Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสมาชิก, สมาชิก, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นสมาชิก, สมาชก, สมาชิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นสมาชิก, 8091 found, display 7001-7050
  1. สะพานลอย : น. สะพานสูงแคบ ๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนน ใช้เป็น ทางให้คนเดินข้ามถนน รถสามารถแล่นผ่านใต้สะพานได้, สะพานสูง กว้าง และยาวมาก มักสร้างคร่อมทางรถไฟหรือสี่แยกที่ถนนสาย สําคัญ ๆ ตัดกัน เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องรอให้ รถไฟผ่านหรือรอสัญญาณไฟ.
  2. สะใภ้ : น. หญิงที่มาแต่งงานกับญาติผู้ชาย, เมียของญาติ, เช่น ถ้าเป็นเมียของ ลูกชาย เรียก ลูกสะใภ้ ถ้าเป็นเมียของลุง เรียก ป้าสะใภ้, (ปาก) ตะใภ้.
  3. สะระตะ : (แบบ) ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี. (หนังสือ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.
  4. สะลาบ : น. ผิวของพิมพ์หล่อพระที่แตกออกเป็นกาบเล็ก ๆ เมื่อความร้อน ลดลงกะทันหัน.
  5. สะสม : ก. สั่งสม, รวบรวมให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ, เช่น เขาสะสมนาฬิกาเป็น งานอดิเรก.
  6. สะสวย : ว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย.
  7. สะอาด : ว. ไม่สกปรก เช่น เสื้อผ้าสะอาด บ้านเรือนสะอาด น้ำสะอาด, หมดจด, ผ่องใส, เช่น จิตใจสะอาด, ไม่มีตําหนิ, บริสุทธิ์, ไม่ทุจริต, เช่น เขาเป็น คนใจซื่อมือสะอาด.
  8. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  9. สะอื้น : ก. ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ เพราะร้องไห้มากเนื่องจากเสียใจระทมใจ เป็นต้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ.
  10. สะเอ้ง ๑ : น. สายรัดเอว เป็นเครื่องประดับสําหรับผู้หญิง, สะอิ้ง ก็ว่า. (ไทยใหญ่ แอ้ง ว่า เอว).
  11. สัก ๓ : ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้ เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทําเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดง เป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ เป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิก เป็นต้น.
  12. สักกระหม่อม : ก. ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงลงกลางศีรษะ ให้เป็นอักขระหรือเครื่องหมาย.
  13. สักกายทิฐิ : น. ความยึดถือว่ากายหรือตัวเป็นของตน. (ป. สกฺกายทิฏฺ??).
  14. สักที่นอน : ก. เย็บกรึงที่นอนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้นุ่นเป็นต้นอยู่คงที่ ไม่เลื่อนไปเลื่อนมา.
  15. สักวา : [สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คํากลอน ขึ้นต้นด้วยคํา ''สักวา'' และลงท้ายด้วยคํา ''เอย'', ชื่อลํานําเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็น ทํานองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
  16. สักว่าว : ก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็น ตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.
  17. สักหมาย : (โบ) น. เครื่องหมายที่สักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าสังกัดอยู่ ในหมู่ใดกรมใด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว. (ตราสามดวง).
  18. สังกมทรัพย์ : [สังกะมะ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของอื่น อันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ อสังกมทรัพย์.
  19. สังกะตัง : ว. ลักษณะที่ติดแน่นเป็นปมเหนียวที่ผมหรือขนสัตว์สางไม่ออก เช่น ผมเป็นสังกะตัง.
  20. สังกะสี : น. ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว แกมนํ้าเงินหลอมละลายที่ ๔๑๙ ? ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. (อ. zinc); เหล็กชุบสังกะสีบาง ๆ เป็นแผ่นเรียบหรือเป็นลอนอย่างลูกฟูก ใช้มุง หลังคาเป็นต้น เช่น หลังคาสังกะสี รั้วสังกะสี.
