม้าพระที่นั่ง.
  21. รถพระที่นั่งรอง : น. รถยนต์ที่เตรียมสำรองไว้ใช้แทนรถพระที่นั่งใน กระบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นทางการ.
  22. รถไฟ : น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาว ขับเคลื่อนโดยมีหัวรถจักรลากให้ แล่นไปตามรางเหล็ก.
  23. รถไฟฟ้า : (กฎ) น. รถที่พ่วงกันเป็นขบวนยาวโดยขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แล่นไปตามราง.
  24. รถวิทยุ : น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการ ทราบเป็นระยะ ๆ.
  25. รถสปอร์ต : น. รถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องยนต์มีแรงขับเคลื่อนสูง มักเป็น รถตอนเดียว.
  26. รถส่วนบุคคล : น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
  27. รถสองแถว : น. รถรับจ้างที่มีที่นั่งไปตามความยาวของรถเป็น ๒ แถว.
  28. รถานึก : น. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป., ส. รถานีก).
  29. ร่มชูชีพ : น. เครื่องพยุงตัวเมื่อโดดจากที่สูง ตามปรกติกางแล้วรูปคล้าย ร่ม แต่ในปัจจุบันเมื่อกางแล้วมีลักษณะคล้ายกาบกล้วยเป็นลอน ๆ ตามขวางก็มี.
  30. ร่มโพธิ์ร่มไทร : (สำ) น. ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ, เช่น พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก.
  31. รวก : น. ชื่อไผ่ชนิด Thyrsostachys siamensis Gamble ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลําเล็กยาวเรียว ไม่มีหนาม.
  32. รวง ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น ลวง ก็มี.
  33. รวงผึ้ง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Schoutenia glomerata King subsp. paregrina (Craib) Roekm. et Martono ในวงศ์ Tiliaceae ใบออกเรียงสลับกัน ด้าน ล่างสีขาว ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ปลูกเป็นไม้ประดับ, นํ้าผึ้ง หรือ ดอกนํ้าผึ้ง ก็เรียก.
  34. รวน : ก. เอาเนื้อสดหรือปลาสดเป็นต้นที่หั่นเป็นชิ้นแล้วคั่วให้พอสุกเพื่อเก็บ เอาไว้แกงเป็นต้น; แสดงกิริยาหรือวาจาชวนวิวาท เช่น เขาถูกรวน, ตีรวน ก็ว่า. ว. ไม่ตรง, โย้, เช่น ฟันรวน; เบียดดันกันไปมา เช่น แถวรวน.
  35. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  36. รวบ : ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า หาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา; (ปาก) จับ เช่น ขโมยถูกตำรวจรวบ.
  37. รวบยอด : ก. (บัญชี) รวมยอดเงินครั้งสุดท้าย; (ปาก) รวมหลาย ๆ ครั้ง เป็นคราวเดียวในครั้งหลังสุด เช่น กินรวบยอด.
  38. ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
  39. ร่วมประเวณี : ก. เสพสังวาส, เป็นผัวเมียกัน.
  40. ร่วมวงศ์ไพบูลย์ : ก. ร่วมเป็นพวกเดียวกัน เช่น ร่วมวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชีย บูรพา; (ปาก) ร่วมทำด้วย.
  41. ร่วมสมัย : ว. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย; รุ่นราวคราวเดียวกัน, สมัยเดียวกัน, เช่น ลุงกับพ่อเป็นคนร่วมสมัยกัน.
  42. รสสุคนธ์ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetracera loureiri Pierre ในวงศ์ Dilleniaceae ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอม, เสาวคนธ์ ก็เรียก.
  43. รอก : น. เครื่องผ่อนแรงรูปคล้ายล้อ มีแกนหมุนได้รอบตัว ที่ขอบเป็นร่อง สําหรับให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเดินได้สะดวก ใช้สําหรับยก ลาก หรือดึงของหนักให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น.
  44. ร่อง : น. รอยลึกเป็นช่องทางไปตามยาว, สันดินระหว่างท้องร่องสําหรับเพาะ ปลูก เช่น ร่องผัก ร่องมัน.
  45. ร้อง : ก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คํา แวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.
  46. รอง ๑ : ก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุน ให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตําแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตําแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.
  47. ร้องขอ : ก. ขอเป็นทางการ.
  48. รองเง็ง : น. ศิลปะการแสดงแบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นการเต้นรําคู่ ชายหญิง และร้องเพลงคลอไปด้วย. (เทียบ ม. ronggeng).
  49. รองจ่าย : (ปาก) ก. ทดรองจ่ายเป็นค่าใช้สอยปลีกย่อย, เรียกเงินที่ใช้เช่น นั้นว่า เงินรองจ่าย.
  50. รองช้ำ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า มีนํ้าใส ๆ อยู่ระหว่าง หนังชั้นนอกกับเนื้อ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | [5651-5700] | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8091

(0.2752 sec)