หุ้นกู้ : (กฎ) น. ตราสารแห่งหนี้ที่แบ่งเป็นหน่วย ๆ แต่ละหน่วยมีมูลค่า เท่ากัน และกําหนดประโยชน์ตอบแทนไว้ล่วงหน้าในอัตราเท่ากัน ทุกหน่วย โดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะ ได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวม ถึงตั๋วเงิน. (อ. debenture).
หุ่นขี้ผึ้ง : น. หุ่นที่ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นต้น มักทำเป็นรูปคนที่มีชื่อเสียง สวม ใส่เสื้อผ้า มองดูคล้ายคนจริง ๆ.
หุ่นจีน : น. หุ่นชนิดหนึ่ง ทำเป็นตัวละครในวรรณกรรมจีน มีทั้งชนิด ครึ่งท่อนและเต็มตัว ใช้คนเชิดคนเดียว.
หุ่นพยนต์ : [-พะยน] น. รูปที่ผู้ทรงวิทยาคมเอาวัตถุมาผูกขึ้นแล้วเสกเป่า ให้เป็นเหมือนรูปที่มีชีวิต.
หุ่นยนต์ : น. หุ่นที่ทำเป็นรูปคนมีเครื่องกลไกภายใน สามารถทำงาน หลายอย่างแทนมนุษย์ได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ทำงานตามที่ถูกสั่ง โดยไม่ต้องใช้สมองและไม่มีชีวิตจิตใจดุจเป็นเครื่องจักรกล.
หุ่นไล่กา : น. หุ่นที่มักทำเป็นรูปคนสวมเสื้อผ้าสําหรับลวงนกกาให้กลัว ทำให้ไม่กล้าลงมากินพืชผลในไร่นา.
หุ้นส่วน : น. ทุนที่เข้ากันเพื่อทําการต่าง ๆ เช่น ค้าขายเป็นต้น; (ปาก) ผู้เป็น หุ้นส่วน.
หุ้นสามัญ : (กฎ) น. หุ้นธรรมดาของบริษัทจำกัด ซึ่งแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมี มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและผู้ถือหุ้นมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนหุ้น ที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
หุบเขา, หุบผา : น. แอ่งภูมิประเทศ ที่เป็นเส้นเป็นแนวยาว ๒ ข้างแอ่งขนาบ ด้วยพื้นแผ่นดินสูงหรือภูเขาหรือเทือกเขา.
หุบผาชัน : น. หุบผาลึกเกิดเพราะน้ำกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นร่องลึก ลงไป เหลือหน้าผาสองด้านสูงชัน.
หุ้ม : ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมอีกสิ่งหนึ่ง, อาการที่สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น กาบหรือเปลือกเป็นต้น โอบคลุมของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น หนังหุ้มกระดูก กาบกล้วยหุ้มหยวกเปลือกหุ้มกระพี้ รองเท้าหุ้มส้น.
หุ้มกลอง : [-กฺลอง] น. ด้านหัวหรือด้านท้ายของโบสถ์ วิหาร, ถ้าเป็นด้าน หัวหรือด้านท้ายของเรือนฝากระดาน เรียกว่า ด้านสกัด.
หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
หูกระต่าย : น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย, เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูก เป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย; เรียกเครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วย ผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดขอบหมวกสําหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง ว่า หมวกหูกระต่าย; ไม้ขวางเรือ อันที่สุดของหัวเรือหรือท้ายเรือ, กระทงเหิน ก็เรียก. (ดู กระทงเหิน ที่ กระทง๑). (รูปภาพ เงื่อนหูกระต่าย) (รูปภาพ หมวกหูกระต่าย)
หูกวาง : [-กฺวาง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Terminalia catappa L. ในวงศ์ Combretaceae ใบใหญ่ แตกกิ่งเป็นชั้น ๆ.
หูเข้าพรรษา : ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
หูแจว : น. วงด้ายดิบหรือเชือกที่ชุบนํ้าบิดให้เป็นเลข 8 อาระบิก (?) สําหรับคล้องแจวให้ยึดกับหลักแจว.
หูช้าง ๑ : น. แผ่นกระดานที่ทําเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสําหรับติดกับ มุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือ พลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สําหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.
หูด ๑ : น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่งขึ้นเป็นไตแข็ง.
หูปลาช่อน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Emilia sonchifolia (L.) DC. ex Wight ในวงศ์ Compositae ใบมีขน ขอบใบจัก กินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นประจํา.
หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
เหงือกปลาหมอ ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบ เป็นหนาม ชนิด A. ilicifolius L. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ, จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก.
เห็ด : น. ส่วนของเชื้อราที่ออกเป็นดอก แบ่งเป็น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งไม่มีพิษ กินได้ เช่น เห็ดโคน เห็ดฟาง อีกชนิดหนึ่งมีพิษ บางชนิดกินแล้วถึงตาย เช่น เห็ดระโงกหิน.
เหน่ง ๑ : [เหฺน่ง] ว. มีลักษณะใสเป็นมัน (มักใช้แก่ศีรษะโล้นหรือล้าน) เช่น หัวล้าน เหน่ง โกนหัวจนใสเหน่ง.
เห็นใจ : ก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ ยากของผู้อื่นเช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.
เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
เหนียง : [เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.
