หนังกลางวัน ๑ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
หนังกำพร้า : น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, ผิวหนัง ก็เรียก.
หนังง่า : น. ตัวหนังใหญ่ที่สลักเป็นรูปยักษ์หรือลิงในท่าเหาะ (ลัทธิ).
หนังตะลุง : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงา ให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง ''และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์.
หนังเรียด : น. หนังที่ทําเป็นเส้นแบน ๆ เล็ก ๆ สําหรับใช้โยงเร่งเสียง โดย สอดเข้าไปกับไส้ละมานที่ถักไว้รอบ ๆ ขอบหนังทั้ง ๒ หน้าของตะโพน เปิงมาง กลองสองหน้า เป็นต้น มักร้อยถี่จนมองแทบไม่เห็นตัวหุ่นกลอง ถ้าเร่งหนังเรียดให้ตึงขึ้นเท่าใด หน้ากลองก็ตึงยิ่งขึ้นเท่านั้น.
หนังสติ๊ก : น. เครื่องยิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยแถบยางผูกติดกับสิ่งที่เป็นง่าม ซึ่งมักเป็นไม้ ยิงด้วยลูกกระสุนที่ตามปรกติเป็นลูกดินปั้นกลม ๆ.
หนังสือ : น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียน หนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมาย ที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.
หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
หนังสือราชการ : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มี ไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือ ที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.
หนังสือสัญญา : (กฎ) น. ข้อตกลงระหว่างบุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่าย ว่าจะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทําขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษร.
หนังหน้าไฟ : (สํา) น. ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิด มา พ่อความผิดมาแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.
หนังใหญ่ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดใหญ่ กว่าหนังตะลุงมาก คีบด้วยไม้ตับ ๒ อันสำหรับจับเชิด เชิดได้ทั้งหลังจอ และหน้าจอ ใช้ปี่พาทย์และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็น คนละคนกัน.
หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
หน้ากล้อ : น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.
หน้าเก่า : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
หน้าข้าวตัง : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้ามอด ก็ว่า.
หน้าจั่ว : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย : ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
หน้าชื่นอกตรม : ว. ที่ทำเป็นร่าเริงแต่ในใจมีทุกข์, หน้าชื่นอกกรม ก็ว่า.
หน้าเซ่อ : ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ.
หน้าเดิม : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.
หน้าตัวเมีย : น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความ ว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย).
หนาตา : ว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชม มหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.
หน้าตา : น. เค้าหน้า เช่น เด็กคนนี้หน้าตาเหมือนแม่; เกียรติยศชื่อเสียง เช่น นักกีฬาไปแข่งขันชนะเลิศในต่างประเทศก็เป็นหน้าตาให้กับประเทศ ของตน.
หน้าตาย : น. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย. ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย.
หน้าถัง : น. หน้าร้านหรือโรงที่เปิดปิดด้วยกระดานเป็นแผ่น ๆ สอดเรียง เลื่อนไปตามรางที่ทำไว้.
หน้าทับ : น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขก ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอก สัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.
หน้านวล ๒ : ว. มีสีหน้าผุดผ่องเป็นน้ำเป็นนวล, คนโบราณเชื่อว่า หญิงที่มี ครรภ์ถ้ามีหน้านวลอยู่เสมอ แสดงว่า บุตรในครรภ์จะเป็นเพศหญิง.
หนามเตย : น. ลายหยักบนตัวหนังสือขอม; ส่วนที่เป็นหยัก ๆบนหลัง จระเข้; โลหะที่มีลักษณะเป็นเขี้ยวคล้ายหนามสำหรับเกาะยึดหัวแหวน เป็นต้น.
หน้ามอด : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้าข้าวตัง ก็ว่า.
หน้าม้า : น. ผู้ที่ทําเล่ห์เหลี่ยมเป็นเหมือนคนซื้อหรือคนเล่นการพนัน เป็นต้น เพื่อเป็นสื่อจูงใจให้คนหลงซื้อหรือหลงเล่นการพนันด้วย, โดยปริยายใช้เรียกคนที่หากินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
หน้ามืด : ว. อาการที่เป็นลมหมดสติ; โดยปริยายหมายถึงมัวเมาจนขาดสติ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ.
หน้าไม่รับแขก : น. หน้าตาที่เฉยเมยคล้ายกับว่าไม่ต้องการต้อนรับใคร อาจเป็นปรกติหรือเป็นบางโอกาสก็ได้.
หน้ารับแขก : น. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเป็นประจำ.
หน้าร่าหุ์, หน้าราหู : น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้น สามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก.
หน้าเลือด : ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
หนาว ๆ ร้อน ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูก ลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก็ว่า.
หนาวเหน็บ : ว. หนาวมากจนรู้สึกชาคล้ายเป็นเหน็บ.
หน้าแว่น : น. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือ ทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรู ให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียก ขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็น แผ่นบาง ๆ.
หน้าไหว้หลังหลอก : (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือ หาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.
หนำเลี้ยบ : น. ชื่อผลของไม้ต้นชนิด Canarium pimela Leenh. ในวงศ์ Burseraceae ผลสุกสีม่วงดำ นำมาดองเค็มใช้เป็นอาหาร. (จ.).
หนีบ : ก. คีบหรือบีบให้แรงให้แน่นด้วยของที่เป็นง่ามเช่นง่ามนิ้วมือหรือตะไกร เป็นต้น.
หนึ่ง : น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่น หนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็น หนึ่งในรุ่น.
หนึ่งไม่มีสอง : ว. เป็นเลิศอยู่คนเดียว.
หนุ่มทั้งแท่งมากินแตงเถาตาย : (สำ) น. หนุ่มบริสุทธิ์ได้แม่ม่ายอายุมาก เป็นภรรยา.
หนู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายสกุลในวงศ์ Muridae มีฟันแทะ มีอยู่ ทั่วไปตามบ้านเรือนและในถิ่นธรรมชาติ มีหลายชนิด เช่น หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูท้องขาว (Rattus rattus) บางชนิดเป็นพาหะ นําโรค. ว. เล็ก (ใช้เฉพาะพรรณไม้บางอย่างที่มีพันธุ์เล็กหรือของ บางอย่างชนิดเล็ก) เช่น กุหลาบหนู แตงหนู หม้อหนู.
หมวก : [หฺมวก] น. เครื่องสวมศีรษะมีรูปต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับหรือกันแดด กันฝนเป็นต้น.
หมวกกะหลาป๋า : น. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรง สูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้น รัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.
หมวกเห็ด : น. ส่วนที่เป็นดอกของเห็ด.