  21. สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
  22. สังเกต : ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
  23. สังขยา ๒ : [ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทําด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และ กะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
  24. สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
  25. สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
  26. สังคญาติ : (ปาก) น. บรรดาญาติ, ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติกัน, เช่น คนทั้งหมู่บ้านล้วนเป็นสังคญาติกันทั้งนั้น.
  27. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  28. สังคัง : (ปาก) น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา (Epidermophyton floccosum) บางรายเกิดจากเชื้อราในสกุล Trichophyton เกิดที่ถุงอัณฑะ ลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ด มีอาการคันมาก.
  29. สังคายนา, สังคายนาย : [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
  30. สังคีติ : น. สังคายนา, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน, การประชุม ชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ป.).
  31. สังเคราะห์ : (เคมี) ก. ทําให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ, ทําให้สาร ประกอบมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบอื่น. ว. ที่สร้างขึ้นโดย กรรมวิธีทางเคมี เช่น ใยสังเคราะห์. (อ. synthesise).
  32. สังฆ : [สังคะ] น. สงฆ์, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  33. สังฆเถระ : น. ภิกษุผู้เป็นใหญ่ในพระสงฆ์หมู่หนึ่ง ๆ, ภิกษุผู้เป็น ประธานในที่ประชุมสงฆ์. (ป.).
  34. สังฆเภท : [เพด] น. การที่ภิกษุทําให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป, นับเป็นอนันตริยกรรมอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕. (ป.).
  35. สังฆราช : [ราด] น. ตําแหน่งพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดใน สังฆมณฑล. (ป.).
  36. สังฆานุสติ : น. การระลึกถึงคุณพระสงฆ์ เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง. (ป.).
  37. สังโยค : น. การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด; (ไว) ตัวพยัญชนะ ๒ ตัวที่เรียงกัน ตัวหน้าเป็นตัวสะกด ตัวหลังเป็นตัวตาม พยัญชนะ ที่เป็นตัวสะกด เรียกว่า พยัญชนะสังโยค เช่น มนุสฺส สตฺต พุทฺธ รฏฺ?. (ป. สํโยค, สญฺโ?ค; ส. สํโยค).
  38. สังโยชน์ : น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็น ลําดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโ?ชน; ส. สํโยชน).
  39. สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
  40. สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
  41. สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
  42. สั่งสอน : ก. ชี้แจงให้เข้าใจและบอกให้ทํา เช่น แม่สั่งสอนลูกให้เป็น คนดี, สอนสั่ง ก็ว่า.
  43. สัจนิยม : [สัดจะ] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์ วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).
  44. สัญชาติ : [ชาด] น. ความเกิด, การเป็นขึ้น, ความอยู่ในบังคับ คืออยู่ในความ ปกครองของประเทศชาติเดียวกัน เช่น ฝรั่งถือสัญชาติไทย, โดยปริยาย หมายความว่า สันดาน เช่น สัญชาติพาล สัญชาติคางคก ยางหัวไม่ตก ก็ไม่รู้สึก. (ป. สญฺชาติ ว่า ความเกิด, การเป็นขึ้น); (กฎ) สถานะตาม กฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง. (อ. nationality).
  45. สัญญา : น. (กฎ) ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายว่าจะกระทําการ หรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง; ข้อตกลงกัน, คำมั่น, เช่น เขาให้สัญญาว่าจะมาหาพรุ่งนี้; ความจํา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ก. ให้คํามั่น, รับปาก, ทําความ ตกลง, กัน เช่น แม่สัญญากับลูกว่าถ้าสอบได้ที่ ๑ จะให้รางวัล. (ป.).
  46. สัญญาณ : น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่ บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
  47. สัญญาบัตร : น. ใบตั้งยศ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน ทรงตั้ง เช่น นายทหารสัญญาบัตร พระราชาคณะสัญญาบัตร พระครูสัญญาบัตร, ถ้าเป็นใบที่เจ้ากระทรวงตั้ง เรียกว่า ใบประทวน.
  48. สัญนิยม : [สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่ม สังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).
  49. สัญประกาศ : [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ใช้ขีดไว้ใต้คํา หรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
  50. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | [7001-7050] | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8091

(0.2332 sec)