เหนี่ยง : [เหฺนี่ยง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus ในวงศ์ Hydrophilidae ลําตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สีดําตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่าง ของอกยาวยื่นไปถึงส่วนท้อง อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าต่าง ๆ, โดยปริยาย ใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมากว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง.
เหนียงนกกระทุง : น. (๑) ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. (๒) ชื่อไม้เถา ชนิด Aristolochia elegans L. ในวงศ์ Aristolochiaceae ดอกลายเป็น กระพุ้งเหมือนเหนียงนกกระทุง, นกกระทุง ก็เรียก.
เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
เหนียวแน่น : ว. มีความระมัดระวังมากในการใช้จ่าย เช่น เขาเป็นคน เหนียวแน่น; แน่นแฟ้น เช่น มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสองนี้ เหนียวแน่นมาก.
เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
เห็บน้ำ : น. ชื่อสัตว์ประเภทไรนํ้าซึ่งเกาะเบียนตามตัวปลา มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวยาวได้ถึง ๗ มิลลิเมตร ตัวแบน เมื่อมองทางด้านหลังจะเห็นหัวกับอก ติดกัน ท้องเล็กมากมองคล้ายหางที่โผล่ออกมา มีขา ๔ คู่ ใช้สําหรับว่ายนํ้า ปากมีอวัยวะคล้ายขาใช้เกาะยึดซึ่งต้องหงายท้องดูจึงจะเห็น ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Argulus indicus ในวงศ์ Argulidae.
เหม็ง : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเหม็งประตูใด โปออกประตูนั้น เจ้ามือ ใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกข้างเคียงซ้ายหรือขวา เป็นเจ๊า ถ้าออกประตูตรงข้าม เจ้ามือกิน เช่น เหม็ง ๒ ถ้าออก ๒ เป็นถูก ออกหน่วย ออก ๓ เป็นเจ๊า ออกครบ เจ้ามือกิน.
เหม่ง ๑ : [เหฺม่ง] ว. ใส, เป็นมัน.
เหมา ๑ : [เหฺมา] ก. คิดเป็นจํานวนรวม เช่น รับเหมา เหมาผลไม้ทั้งเข่ง; หาความ เช่น อย่าเหมาว่าฉันผิดคนเดียว.
เหมายัน : [เห-] (ดารา) น. จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคมเป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า เหมายัน (winter solstice), คู่กับ ครีษมายัน, ทักษิณายัน ก็เรียก. (ป., ส. หิม + ส. อายน).
เหมือด ๒ : [เหฺมือด] น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Symplocos วงศ์ Symplocaceae ใบแห้งสีเหลือง ดอกสีขาวออกเป็นช่อ กลิ่นหอม เช่น เหมือดหลวง [S. cochinchinensis (Lour.) S. Moore], เหมือดหอม (S. racemosa Roxb.).
เหมือนว่า, เหมือนหนึ่งว่า : สัน. ดุจว่า, ประหนึ่งว่า, เหมือนกับว่า, เช่น เขาพูดกับฉันเหมือนว่าฉันเป็นเพื่อนเขา เขารักฉันเหมือนหนึ่งว่าเป็น ลูกในไส้.
เหยาะแหยะ : [-แหฺยะ] ว. ย่อหย่อน, ทําเป็นเล่น, ไม่เอาจริงเอาจัง, เช่น ทำงานเหยาะแหยะ.
เหยียด : [เหฺยียด] ก. ทําสิ่งที่งออยู่ให้ตรง เช่น เหยียดเส้นลวด; ยาวตรงออกไปเต็ม ขนาด เช่น เหยียดแขน เหยียดขา; ในวิธีเลขโบราณว่า ลบออก เช่น เหยียด นพเป็นเอก คือ เอา ๙ ลบ ๑๐ เหลือ ๑; ดูถูก เช่น เหยียดผิว. ว. ยาวตรงออก ไปเต็มขนาด ในคำว่า ยาวเหยียด.
เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
เหยี่ยวข่าว : (ปาก) น. นักข่าว, คนที่หาข่าวได้รวดเร็วเป็นพิเศษ.
เหล็ก : น. ธาตุลําดับที่ ๒๖ สัญลักษณ์ Fe เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นเงาคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๓๖?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทําเหล็กหล่อ เหล็กพืด เหล็กกล้า. (อ. iron). ว. แข็งแกร่ง เช่น บุรุษเหล็ก.
เหล็กพืด : น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๒- ๐.๒๕ และมีสิ่งเจือปนอื่น ๆ รวมกันทั้งสิ้นน้อยกว่าร้อยละ ๐.๕ เรียกเหล็กเหนียว หลอมละลายที่ ๑๔๐๐?ซ.-๑๕๐๐?ซ., เหล็กเหนียว ก็เรียก, เรียกชนิดหนึ่งที่ เป็นแผ่นยาวอย่างเหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
เหล็กเส้น : น. เหล็กที่ทําเป็นเส้น มักมีลักษณะกลม.
เหล็กหมาด : น. เหล็กปลายแหลม มีด้าม สำหรับไชวัตถุให้เป็นรู.
เหลน : [เหฺลน] น. ลูกของหลานที่เป็นลูกของลูกเป็นต้น.
เหลว : [เหฺลว] ว. เป็นนํ้า, ไม่แข็ง; ไม่ได้เรื่อง.