Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสมาชิก, สมาชิก, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นสมาชิก, สมาชก, สมาชิก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นสมาชิก, 8091 found, display 7251-7300
  1. หมาไล่เนื้อ : (สำ) น. คนที่รับใช้ผู้อื่นเมื่อเวลายังทำประโยชน์ให้ได้ ผู้เป็น นายก็เมตตาเลี้ยงดู แต่เมื่อทำประโยชน์ไม่ได้แล้ว ผู้เป็นนายก็ทอดทิ้งไม่ ไยดีหรือหาเรื่องลงโทษขับไล่ไสส่งเป็นต้น เปรียบเสมือนหมาไล่เนื้อ เมื่อแก่สิ้นเขี้ยวสิ้นเล็บ ใช้ไล่ล่าสัตว์ไม่ได้ เจ้าของก็ไม่เมตตาเลี้ยงดู อีกต่อไป.
  2. หมาหยอกไก่ : (สํา) น. เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาว เป็นทีเล่นทีจริง.
  3. หมาหัวเน่า : (สํา) น. คนซึ่งเป็นที่รังเกียจของคนอื่นจนไม่สามารถเข้ากับ ใครได้, คนที่ไม่มีใครรักหรือคบหา.
  4. หมาเห็นข้าวเปลือก : (สำ) น. คนที่อยากได้สิ่งที่เป็นประโยชน์หรืออำนวย ความสุขสำราญให้แก่ตน แต่สุดความสามารถที่จะเอามาใช้ หรืออำนวย ประโยชน์ให้แก่ตนได้.
  5. หมิ่น ๑ : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเชิงดูถูก ว่ามีฐานะต่ำต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, ดูหมิ่น หรือ ดูหมิ่น ถิ่นแคลน ก็ว่า.
  6. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  7. หมี่ ๒ : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, ผ้ามัดหมี่ ก็เรียก.
  8. หมึก ๑ : น. นํ้าที่ใช้ในการขีดเขียน ตามปรกติมีสีดําจัด จึงใช้เปรียบกับของดำว่า ดำเป็นหมึก, น้ำหมึก ก็ว่า. (จ.); โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ขีดเขียน หรือพิมพ์หนังสือเป็นต้น เช่น หมึกแดง หมึกแห้ง หมึกพิมพ์ หมึกพิมพ์ ลายมือ.
  9. หมืน : (ถิ่น-พายัพ) ก. เป็นผื่นขึ้นมาก ๆ ตามผิวเนื้อ.
  10. หมุด : น. เครื่องสําหรับตรึงหรืออุดรู; เรียกเข็มที่หัวเป็นปุ่ม ใช้กลัดกระดาษหรือ ผ้าเป็นต้น ว่า เข็มหมุด; ผ้ากอซที่ใช้สอดเข้าไปในโพรงฝีเป็นต้นเพื่อซับ ของเหลวภายใน.
  11. หมู ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดย ใช้จมูกดุด; (ปาก) บุคคลที่อาจหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย เช่น นักมวย ต่างประเทศคนนี้อย่าไปคิดว่าหมูนะ.
  12. หมู่ ๑ : น. กลุ่มชนิดเดียวกัน เช่น หมู่ดาว หมู่เมฆ, พวกชนิดเดียวกัน เช่น หมู่มนุษย์ หมู่โจร; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวน ไม่เกิน ๑๐ คน มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบก หรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศ จะต้องมียศเป็นจ่า.
  13. หมูเขี้ยวตัน : (ปาก) น. บุคคลที่คิดว่าจะหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย ๆ แต่ กลับปรากฏว่าตรงกันข้ามเช่น นักมวยที่สั่งมาชกโดยคิดว่าจะเป็นหมู กลับกลายเป็นหมูเขี้ยวตันไป.
  14. หมูตั้ง : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้น เล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่น เป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.
  15. หมูแนม : น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือ โขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้ เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรส เปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับ ผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลก หรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วย ข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ.
  16. หมู่บ้าน : (กฎ) น. ท้องที่ที่รวมบ้านหลายบ้านให้อยู่ในความปกครอง อันเดียวกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้า ปกครอง.
  17. หมูป่า : น. ชื่อหมูซึ่งเป็นต้นกําเนิดของหมูบ้าน รูปร่างลักษณะคล้ายหมู บ้าน แต่ปากและจมูกยื่นยาวกว่าปลายบานใช้สําหรับดุดดิน ลําตัวมี ขนดกหยาบสีดํา ๆ ขนแผงคอยาว ตัวผู้มีเขี้ยวใหญ่ยื่นยาวพ้นปาก กินพืช ลูกอ่อนสีนํ้าตาลอ่อน มีลายขาวเป็นทางตามยาว ในประเทศไทย เป็นชนิด Sus scrofa พบในป่าทุกภาค.
  18. หมูแผ่น : น. ของกินทําด้วยเนื้อหมูแล่เป็นแผ่นบาง ๆ ปรุงรส ผึ่งแดดให้ แห้ง แล้วปิ้งให้สุก.
  19. หมูยอ : น. ของกินทําด้วยเนื้อหมูผสมเครื่องปรุงบดแล้วอัดเป็นแท่งและ นึ่งให้สุก.
  20. หมูสี ๒ : น. เรียกตาไม้เสาเรือนที่สูงจากพื้นดินประมาณศอกหนึ่ง ถือว่าเป็นเสามี ลักษณะไม่ดี; เรียกจอมปลวกขนาดย่อมที่ขึ้นใต้ถุนบ้านว่า ปลวกหมูสี.
  21. หมูหย็อง : น. ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย.
