Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสมาชิก, สมาชิก, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นสมาชิก, สมาชก, สมาชิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นสมาชิก, 8091 found, display 5951-6000
  1. เรือกราบ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลม และเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลองเรือแซง หรือเรือกันได้.
  2. เรือกลไฟ : น. เรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในทะเลหรือมหาสมุทร.
  3. เรือกัญญา : น. เรือหลวงที่จัดตั้งเก๋งประกอบหลังคาทรงกัญญา ใช้เป็น เรือประทับแรม หรือเรือพระประเทียบ.
  4. เรือกัน : น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ.
  5. เรือโกลน : [–โกฺลน] น. เรือที่ทำจากซุง เพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้าย เป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด.
  6. เรือขุด : น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้ เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือให้เรียวเชิดขึ้น ตามส่วน เช่น เรือมาด เรือชะล่า เรือพายม้า.
  7. เรือโขมดยา : น. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้าง เพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับ คนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนิน พยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวน พยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้.
  8. เรือคอร์เวต : น. เรือรบที่มีระวางขับน้ำประมาณ ๖๕๐–๑,๕๐๐ ตัน มี หน้าที่หลักเป็นเรือเร็วคุ้มกันและปราบเรือดำน้ำ.
  9. เรือฉลอม : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้.
  10. เรือแซ : น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่ เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และ เสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้.
  11. เรือดไม้ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑–๒ มิลลิเมตร ลําตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางและมักใส เวลาหุบปีก ปีกจะคลุมตัวคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือ ในบ้าน คือ ชนิด Psocatropos microps ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก.
  12. เรือดั้ง : น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้.
  13. เรือต่อ : น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัย กงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตาม ส่วน เช่น เรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ.
  14. เรือตังเก : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อน มาทางหัวเรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่ สำหรับผู้ควบคุมเรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้น กลมสำหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่ สำหรับโรยอวนและด้านหัวเรือมีที่สำหรับกว้านอวน.
  15. เรือเท้ง : น. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็น ปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลมและมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่ เจาะรูสมอ; เรือต่อชนิดหนึ่งหัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุนเรือนแพ.
  16. เรือธง : น. เรือที่ผู้บัญชาการกองเรือ ซึ่งมียศตั้งแต่พลเรือตรีขึ้นไปใช้เป็น ที่บังคับบัญชากองเรือ ชักธงตามยศของผู้บัญชาการนั้นไว้บนยอดเสาสูง สุดเพื่อให้เรือลำอื่นในกองเดียวกันสังเกตเห็นได้ชัดเจน.
  17. เรือน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สําหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จํานวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนาม ใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งนาฬิกา ๒ เรือน.
  18. เรื้อน : น. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขี้เรื้อน กุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตาม บริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทําให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.
  19. เรือนเบี้ย : น. เรียกทาสที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงินว่า ทาสเรือนเบี้ย.
  20. เรือนยอด : น. อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบ มณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอด เจดีย์ (ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา).
  21. เรือโบต : น. เรือเล็กเป็นส่วนอุปกรณ์ของเรือเดินทะเลขนาดใหญ่.
  22. เรือใบ : น. เรือต่อชนิดหนึ่งที่แล่นด้วยกำลังลมโดยมีเสากระโดงสำหรับ ขึงผ้าใบเพื่อรับลม ถ้าใช้เดินทะเลเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า จะเป็นเรือขนาดใหญ่ ถ้าใช้เพื่อการกีฬาจะเป็นเรือขนาดเล็กซึ่งมีอยู่หลาย ประเภท เช่น ประเภทโอเค ประเภทซูเปอร์มด ประเภทเอนเตอร์ไพรซ์.
  23. เรือประกอบ : น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อ ข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ.
  24. เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
  25. เรือโป๊ะจ้าย : น. เรือลำเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่ออย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสำเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  26. เรือพระที่นั่ง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จใน กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่ง อนันตนาคราช.
  27. เรือพระที่นั่งกราบ : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จไปอย่าง ลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับทรง สำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร.
  28. เรือพระที่นั่งกิ่ง : น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของ พระมหากษัตริย์ เสด็จในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือ พระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่ง กิ่งไกรสรมุข.
  29. เรือพระที่นั่งชัย : น. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวน พยุหยาตราทางชลมารคเสด็จไปในการพระราชสงคราม หรือการ พระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย.
  30. เรือพระที่นั่งรอง : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค เช่น เรืออนงคนิกร เรืออัปสรสุรางค์.
  31. เรือพระที่นั่งศรี : น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปใน กระบวนเสด็จทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้า สักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับ ลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู.
  32. เรือพระประเทียบ : น. เรือหลวงจัดเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในหรือ พระราชทานเป็นยานพาหนะของสมเด็จพระสังฆราช.
