หนักใจ : ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.
หนักอก : ก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก. ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น หนักอกหนักใจ.
หน่าย : ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.
หนาหู : ว. ได้ยินพูดกันมาก, บ่อย (ใช้แก่การได้ยิน), เช่น มีข่าวหนาหู ว่าจะตัดถนนสายใหม่, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาตา เป็น คำสร้อย เช่น ได้ยินข่าวหนาหูหนาตาว่ารัฐบาลจะเลิกเก็บภาษีบางอย่าง.
หลอ : ว. ใช้ประกอบกับคํา เหลือ เป็น เหลือหลอ หมายความว่า หลงเหลืออยู่ เช่น รถชนกันอย่างนี้ จะมีอะไรเหลือหลอเล่า, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ หมายความว่า หมดเกลี้ยง เช่น กินเสียจนไม่มีอะไรเหลือหลอ; เรียกฟัน ที่มีช่องว่างระหว่างฟันซึ่งเกิดจากฟันหลุด กร่อน หรือหักจนถึงโคนฟัน เป็นต้น ว่า ฟันหลอ.
หล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้ง บุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
หลัง ๒ : ก. หลง มักใช้เข้าคู่กับคํา บ้า เป็น บ้าหลัง.
หลั่น : ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลําดับ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลด เป็น ลดหลั่น. ก. อาการที่ควั่นปลายเสาให้เหลือเป็นเดือยสำหรับรับขื่อ เรียกว่า หลั่นหัวเทียน.
หลา : [หฺลา] น. มาตราวัด คือ ๓ ฟุต เป็น ๑ หลา เท่ากับ ๐.๙๑ เมตร.
หลาบ ๑ : ก. เข็ด, ขยาดกลัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข็ด เป็น เข็ดหลาบ.
หลาย ๑ : ว. มาก, บางทีใช้คู่กับคำ มาก เป็น มากหลาย.
หลี : [หฺลี] น. ชื่อมาตราจีน คือ ๑๐ หลี เป็น ๑ หุน.
หัวใคร่ : น. สิ่งที่รักมาก, มักใช้คู่กับคํา หัวรัก เป็น หัวรักหัวใคร่.
หัวป่า : น. คนทําอาหาร ในคำว่า แม่ครัวหัวป่า พ่อครัวหัวป่า, โบราณเขียน เป็น หัวป่าก์.
หัวเราะ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.
หัวล้านได้หวี : (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.
หัวหงอก : [-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยาย หมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.
หากิน : ก. ทํางานเลี้ยงชีวิต, หาเลี้ยงชีพ, เช่น เขาหากินด้วยการประกอบ อาชีพสุจริต, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทำมา เป็น ทำมาหากิน, หาอาหาร เช่น ให้แต่ที่พัก หากินเอาเอง. ว. ที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี ในคำว่า หญิงหากิน.
หาบ : ก. เอาของห้อยปลายคาน ๒ ข้างแล้วแบกกลางคานพาไป. น. ชื่อ มาตราชั่ง ตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ.
หาบหลวง : น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ, หาบ ก็เรียก.
หายตัว : ก. ทำให้ไม่เห็นตัว เช่น บางคนเชื่อว่ามีเวทมนตร์ทำให้หายตัวได้, มักใช้คู่กับ ล่องหน เป็น ล่องหนหายตัว หมายความว่า ไม่ปรากฏตัวให้เห็น; โดยปริยายหมายความว่า หลบลี้หนีหน้า เช่น เผลอแผล็บเดียวเขาก็หายตัว ไปแล้ว, หายหน้า หรือ หายหัว ก็ว่า.
หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
หาวนอน : ก. หาวเพราะง่วงนอน, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ง่วงเหงา เป็น ง่วงเหงา หาวนอน ก็มี.
หาสู่ : ก. เยี่ยมเยียน, มักใช้ควบกับคํา ไปมา เป็น ไปมาหาสู่.
หิงสา : น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางที ก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).
หินชาติ : [หินนะชาด] ว. มีกําเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคํา ทมิฬ เป็น ทมิฬ หินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.
หึง ๑ : ก. หวงแหนทางชู้สาว, มักใช้เข้าคู่กับคำ หวง เป็น หึงหวง หรือ หวงหึง.
หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
เหง : [เหงฺ] ก. ข่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ข่ม เป็น ข่มเหง.
เห็นจะ : ก. คงจะ เช่น เห็นจะจริง, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เป็น ไม่เห็นจะ.
เหน้า : [เน่า] ว. รุ่น, หนุ่ม, สาว, ใช้เข้าคู่กับคำ หนุ่ม เป็น หนุ่มเหน้า หมายถึง กำลังสาว, กำลังหนุ่ม.
เหมือด ๑ : [เหฺมือด] น. เครื่องกินกับขนมจีนนํ้าพริก มีหัวปลีซอยเป็นต้น. ว. ใช้ ประกอบกับคำ สลบ เป็น สลบเหมือด หมายความว่า สลบไสล, แน่นิ่งไม่ติงกาย.
เหย้า : [เย่า] น. เรือน, บ้านเรือน, ครอบครัว, มักใช้เข้าคู่กับคํา เรือน เป็น เหย้าเรือน, เขียนเป็น หย้าว ก็มี.
เหยิง : [เหฺยิง] ว. ยุ่ง, รุงรัง, มักใช้เข้าคู่กับคํา ยุ่ง เป็น ยุ่งเหยิง.
เหล้าแห้ง : (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็น ยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียม เซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็น ยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
เหวง : [เหฺวง] ว. มาก, เป็นคําใช้ประกอบคํา เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่า เบามาก.
เหียน ๒, เหียน ๆ : ก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.
แห ๓ : (วรรณ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแห ห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม. (เห่เรือ).
โหวง : [โหฺวง] ว. มาก เป็นคําใช้ประกอบคํา เบา เป็น เบาโหวง หมายความว่า เบามาก.
โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
ไห้ : (วรรณ) ก. อาการที่นํ้าตาไหลเพราะประสบอารมณ์อันแรงกล้า เช่น ไห้รํ่า รักลูกไท้ ไห้บ่รู้กี่ไห้ ลูกแก้วกับตน แม่เอย. (ลอ), มักใช้เข้าคู่กับคํา ร้อง เป็น ร้องไห้.
อกกรม : ว. มีความระทมใจ มักใช้เข้าคู่กับคำ หน้าชื่น เป็น หน้าชื่น อกกรม, หน้าชื่นอกตรม ก็ว่า.
องศา : น. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกําหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).
อณุ, อณู ๑ : น. มาตราวัดโบราณ ๓๖ ปรมาณู เป็น ๑ อณู. ว. เล็ก, น้อย; ละเอียด. (ป., ส. อณุ).
อธิกสุรทิน : [สุระทิน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือ ในปีนั้น เพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน.
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ : น. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอน อันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็น ปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
อบรม : ก. แนะนําพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนํา ชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
อปภาคย์, อัปภาคย์ : [อะปะพาก, อับปะพาก] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนา น้อย, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์. (ส.).
อรชร : [ออระชอน] ว. งามอย่างเอวบางร่างน้อย, มักใช้เข้าคู่กับคำ อ้อนแอ้น เป็น อรชรอ้อนแอ้น.
อวล : [อวน] ก. ฟุ้งด้วยกลิ่นหอม, มักใช้เข้าคู่กับคํา อบ เป็น อบอวล. (ข. ว่า เต็ม, แน่น, อึดอัด).