ศาสนสมบัติของวัด : น. ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งรวมทั้ง ปูชนียสถานที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด เช่น พระปฐมเจดีย์เป็น ศาสนสมบัติของวัดพระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนมเป็นศาสนสมบัติ ของวัดธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพเป็นศาสนสมบัติของวัด พระธาตุดอยสุเทพ.
ศิลปกรรม : น. สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ, เช่น งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรมจัดเป็นศิลปกรรม.
ศิลปธาตุ : น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
ศิลปหัตถกรรม : น. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.
ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.
ศิลปะพื้นบ้าน : น. ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัว หรือในหมู่บ้าน เป็นงานสร้างสรรค์ของสังคมชาวบ้าน และได้ พัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องกันมาหลายชั่วคน.
ศิลปิน, ศิลปี : [สินละ] น. ผู้มีความสามารถแสดงออกซึ่งคุณสมบัติ ทางศิลปะในด้านจิตรกรรมประติมากรรมเป็นต้น และมีผลงานเป็น ที่ยอมรับนับถือจากสถาบันทางศิลปะแห่งชาติ.
ศิลาแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลม แล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, หินแลง ก็เรียก.
ศิวลึงค์ : น. รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะหรือพระอิศวร ทําเป็นรูป อวัยวะเพศชาย ถือว่าเป็นวัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกไศวะ.
ศิษย์ก้นกุฏิ : [กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิ ตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึง ศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
ศิษย์เอก : น. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวง หรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น.
ศีรษะ : [สีสะ] น. หัว (เป็นคําสุภาพที่ใช้แก่คน). (ส.; ป. สีส).
ศีลมหาสนิท : น. พิธีดื่มเหล้าองุ่นแดงและกินขนมปังที่เสกแล้ว ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายแทนเลือดและเนื้อที่พระเยซูทรงเสียสละ ไถ่บาปให้มนุษย์และมีเลือดเนื้อเดียวกับพระองค์.
ศีลล้างบาป : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะ เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, พิธีจุ่ม ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
ศีลอด : [สีน] น. การถือบวชของชาวมุสลิม ไม่ดื่มไม่กินอะไร เลยตลอดเวลากลางวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ในเดือนเราะมะฎอน อันเป็นเดือนที่ ๙ แห่งปีในศาสนาอิสลาม นับแบบจันทรคติ.
ศึก : น. การใช้กําลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐ หรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐ หรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน, การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีก พวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิด ขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก.
ศุกร, ศุกร์ : [สุกกฺระ, สุก] น. ชื่อวันที่ ๖ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวง ที่ ๒ ในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑๐๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒,๑๐๔ กิโลเมตร ไม่มีบริวาร เป็นดาวเคราะห์ ที่มีบรรยากาศหนาทึบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของ กรดกํามะถัน ปรากฏสว่างที่สุดบนฟ้า, ถ้าเห็นทางตะวันตกในเวลา หัวคํ่า เรียกว่า ดาวประจําเมือง, ถ้าเห็นทางตะวันออกในเวลาใกล้รุ่ง เรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก.ว. สว่าง. (ส.).
ศุภกร : ว. ที่ทําความเจริญ, ที่เป็นมงคล. (ส.).
ศุภมัสดุ : [มัดสะดุ] น. ขอความดีความงามจงมี, เป็นคําใช้ขึ้นต้น ลงท้ายในประกาศที่เป็นแบบหรือข้อความที่สําคัญ เช่น ประกาศ พระบรมราชโองการ.
ศุษิระ, ศุษิร : [สุสิน] น. เครื่องดนตรีที่ใช้เป่ามีขลุ่ย ปี่ เป็นต้น, เขียนเป็น สุษิร ก็มี. (ส. ศุษิร, สุษิร).
ศูนย์กลาง : น. แหล่งกลาง เช่น กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลาง การค้าขาย, ศูนย์ ก็ว่า.
ศูนย์ชุมชน : น. หน่วยงานถาวรที่เป็นศูนย์กลางในการวางแผน ปฏิบัติงานและประสานงานบริการของหน่วยราชการและ องค์การต่าง ๆ โดยประชาชนในท้องถิ่นนั้นจะเลือกคณะ กรรมการขึ้นทําหน้าที่กําหนดนโยบายและบริหารงาน.
