ลงราก : ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้าง ส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.
ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
ลงสมุก : [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่น เป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิว ให้แน่นและเรียบ.
ลงสี : ก. ระบายสีเป็นรูปภาพ.
ลงเส้น : ก. เขียนเส้นให้เห็นเป็นรูปภาพ.
ลงหญ้าช้าง : น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง.
ลงหลักปักฐาน : (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง.
ลด : ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือ นอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
ลดตัว : ก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่น หัวกับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก.
ลดราวาศอก : ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดรา วาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
ลดเลี้ยวเกี้ยวพา : ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว.
ลดหย่อน : ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อน ดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
ลดหลั่น : ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.
ลดาวัลย์ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Porana volubilis Burm. ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมเย็น.
ล้นกระเพาะ : ว. ลักษณะที่กินมากจนแน่น เช่น กินจนล้นกระเพาะ. ล้นเกล้าล้นกระหม่อม น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพ นับถือมาก เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็น ราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่าล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.
ล้นพ้น : ว. ยิ่งยวด, ไม่มีอะไรเปรียบ, เช่น ยากจนเป็นล้นพ้น พ่อแม่มี พระคุณเป็นล้นพ้น.
ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. : ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง.
ลบ : ก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง; หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี หรือทางทําลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ - ว่า เครื่องหมายลบ.
ลบล้าง : ก. ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น ลบล้างความผิด, ทำให้เป็นโมฆะ ทางกฎหมาย เช่น ลบล้างหนี้สิน ลบล้างมลทิน.
ลบโลก : ว. เป็นใหญ่ปราบได้ตลอดโลก.
ลม ๆ : ว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตใน ขณะหนึ่ง ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย. ลมกรด น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลําคล้ายท่อรูปรี ขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่งลมกรด. ลมกระโชก น. ลมแรงที่เกิดในทันทีทันใดชั่วขณะหนึ่ง, ลมที่พัด แรงเป็นพัก ๆ.
ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
ล้มกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่น หมากรุก จึงพาลคว่ำกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุก บนกระดานเป็นต้น, คว่ำกระดาน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการ ที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานคุมเสียงสมาชิกไม่อยู่เลยล้มกระดานด้วยการเลิก ประชุม.
ลมงวง, ลมงวงช้าง : น. ลมชนิดหนึ่ง เมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลํายื่น ลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรงมาก ลํานี้จะยาวลงมามาก. (อ. tornado).
ลมจับ : ก. มีอาการวิงเวียนหน้ามืดบางคราวถึงกับหมดสติ, เป็นลม หรือ เป็นลมเป็นแล้ง ก็ว่า.
ลมแดด : ว. อาการที่เป็นลมเพราะโดนแดดจัด.
ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
ลมบ้าหมู ๑ : น. ลมหมุนที่เกิดในบริเวณแคบ ๆ มีความรุนแรง ไม่มากนัก มักหอบเอาของเป็นวงขึ้นไปในอากาศ.
ลมบ้าหมู ๒ : น. อาการหมดสติเป็นครั้งคราว และมักมีอาการชักเกร็ง นํ้าลายเป็นฟอง มือเท้ากํา เป็นผลเนื่องจากสมองทํางานผิดปรกติ.
ลมพิษ : น. ผื่นคันเป็นพิษเห่อขึ้นตามผิวหนัง. ลมเพลมพัด น. อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ มักเข้าใจกันว่า ถูกกระทํา.
ลมมรสุม : น. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่าง อุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดิน เย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือ พื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำ ให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดิน ร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรง กันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.
ลมไม่ดี : ก. ใจคอหงุดหงิดไม่เป็นปรกติ.
ล้มลุกคลุกคลาน : ก. หกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนีฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุก คลุกคลาน, โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุกคลุก คลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.
ลมสว้าน : [สะว่าน] ก. ลมแดกขึ้นอันเป็นอาการของไข้หนักจวน จะสิ้นใจ.
ลมใส่ : (ปาก) ว. อาการที่รู้สึกว่าจะเป็นลมเนื่องจากตกใจหรือ ผิดหวังเป็นต้น เช่น เห็นผลสอบแล้วลมใส่.
ลรรลุง :
[ลัน] (กลอน) ว. เป็นทุกข์ถึง, เศร้าโศก, ครํ่าครวญ. (ดู ละลุง๑).
ล้วง : ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วง กระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิด ที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
ลวง ๑ : ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก. ลวงตา ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้า ที่ปรากฏในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียก ภาพที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
ลวง ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น รวง ก็มี.
ลวด : น. สิ่งที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทําเป็น เส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทํา ด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่อง ปูลาดสําหรับรองนั่ง ทําด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ ๑ เมตร ความยาวไม่จํากัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอก เป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมี ลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.
ลวดบัว : น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรง ส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่าง พื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับ ผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความ เหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะ สลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลาย ที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.
ลวดสปริง : [สะปฺริง] น. ลวดที่ทําเป็นขด ๆ สามารถยืดหยุ่นได้.
ลวดหนัง : น. หนังที่ทําเป็นเส้นยาว ๆ.
ลวดหนาม : น. ลวดที่ขมวดเป็นปมเป็นระยะ ๆ แต่ละปมมีปลาย แหลมคม ใช้ทํารั้วหรือเครื่องกีดขวางเป็นต้น.
ล่อ ๑ : น. สัตว์พันทางที่เกิดจากการผสมระหว่างลากับม้า ใช้เป็นสัตว์ต่าง.
ล้อ ๑ : น. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสําหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ลูกล้อ ก็ว่า. ก. กลิ้งหมุนไปอย่างล้อรถ เช่น ล้อสตางค์ให้กลิ้งไป.
ล่อ ๒ : ก. ใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอุบายชักนํา เช่น เอาน้ำตาลล่อมด เอาเหยื่อ ล่อปลา; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาล่อหน่วย.
ล็อก ๒ : น. ความคาดหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น เรื่องนี้เป็นไปตามล็อก.
ล็อกเกต : น. เครื่องประดับทำเป็นรูปตลับเล็ก ๆ หรือกรอบรูป มีห่วงสำหรับ คล้องสายสร้อยห้อยคอหรือกลัดติดเสื้อ. (อ. locket).
ลอกแลก : ว. แสดงอาการหลุกหลิกเป็นต้น เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ตลอดเวลา ถือกันว่าเป็นกิริยาไม่สุภาพหรือบางทีก็ส่อพิรุธด้วย.