ระวังไพร, ระวังวัน : น. ชื่อนกในวงศ์ Timaliidae ตัวสีนํ้าตาล ปากแหลมโค้ง คอ อก และ ท้องสีขาว หางยาว มักหากินเป็นฝูงและส่งเสียงตลอดเวลา กินแมลง ตามพื้นดินและพุ่มไม้ มีหลายชนิด เช่น ระวังไพรปากเหลือง (Pomatorhinus schisticeps) ระวังไพรปากยาว (P. hypoleucos), ตระเวนไพร หรือ ตระเวนวัน ก็เรียก.
ระวิง ๑ : น. เครื่องสําหรับเอาเข็ดด้ายหรือไหมสวม เพื่อกระจายเส้นด้ายออก จากกัน เมื่อเวลาสาวเส้นด้ายจะได้ออกเป็นเส้น ๆ ไม่ขาด ไม่ยุ่ง. (รูปภาพ ระวิง)
ระวิง ๒ : น. เครื่องคล้องโคนหางช้าง ทำด้วยโลหะรูปโค้ง ปลายทั้ง ๒ ข้างงอ เป็นขอและติดห่วงไว้สำหรับคล้องกระวินต่อกับปลายสายสำอาง.
ระสาย : ว. เป็นสาย, เป็นเส้น.
ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
ระหัด : น. เครื่องวิดนํ้าอย่างหนึ่งเป็นราง ใช้ถีบด้วยเท้าหรือฉุดด้วยเครื่องจักร เป็นต้น.
ระหุย : ก. ร่วงพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นจํานวนมาก.
ระเหย : ก. อาการที่ของเหลวกลายเป็นไอ.
ระเหระหน, ระเหหน : ว. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, ไม่เป็นที่เป็นทาง, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ.
ระเหิด : ก. พ้น เช่น ระเหิดจากบาป; (วิทยา) อาการที่ของแข็งกลายเป็นไอ เช่น การบูรระเหิด ลูกเหม็นระเหิด. ว. สูงตระหง่าน, ระเหิดระหง ก็ว่า.
ระแหง : น. รอยแยกขนาดแคบ ๆ ของแผ่นดินเป็นต้นที่แยกออกจากกัน เช่น ดินเป็นระแหง แตกระแหง.
รัก ๑ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Calotropis gigantea (L.) Aiton f. ในวงศ์ Asclepiadaceae ดอกใช้ร้อยกรอง มี ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกลา และ พันธุ์ดอกซ้อน ยางเป็นพิษ. (เทียบ ส. อรฺก; ป. อกฺก). (๒) ชื่อไม้ต้น ชนิด Gluta usitata (Wallich) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยาง เป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก. (เทียบ ส. ลากฺษ).
รักแก้ว : น. น้ำรักผสมสมุกและขี้ผึ้ง เคี่ยวให้งวดจนจับเป็นก้อนเพื่อ นำไปปั้นหรือกดลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ.
รักขิต : ก. ระวัง, ดูแล, รักษา, (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส) เช่น พุทธรักขิต ญาณรักขิต. (ป.).
รักตีลาย : น. น้ำรักผสมสมุก เคี่ยวให้งวดจนจับเป็นก้อน เพื่อนำไปกด ลงในแม่พิมพ์ทำเป็นลวดลายต่าง ๆ.
รักบี้ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่ง ผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คน ก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่ได้คะแนน มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะ กลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ว่า ลูกรักบี้. (อ. rugby football).
รักยม : น. ของขลังอย่างหนึ่ง เป็นรูปตุ๊กตาเด็กเล็ก ๒ ตัว ทําด้วยไม้รัก ดอกและไม้มะยมเชื่อว่าทําให้เกิดเมตตามหานิยม.
รักร้อย : น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ผูกเป็นลายกระจังตาอ้อยเรียงซ้อนเนื่องกัน ไปเป็นแถวยาว, เรียกสร้อยอ่อนประดับข้อมือ ทําด้วยทองลงยา มักผูก เป็นลายกระจังตาอ้อย บางทีก็ประดับพลอยด้วย ว่า สร้อยรักร้อย.
รักแร้ : น. ส่วนร่างกายที่อยู่ใต้โคนแขนเหนือสีข้างขึ้นไป; เรียกส่วนของสิ่ง ก่อสร้างตอนที่ผนังกับผนังจดกันเป็นมุมฉากทั้งด้านในและด้านนอก เช่น รักแร้ปราสาท รักแร้กําแพงแก้ว รักแร้โบสถ์.
รักษาตัว : ก. ระวังตัวไม่ให้เป็นอันตราย, รักษาเนื้อรักษาตัว ก็ว่า.
รัง ๒ : น. สิ่งซึ่งสัตว์พวกนก หนู และแมลงเป็นต้นทําขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย กําบังและฟักไข่เลี้ยงลูก,โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น รังโจร รังรัก.
รังกา : น. ที่สําหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์บนยอดเสากระโดงเรือ มักทําเป็นแป้นกลมมีรั้วล้อมรอบ.
รังเกียจรังงอน : ก. ตั้งแง่ตั้งงอนทำเป็นรังเกียจเพราะไม่ชอบใจ.
