สมานฉันท์ : [สะมานะ, สะหฺมานนะ] น. ความพอใจร่วมกัน, ความเห็นพ้องกัน, เช่น มีความเห็นเป็นสมานฉันท์. (ป. สมาน + ฉนฺท).
สมาพันธรัฐ : [พันทะ] น. รัฐหลาย ๆ รัฐที่รวมกันเพื่อประโยชน์ร่วมกันบางอย่าง โดยมีข้อตกลงระหว่างกันให้มีรัฐบาลกลาง และให้มีอํานาจหน้าที่ เฉพาะกิจการบางอย่างที่รัฐสมาชิกยินยอมมอบหมายให้เท่านั้น, ปัจจุบันไม่มีแล้ว. (อ. confederation of states).
สม่ำเสมอ : [สะหฺมํ่าสะเหฺมอ] ว. เสมอเป็นปรกติ เช่น มาประชุมสม่ำเสมอ, เสมอตามกำหนด เช่น ส่งดอกเบี้ยสม่ำเสมอ; ราบเรียบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พื้นไม่สม่ำเสมอ.
สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
สมิต ๓ : [สะมิด] น. กิ่งแห้งของต้นไม้บางชนิด เช่นต้นโพใช้เป็นเชื้อไฟในพิธี โหมกูณฑ์. (ส.); ใบไม้ ๓ ชนิด คือ ใบมะม่วง ใบทอง และใบตะขบ ที่ถวายพระเจ้าแผ่นดินในพิธีอภิเษก เช่นราชาภิเษก.
สมุก ๑ : [สะหฺมุก] น. ถ่านทําจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็น ผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สําหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบาน ประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง.
สมุฏฐาน : [สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิด, ที่ตั้ง, เหตุ, เช่น สมุฏฐานของโรค โรคนี้มีจิต เป็นสมุฏฐาน. (ป.).
สมุด : [สะหฺมุด] น. กระดาษที่ทําเป็นเล่ม มีหลายชนิดเรียกชื่อตามประโยชน์ ใช้สอย เช่น สมุดวาดเขียน สมุดแผนที่ สมุดแบบฝึกหัดคัดลายมือ.
สมุดไทย : น. สมุดที่ทําด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทาง ขวางทบกลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้ง ชนิดกระดาษขาวและกระดาษดํา, สมุดข่อย ก็เรียก.
สมุทร ๑, สมุทร : [สะหฺมุด, สะหฺมุดทฺระ] น. ทะเลลึก; เรียกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผ่นดิน โอบล้อมเป็นตอน ๆ ว่า มหาสมุทร เช่น มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทร แปซิฟิก. (ส.; ป. สมุทฺท).
สมุนไพร : [สะหฺมุนไพฺร] น. ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตํารับยา เพื่อบําบัดโรค บํารุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ เช่น กระเทียม นํ้าผึ้ง รากดิน (ไส้เดือน) เขากวางอ่อน กํามะถัน ยางน่อง โล่ติ๊น.
สมุหนาม : (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่ รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก.
สโมสรสันนิบาต : น. งานชุมนุมใหญ่อย่างเป็นทางการ เช่น รัฐบาล จัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาลเนื่องในพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษา.
สยมภู : [สะหฺยมพู] น. พระผู้เป็นเอง, พระอิศวร, สวยมภู ก็ใช้. (ป. สยมฺภู; ส. สฺวยมฺภู).
สยาม, สยาม : [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.
สยามินทร์ : [สะหฺยามิน] น. ผู้เป็นใหญ่ในสยามหมายถึง พระมหากษัตริย์ ของประเทศไทย.
สยุมภู : [สะหฺยุมพู] ว. เป็นเองตามธรรมชาติ เช่น รกสยุมภู ว่า รกอย่างเป็นเอง ตามธรรมชาติ.
สร่ง ๑ : [สะหฺร่ง] น. วิธีฝังเพชรเม็ดเล็ก ๆ ขนาดไข่ปลาลงไปบนพื้นที่ทําให้ โปร่ง, ถ้าแกะแรให้ผิวเป็นเหลี่ยมขึ้นเงาดูเหมือนฝังเพชร เรียกว่า ตัดสร่ง.
สร่ง ๒ : [สะหฺร่ง] น. ชื่ออาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยหมูสับคลุกกับรากผักชี พริกไทย น้ำปลา ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ พันด้วยเส้นมี่สั้วลวก ทอด ให้เหลืองนวล รับประทานกับน้ำจิ้ม.
สรณคมน์, สรณาคมน์ : น. การยึดเอาเป็นที่พึ่งที่ระลึก, ในพระพุทธศาสนา หมายถึง การถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน์. (ป.).
สรดึ่น : [สฺระ] (กลอน) ก. ตื่นใจ. ว. เป็นพืดไป.
