วาววาม : ว. เป็นแสงวูบวาบ เช่น แสงเพชรวาววาม.
วาฬ ๒ : [วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อ ช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลา โผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติ ไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (B. borealis) และ วาฬแกลบครีบขาวดำ (B. acutorostrata) ในวงศ์ Balaenopteridae, วาฬหัวทุย (Physeter catodon) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.
วิกลจริต : [วิกนจะหฺริด] ว. มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ เพราะสติวิปลาส เช่น เขาเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ้างหัวเราะ บ้างโดยไม่มีสาเหตุ, เป็นบ้า.
วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
วิคหะ : [วิกคะ] น. การทะเลาะ, การโต้เถียง; ร่างกาย, รูปร่าง, ตัว; การแยกออกเป็นส่วน ๆ. (ป. วิคฺคห; ส. วิคฺรห).
วิเคราะห์ : ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อ ศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).
วิฆเนศ, วิฆเนศวร : [วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่า ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือพิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขัน ต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่ กําหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
วิ่งกระสอบ : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแต่ละคนสวมกระสอบวิ่ง แข่งกัน ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งสวมกระสอบ ก็ว่า.
วิ่งเก็บของ : ก. วิ่งเก็บสิ่งของเช่นส้ม มะนาว ที่วางเป็นระยะ ๆ แล้ว ไปใส่ภาชนะที่วางไว้ที่ตั้งต้น ใครเก็บหมดก่อนเป็นผู้ชนะ.
วิ่งแข่งกัน : ใครวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ, วิ่งกระสอบ ก็ว่า.
วิ่งเปี้ยว : น. การเล่นวิ่งแข่งโดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งคนวิ่งอ้อมหลักของฝ่ายตรงข้ามทีละคน โดยวิธีรับ ช่วงไม้หรือผ้าต่อ ๆ กันไป ฝ่ายที่วิ่งเร็วกว่า ใช้ไม้หรือผ้าที่ถืออยู่ตี ฝ่ายตรงข้ามได้ เป็นฝ่ายชนะ.
วิ่งผลัด : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นชุด ๆ ชุดละ ๔ คน แต่ละชุดจัดคนยืนอยู่ในลู่ของตนตามจุดต่าง ๆ ที่กำหนด คนแรก จะเริ่มวิ่งจากต้นทาง แล้วส่งไม้ให้คนที่ ๒ คนที่ ๒ วิ่งไปส่งให้คน ที่๓ และคนที่ ๓ วิ่งไปส่งให้คนที่ ๔ ตามลำดับ คนที่ ๔ ของชุดใดวิ่ง ถึงหลักชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
วิ่งวิบาก : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง มี ๒ ประเภท ประเภทหนึ่ง ระยะทาง ๓,๐๐๐ เมตร ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๒๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๗ บ่อใครถึงเส้นชัยก่อน เป็นผู้ชนะ อีกประเภทหนึ่งระยะทาง ๒,๐๐๐ เมตร ใช้สำหรับ การแข่งขันประเภทเยาวชน ผู้แข่งขันต้องวิ่งกระโดดข้ามรั้ว ๑๘ รั้ว กระโดดข้ามบ่อน้ำหรือลุยน้ำในบ่อ ๕ บ่อ ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็น ผู้ชนะ.
วิงเวียน : ก. รู้สึกเวียนหัวดูอะไรหมุนไปหมด มักมีอาการคลื่นไส้ ด้วย เช่น ทำงานเหนื่อยเกินไปจนรู้สึกวิงเวียนจะเป็นลม.
วิ่งสามขา : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็นคู่ ๆ โดยผูกขาขวา ของคนหนึ่งเข้ากับขาซ้ายของอีกคนหนึ่ง แล้ววิ่งแข่งกับคู่อื่น ๆ.
วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
วิจิตรพิศวง : [จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลาย ชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
วิจุรณ : จุรณวิจุรณ, เขียนเป็น วิจุณ ก็มี. (ส. วิจูรฺณ; ป. วิจุณฺณ).
วิชาพื้นฐาน : น. รายวิชาที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของวิชาในระดับที่สูง ๆ ขึ้นไป. (อ. basic course).
วิชาเลือกบังคับ : น. รายวิชาเลือกที่อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน เป็นรายบุคคล. (อ. prescribed elective course).
วิชาเอก : น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งเป็นวิชาหลัก ตาม หลักสูตรปริญญาหรืออนุปริญญา. (อ. major course).
วิญญาณ : น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
วิญญาณกทรัพย์ : [วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
วิญญูภาพ : น. ความเป็นผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.
วิดพื้น : (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
วิตามิน : น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่ เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะใน ร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการ เจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วย ต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ ''ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
วิทธะ : (แบบ) ว. เจาะ, แทง, ฉีกขาด, เป็นแผล, เป็นรู, แตก. (ป., ส.).
วิทยาทาน : น. การให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน จัดพิมพ์หนังสือแจกเป็นวิทยาทาน.
วิทยานิพนธ์ : น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
วิทยาศาสตร์ : น. ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้ หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ.
วิทยุ : [วิดทะยุ] น. กระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่เคลื่อนไปตาม อากาศโดยไม่ต้องใช้สาย และอาจเปลี่ยนเป็นเสียงหรือรูปได้, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ออกสู่อากาศว่า เครื่องส่งวิทยุ, เรียกเครื่องที่มีหน้าที่เปลี่ยนคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่รับได้จากเครื่องส่งวิทยุให้กลับเป็นคลื่นเสียง ตามเดิมว่า เครื่องรับวิทยุ.
วิเทวษ : [ทะเวด] น. ความเป็นข้าศึก, ความเกลียด, ความปองร้าย. (ส. วิเทฺวษ; ป. วิทฺเทส).
วิธีการ : น. วิธีปฏิบัติตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่ประชาชน วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ มีหลายวิธี.
วินตกะ :
[วินตะกะ] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๖ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป., ส. วินตก). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
วินาศภัย : [วินาดสะไพ] (กฎ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่ พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
วินาศสันติ : [วินาด] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออก เสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
วิบัติ : น. พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ. ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).
วิปัสสนา : [วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็น แจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).
วิปัสสนายานิก : น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
วิภว : [พะวะ] น. ความเจริญ; สมบัติ; ความไม่มีไม่เป็น. (ป., ส.).
วิภวตัณหา : น. ความปรารถนาในความไม่มีไม่เป็น. (ป.).
วิภัชพยากรณ์ : น. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจําแนกธรรมแต่ละ หัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
วิภัชวาที : น. ผู้จําแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น โดยคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
วิลาด, วิลาศ : ว. ที่เป็นของยุโรป (เป็นคําที่ชาวอินเดียในสมัยก่อนเรียก ชาวตะวันตกโดยเฉพาะชาวอังกฤษ) เช่น สาคูวิลาด เหล็กวิลาด ผ้าวิลาศ. (เปอร์เซีย wilayat).
วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ : [วิวาหะ] น. ''การพาออกไป'' หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
วิศาขบูชา : น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวัน ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. (ส. วิศาข + ปูชา; ป. วิสาข + ปูชา).
วิศาขา ๒, วิสาขะ ๑ : น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๖ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนนาง หนองลาด เหมือง หรือไม้ฆ้อง, ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ ก็เรียก. (ส.; ป. วิสาข, วิสาขา).
วิเศษณการก : [วิเสสะนะ] (ไว) น. คําที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็น บทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละ บุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากิน ช้อนส้อม เขามาบ้าน.
วิษณุโลก : น. สวรรค์ของพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้า. (ส.).