  33. เรือเพรียว : น. เรือขุดรูปคล้ายเรือแข่ง แต่ขนาดเล็กกว่า หัวยาวพองาม ท้ายสั้น เป็นเรือที่ขุนนางหรือผู้มีฐานะการเงินดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน.
  34. เรือฟริเกต : น. เรือรบที่มีความเร็วสูง มีระวางขับน้ำประมาณ ๑,๕๐๐– ๓,๕๐๐ ตัน แบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามระบบอาวุธประจำเรือ อาทิ เรือฟริเกตต่อสู้อากาศยานเรือฟริเกตควบคุมอากาศยาน เรือฟริเกต ปราบเรือดำน้ำ และเรือฟริเกตอเนกประสงค์.
  35. เรือไฟ : (โบ) น. เรือโดยสารที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดเล็กกว่า เรือกลไฟ นิยมใช้แล่นในแม่น้ำลำคลอง.
  36. เรือม่วง : น. เรือขุดรูปคล้ายเรือมาด แต่ยาวกว่า รูปร่างเพรียว หัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน.
  37. เรือมังกุ : น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปร่างเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า.
  38. เรื่อยเฉื่อย : ว. เอื่อย ๆ, ตามสบาย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่รีบร้อน, เช่น เขาเป็นคนเรื่อยเฉื่อย.
  39. เรื่อย, เรื่อย ๆ : ว. มีลักษณะอาการอันต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ เช่น ทำงานเรื่อยไม่ หยุดเลย เดินไปเรื่อย ๆ พูดไปเรื่อย ๆ; เฉื่อย, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดมา เรื่อย ๆ เขาเป็นคนเรื่อย ๆ.
  40. เรือยาว : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง ตามปรกติทำด้วยไม้ซุงตะเคียน ในสมัย โบราณใช้เป็นเรือรบ ปัจจุบันใช้เป็นเรือแข่ง บางลำยาวมากสามารถ บรรจุฝีพาย ๕๕–๖๐ คนก็มี.
  41. เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
  42. เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ : (สํา) น. คนที่ทําตนเป็นคนดีมาตลอด แต่มาเสียคนเมื่อแก่. ก. มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสําเร็จ.
  43. เรือหลวง : น. เรือที่ขึ้นระวางเป็นของหลวง.
  44. เรือใหญ่คับคลอง : (สํา) น. คนที่เคยรุ่งเรืองหรือเป็นใหญ่เป็นโต เมื่อ ตกตํ่าลงก็วางตัวอย่างคนสามัญไม่ได้.
  45. เรือเอี้ยมจุ๊น : น. เรือขนาดใหญ่ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สำหรับขนถ่าย และบรรทุกสินค้า.
  46. แร ๑ : ก. เขียนหรือทําเป็นเส้นเป็นเหลี่ยม, ถ้าเขียนเส้นด้วยสี เรียกว่า แรสี, ถ้าแกะเส้นบนไม้หรือบนผิวโลหะ เรียกว่า แรเส้น.
  47. แร่ ๑ : น. ธาตุหรือสารประกอบอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสูตรเคมีและ สมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัดและนำมาถลุงได้ เช่น แร่ดีบุกนำมาถลุงได้โลหะดีบุก แร่ทองคำนำมาถลุงได้โลหะทองคำ; (กฎ) ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วนประกอบทางเคมีกับ ลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยไม่ว่าจะต้อง ถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินนํ้ามัน หินอ่อน โลหะและตะกรันที่ได้จากโลหกรรม นํ้าเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และ ดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกําหนดเป็นดินอุตสาหกรรมหรือทราย อุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงนํ้าเกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย. แร่ธาตุ น. แร่.
  48. แรก : ว. ก่อนเพื่อน, ก่อนผู้อื่นหรือสิ่งอื่นทั้งหมด, เช่น ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ มาถึงเป็นคนแรก ลูกคนแรก วันแรกของเดือน, เริ่ม เช่น แรกนา คือ เริ่มลงมือทำนา แรกรุ่น คือ เริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่น, หัวที เช่น แรกเกิด แรกพบ แรกเห็น, เดิมที เช่น แต่แรกเริ่ม, เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เช่น มะม่วงแรกออกผล. น. ต้น, เดิมที.
  49. แร็กเกต : น. ไม้สําหรับตีเทนนิส แบดมินตัน หรือ สควอช มีปลายข้างหนึ่งเป็น รูปวงรีหรือวงกลม ซึ่งขึงเอ็นหรือไนลอนเป็นตาข่าย มีด้าม. (อ. racket).
  50. แรกนา, แรกนาขวัญ : น. ชื่อพิธีเริ่มไถนา, ถ้าทําเป็นทางราชการ เรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า พระราชพิธีแรกนา หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | [5951-6000] | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8091

(0.2634 sec)