  22. หยก ๑ : น. หินแก้วมีลักษณะแข็งเป็นสีต่าง ๆ ใช้ทําเครื่องประดับและเครื่องใช้ เป็นต้น ถือว่าเป็นของมีราคา.
  23. หยด : ก. ไหลหรือทําให้ไหลหลุดออกมาเป็นหยาด ๆ เช่น น้ำหยด. น. หยาด ของเหลวที่ไหลหลุดออกมา เช่น หยดน้ำ หยดหมึก, ลักษณนามใช้เรียก สิ่งที่ไหลหลุดออกมาเช่นนั้น เช่น นํ้าหยดหนึ่ง นํ้าหมึก ๒ หยด.
  24. หย็อกหย็อย : ว. มีลักษณะเป็นเส้นหยิก ๆ งอ ๆ อย่างผมเด็กเล็ก ๆ.
  25. หย็อง ๒ : ก. ทําให้เป็นฝอยฟู ๆ เช่น เอาเนื้อหมูไปหย็อง, เรียกเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ ที่ทําให้เป็นฝอยฟู ๆ ว่า หมูหย็อง ไก่หย็อง.
  26. หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ : ว. ทําท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ.
  27. หย่อม, หย่อม ๆ : น. หมู่เล็ก ๆ, กองเล็ก ๆ, เช่น หญ้าขึ้นเป็นหย่อม ๆ.
  28. หย็อมแหย็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น มีหนวดหย็อมแหย็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หร็อมแหร็ม ก็ว่า.
  29. หยัก, หยัก ๆ : ก. เฉือนหรือควั่นให้เป็นรอยคอด, ทําให้เป็นรอยเป็นแง่, เช่น หยักไม้. น. รอยควั่น, รอยคอด, เช่น ควั่นหัวเสาให้เป็นหยัก บากไม้ให้เป็นหยัก. ว. คด ๆ งอ ๆ เช่น เขียนเส้นหยัก ๆ.
  30. หย่า : ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านม หย่าศึก.
  31. หยาดน้ำฟ้า : น. นํ้าที่ตกจากบรรยากาศ (ฟ้า) ลงสู่พื้นดินในภาวะที่เป็นนํ้า หรือนํ้าแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ.
  32. หยำเป : (ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคน หยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยําเป.
  33. หยิก : ก. ใช้เล็บ ๒ เล็บตามปรกติเป็นเล็บนิ้วหัวแม่มือกับเล็บนิ้วชี้จิกลงไปที่ เนื้อแล้วบิด,ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หนีบเนื้อแล้วบิด. ว. งอ, หงิก, ยู่ยี่, (ใช้แก่ผม ขน หรือใบไม้).
  34. หยิกหย็อง : ก. หยิกเป็นฝอย เช่น ผมหยิกหย็อง.
  35. หยี่ : [หฺยี่] (โบ) น. ผ้าพื้นขาวปักด้วยด้ายเป็นดอกดวงต่าง ๆ.
  36. หยี ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมี เมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดํา เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดํา.
  37. หยุมหยิม : ว. จุกจิก เช่น เขาเป็นคนหยุมหยิม. ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องสําคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก.
  38. หรดาลกลีบทอง : น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด เป็นแผ่นอัดแน่น หรือเป็นผง อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๔๙ สีเหลือง เป็นมัน มีสูตรเคมี As2S3 ใช้ประโยชน์เป็นสารให้สีเหลือง ใช้เขียนลายรดนํ้า สมุดดํา เป็นต้น. (อ. orpiment).
  39. หรดาลแดง : น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือ เป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้ม เป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม หนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทําให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทํากระสุนปืน ส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์ แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. (อ. realgar).
  40. หร็อมแหร็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น ต้นไม้ขึ้นหร็อมแหร็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หย็อมแหย็ม ก็ว่า.
  41. หรีด : น. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้ เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับใช้เคารพศพ, พวงหรีด ก็เรียก. (อ. wreath).
  42. หรี่ตา : ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติ สัญญาณบางอย่าง.
  43. หรุ่ม ๑ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ไส้ทําด้วยหมูหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผัดกับถั่วลิสง หัวหอม และเครื่องปรุง ห่อด้วยไข่โรยฝอยขนาดพอดีคํา.
  44. หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
  45. หลงละเมอ : ก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลง ละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.
  46. หลน : [หฺลน] ก. เคี่ยวของบางอย่างเช่นปลาร้าปลาเจ่าให้ละลายและงวดข้น เพื่อปรุงเป็นอาหาร. น. อาหารประเภทเครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย กะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้วใส่ปลาร้าหรือเต้าเจี้ยวแห้ง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกชื่อตามนั้น ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็ม หวาน เช่น ปลาร้าหลน เต้าเจี้ยวหลน เต้าหู้ยี้หลน ปลากุเลาหลนรับประทานกับ ผักสด.
  47. หลวง : ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
  48. หลวงพ่อ : (ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อ โสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรือ อยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.
  49. หล่อ : ก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็น รูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อ พระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่; ขังน้ำหรือน้ำมันไว้ เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอา น้ำมันจันทน์หล่อรักยม. (ปาก) ว. งาม เช่น รูปหล่อ.
  50. หลอกตา : ก. ทำให้เห็นขนาด ระยะทาง เป็นต้น ผิดไปจากความเป็นจริง เช่น ที่แปลงนี้หลอกตา ดูเล็กนิดเดียวแต่มีเนื้อที่หลายไร่. ว. ที่ทำให้เห็น ขนาดหรือรูปร่างผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เสื้อตัวนี้หลอกตา ใส่แล้ว ดูผอม กระจกหลอกตา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | [7251-7300] | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8091

(0.2322 sec)