ศูนย์บริการสาธารณสุข : น. สถานีอนามัยในเขตเมือง ได้แก่ เขตเทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร และที่ตั้งเป็นเมืองพิเศษ.
ศูนย์เยาวชน : น. สถานที่ซึ่งจัดไว้ให้เยาวชนไปประกอบกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น ศูนย์เยาวชน ไทยญี่ปุ่น ดินแดง.
ศูนยวาท : น. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะ หรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ ก็เรียก. (ส.).
ศูนย์สูตร : น. ชื่อเส้นสมมุติที่ลากรอบโลก แบ่งโลกออกเป็น ๒ ซีก คือ ซีกโลกเหนือกับซีกโลกใต้ จุดทุกจุดบนเส้นศูนย์สูตร อยู่ห่างจากขั้วโลกทั้ง ๒ เท่ากัน.
ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
เศร้า : [เส้า] ก. สลด, ระทด, หมอง, ไม่เบิกบาน, เป็นทุกข์, เหี่ยวแห้ง, เช่น หน้าเศร้า ใจเศร้า ตามีแววเศร้า เรื่องเศร้า.
เศวตฉัตร : [สะเหฺวดตะฉัด] น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่ง ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นต้น. (ส. เศฺวตจฺฉตฺร ว่า ฉัตรขาว).
เศวตัมพร, เศวตามพร : [สะเหฺวตําพอน, ตามพอน] น. ชื่อนิกาย ในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ซึ่งประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่ม ผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. [ส. เศฺวต (ขาว) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม)].
เศษกระดาษ : (ปาก) น. สิ่งที่ไร้ค่า เช่น ใบหุ้นที่ยกเลิกแล้วมีค่า เป็นเศษกระดาษ.
เศษคน, เศษมนุษย์ : น. คนเลวมากจนหาดีไม่ได้ (ใช้เป็นคำด่า).
เศษซ้อน : (คณิต) น. จํานวนจริงที่เขียนเป็นรูปเศษส่วนหลาย ๆ ชั้น เช่น .
เศษสิบ : น. เศษส่วนที่มีเศษเป็นตัวเลข ๐ ถึง ๙ และมีส่วนเป็น หน่วย ๑๐ เช่น ๘๑๐ .
เศษเหล็ก : น. ชิ้นส่วนของโลหะหรือเครื่องจักรกลเป็นต้นที่ใช้ ไม่ได้แล้ว เช่น ซากรถยนต์ที่ถูกชนพังยับเยินถูกขายเป็นเศษเหล็ก.
โศกนาฏกรรม : [โสกะนาดตะกํา, โสกกะนาดตะกํา] น. วรรณกรรม โดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
โศกศัลย์ : [โสกสัน] ก. เป็นทุกข์เดือดร้อนเหมือนถูกศรแทง. (ส.; ป. โสกสลฺล).
ไศวะ : น. ชื่อนิกายหนึ่งของศาสนาฮินดู นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้า สูงสุด.(ส.).
ษ : พยัญชนะตัวที่ ๓๙ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ษมา เศรษฐี และคําว่า อังกฤษ.
ส ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้น และตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.
สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิมรรค :
[มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
สกทาคามี, สกิทาคามี : [สะกะ, สะกิ] น. ''ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง'' เป็นชื่อพระอริยบุคคล ชั้นที่ ๒ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียก สั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา. (ป.; ส. สกฺฤทาคามินฺ).
สกปรก : [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึง ประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจา ที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.
สกลมหาสังฆปริณายก : [สะกนมะหาสังคะปะรินายก] (กฎ) น. ตําแหน่งของสมเด็จพระสังฆราช ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอํานาจบัญชาการ คณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับ กฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม.
สกัด : ก. กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า; ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นเหล็ก หิน ให้เป็นร่อง รอย ทะลุ หรือให้ขาดจากกัน, เรียกเหล็กที่ใช้ตัดหรือ กะเทาะของแข็งเช่นนั้นว่า เหล็กสกัด; เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ. (ข.).
สกุล : [สะกุน] น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์; เชื้อชาติผู้ดี เช่น เป็นคน มีสกุล ผู้ดีมีสกุล.
สกุลรุนชาติ : [สะกุนรุนชาด] น. ตระกูลผู้ดี เช่น เขาเป็นคนมีสกุลรุนชาติ.