สรตะ : [สะระ] น. การคาดคะเนตามเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการพนัน มีหวย ถั่ว โป เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า การคาดคะเนตามข้อสังเกต หรือสันนิษฐาน, การเก็งหรือการคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก, เช่น คิดสรตะแล้วงานนี้ขาดทุน, เขียน เป็นสะระตะ ก็มี.
สรบ : [สฺรบ] (โบ; กลอน) ว. ทั่ว, พร้อม, เขียนเป็น สรับ ก็มี.
สรภัญญะ : [สะระพันยะ, สอระพันยะ] น. ทํานองสําหรับสวดคําที่เป็นฉันท์, ทํานองขับร้องทํานองหนึ่ง, เช่น สวดสรภัญญะ ทำนองสรภัญญะ. (ป.).
สรรพคุณ : น. คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติ เช่น เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. (ส. สรฺว + คุณ).
สรรพากร : [สันพากอน] น. อากรที่เก็บจากสิ่งที่เป็นเองหรือมีบ่อเกิด เป็นรายได้.
สรรเพชุดา : [สันเพดชุ] (แบบ) น. ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็น พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าตฺฤ; ป. สพฺพญฺญุตา).
สรล้าย : [สฺระหฺล้าย] (กลอน) ก. สลาย, แตก, กระจาย, เรี่ยราย, เป็นแนวติด ๆ กันไป.
สร้อย ๑ : [ส้อย] น. ขนคอสัตว์ เช่น สร้อยคอไก่ สร้อยคอสิงโต; เครื่องประดับ ที่ทําเป็นเส้น เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ, สายสร้อย ก็เรียก.
สร้อย ๒ : [ส้อย] น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่รวมกัน เป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินใน แหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดํา บนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (Cirrhinus jullieni), กระสร้อย ก็เรียก.
สร้อยทอง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Solidago polyglossa DC. ในวงศ์ Compositae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ.
สร้อยระย้า ๒ : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Otochilus fusca Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อห้อยลง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Medinilla magnifica Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง.
สร้อยสน : น. สร้อยที่ถักเป็นลายคดกริช; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
สร้อยอ่อน : น. สร้อยขนาดเล็กตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปเรียงกัน มีหัวเป็น ที่ร้อย.
สร้อยอินทนิล : น. ชื่อไม้เถาชนิด Thunbergia grandiflora Roxb. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีฟ้าอมม่วงหรือขาว ออกเป็นพวงห้อยระย้า, ช่ออินทนิล หรือ ม่านอินทนิล ก็เรียก.
สระ ๑ : [สะ] น. แอ่งนํ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุด. (ป. สร; ส. สรสฺ).
สระ ๒ : [สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้น และริมฝีปากเป็นสําคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วน หนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียง พยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
สรัสวดี : [สะรัดสะวะดี] น. เทวีองค์หนึ่งในลัทธิศักติของศาสนาฮินดู เป็นชายา ของพระพรหม ถือว่าเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยา มีหลายชื่อ เช่น ภารตี พราหมี สารทา, ไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี.(ส. สรสฺวตี).
สร่าง : [ส่าง] ก. คลาย, ถอย, ทุเลา, (ใช้แก่ลักษณะความเป็นไปของร่างกาย หรืออารมณ์ที่ผิดปรกติจากธรรมดา), เช่น สร่างไข้ สร่างโศก ไข้ยัง ไม่สร่าง สร่างเมา เมาไม่สร่าง.
สร้าง ๑ : [ส้าง] ก. เนรมิต, บันดาลให้มีให้เป็นขึ้นด้วยฤทธิ์อำนาจ, เช่น พระพรหมสร้างโลก, ทำให้มีให้เป็นขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ กัน (ใช้ทั้ง ทางรูปธรรมและนามธรรม) เช่น สร้างบ้าน สร้างเมือง สร้างศัตรู สร้างชื่อเสียง.
สร้างชาติ : ก. ทำให้ชาติมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง.
สร้างฐานะ : ก. ประกอบอาชีพจนมีทรัพย์สินเป็นหลักฐานมั่นคง.
สร้างวิมานในอากาศ : (สํา) ก. ใฝ่ฝันถึงความมั่งมี, คิดคาดหรือหวัง จะมีหรือเป็นอะไรอย่างเลิศลอย.
สร้างสถานการณ์ : ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นมาโดยไม่มีมูล เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
สร้างสรรค์ : ก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มใน ทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.
สร้างเสริม : ก. ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษา สร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี.
สรีรวิทยา, สรีรศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยสมบัติและการกระทําหน้าที่ ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของสิ่งที่เป็นรูปร่างและมีชีวิต. (อ. physiology).
สรุป, สรูป : [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็น ประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป.
สลดใจ : ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหว คนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ.
สลบ : [สะหฺลบ] ก. อาการที่หมดความรู้สึก เช่น ถูกตีหัวจนสลบ เป็นลม ล้มสลบ.