รังไข่ : น. อวัยวะภายในร่างกายของผู้หญิงและสัตว์ตัวเมีย เป็นที่เกิดไข่.
รังแค : น. ขุยหนังหัว มีลักษณะเป็นผง ๆ สีขาว, ขี้รังแค หรือ ขี้ลม ก็ว่า.
รังงอบ : น. ส่วนของงอบตรงที่สวมหัว สานเป็นตาโปร่ง ๆ ด้วยไม้ไผ่ ที่ซอยเป็นเส้นกลมเล็ก ๆ.
รังแต่ : สัน. มีแต่, ล้วนแต่, เป็นที่, (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น รังแต่คนจะนินทา รังแต่เขาจะหัวเราะเยาะ.
รังแตน ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายนางเล็ดแต่ไม่โรยนํ้าตาลเคี่ยว ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลม ตากแห้ง ทอดนํ้ามันให้พอง มีรสเค็ม ๆ หวาน ๆ, ข้าวแตน ก็เรียก.
รังนก ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้มันเทศหรือเผือกหั่นเป็นเส้นฝอย ๆ ทอดสุกแล้วคลุกนํ้าตาลเคี่ยว จัดเป็นกอง ๆ ให้คล้ายรังนก.
รังปืนกล : น. ที่ซุ่มกำบังดักยิงข้าศึกทำเป็นมูนดินหรือทำด้วยกระสอบ ทรายเป็นต้น มีช่องสำหรับสอดปืนกลออกไป.
รังผึ้ง : น. รังที่ผึ้งทําสําหรับอยู่อาศัยและทํานํ้าผึ้ง, รังที่คนทําให้ผึ้งอาศัย ทํารวงข้างใน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; เครื่องสําหรับระบาย ความร้อนของหม้อนํ้ารถยนต์ มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง; ดินเผาหรือเหล็ก เป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตก ลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น, ตะกรับ ก็ว่า.
รังเพลิง : น. ส่วนท้ายของลํากล้องปืนเป็นที่บรรจุลูกปืนในตําแหน่ง พร้อมที่จะจุดชนวน.
รังแรก : ว. แรกตั้ง, ก่อน, แรกเริ่ม, เป็นเอก.
รังสีคอสมิก : น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงยิ่ง มีช่วงคลื่นสั้น ยิ่งกว่ารังสีแกมมามากองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตอนประมาณ ร้อยละ ๙๐ และพบอิเล็กตรอน อนุภาคแอลฟาด้วยเกิดมาจากอวกาศ นอกโลกพุ่งมาสู่โลก ยังไม่ทราบแหล่งกําเนิดแน่นอน. (อ. cosmic rays).
รังสีเหนือม่วง : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๔ x ๑๐๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐๙ เมตร แสงแดด มีรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7dehydrocholesterol) ในผิวหนังมนุษย์ให้กลายเป็นวิตามินดี, รังสี อัลตราไวโอเลต ก็เรียก.
รัช ๒, รัช : [รัดชะ] น. ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).
รัชชูปการ : น. เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.
รัฐธรรมนูญ : [รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐ เดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
รัฐพิธี : น. งานที่จัดขึ้นโดยรัฐเป็นธรรมเนียม เช่น รัฐพิธีพืชมงคล.
รัฐวิสาหกิจ : [รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด] น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุน หรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐ เป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวม อยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐.
รัดประคด : น. ผ้าที่ใช้รัดอกหรือสายที่ถักด้วยด้ายเป็นต้นสําหรับรัดเอว ของภิกษุสามเณร, เรียกสั้น ๆ ว่า ประคด, ถ้าใช้รัดอก เรียกว่า ประคดอก, ถ้าใช้รัดเอว เรียกว่า ประคดเอว.
รัดประคน : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัว ถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กู บมิให้โยกเลื่อน.
รัดรูป : ว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทําให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูปซึ่งทําให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.
รัตนชาติ : น. รัตนะ, พวกรัตนะ คือ แก้วที่มีค่า เช่น เพชร ทับทิม มรกต, หินหรือแร่ที่มีค่า เมื่อเจียระไนแล้วจะต้องมีลักษณะสวยงามคงทน หายาก ราคาแพง และนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้.
รัตน, รัตน์, รัตนะ : [รัดตะนะ, รัด, รัดตะ] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะนางแก้ว ๖. คหปติรัตนะขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุด ของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).
รัตนาภรณ์ : น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทาน แก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์.
รัตมา : [รัดตะ] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Parkinsonia aculeata L. ในวงศ์ Leguminosae กิ่งห้อยย้อยมีหนามแหลม ใบเล็กมาก ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ.
รัทเทอร์ฟอร์เดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหภาพโซเวียตเรียกชื่อธาตุนี้ว่า เคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku. (อ. rutherfordium).
รับเคราะห์ : ก. รับเอาเคราะห์ร้ายของผู้อื่นมาเป็นของตนจะโดยเต็มใจ หรือไม่ก็ตาม เช่น ลูกน้องรับเคราะห์แทนเจ้านาย.
รับใช้ชาติ, รับใช้ประเทศชาติ : ก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะ เป็นพลเมืองของประเทศ.