คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
จันทรกานต์ : น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาวปนฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้า เหมือนวาวมุกในหอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง. (ส.; อ. moonstone).
เจ้าฟ้า ๑ : น. ชื่อกั้งขนาดกลางชนิด Acanthosquilla sirindhorn ในวงศ์ Nannosquillidae ลำตัวค่อนข้างแบนสีเหลืองนวล มีแถบสีดำ พาดขวางทุกปล้องตลอดความยาวลำตัวและแพนหาง ด้านบนของ หางนูนเป็น ๓ ลอน แต่ละลอนมีหนาม ๔-๖ อัน ขุดรูอยู่ตาม หาดทรายปนโคลน.
เจือปน : ก. เอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็น อันเดียวกัน.
ดินร่วน : น. ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนทรายกับขุยอินทรีย์ประกอบกัน มีสภาพซุย.
ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
ทองตากู : น. ทองตะโก. ทองทราย น. ทองที่เป็นเม็ด ๆ อย่างทรายปนอยู่กับทราย. ว. มี พื้นทาทองให้เป็นจุด ๆ อย่างเม็ดทราย.
นวล : ว. สีขาวปนเหลืองเล็กน้อย; ผ่องเป็นยองใย, งามผุดผ่อง, เช่น ผิวนวล. น. ผงแป้งที่โรยบนก้อนแป้งเวลานวดหรือปั้นเพื่อไม่ให้ติดมือติดภาชนะ เป็นต้น; ละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่าแก่จัด เช่น นวลมะม่วง นวลแตง นวลใบตอง.
น้อยโหน่ง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Annona reticulata L. ในวงศ์ Annonaceae ดอกคล้ายดอกน้อยหน่า แต่ผลโตกว่า เปลือกบางแต่เหนียว ค่อนข้างเรียบ ไม่นูนเป็นตา ๆ สีเขียวจาง ๆ ปนสีแดงเรื่อ ๆ เนื้อในผล หนาขาว รสหวานไม่สนิทเหมือนน้อยหน่า มีเมล็ดมาก.
แน่ ๑ : ว. แท้, จริง, ไม่เป็นอื่น, เช่น ทําแน่ ไปแน่; เก่ง, มีฝีมือดี, เช่น คนนี้ มือแน่มาก.
เบญกานี ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Polyscias scutellaria (Burm.f.) Fosberg ในวงศ์ Araliaceae แผ่นใบแบน ขอบใบห่อขึ้นเล็กน้อย ใบด้าน บนเป็นลายด่างสีขาวนวล เขียว และเขียวอ่อนปนกัน, ครุฑ กระทง ก็เรียก.
ปนเป : ว. ปนกันยุ่งจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร.
ปากจอบ : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Isopachys gyldenstolpei ในวงศ์ Scincidae ตัวกลมเป็นมัน สีนํ้าตาลเหลืองลายดํา หางสั้น ปลายตัดอาศัยตามดินร่วนหรือดินปนทราย, จิ้งเหลนด้วง ก็เรียก.
พรอด, พรอด ๆ : [พฺรอด] ว. เสียงดังอย่างเสียงของเหลวปนกับลมไหลออกจากช่อง เล็ก ๆ หรือขึ้นมาจากเลนตม. น. เรียกดินเลนที่ฟูดโป่งขึ้นมา เช่น พรอดปลาไหล คือดินที่โป่งขึ้นมาซึ่งเป็นที่มีปลาไหล, ฟอด ก็ว่า.
แมลงวันทอง : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Trypetidae หรือ Tephritidae รูปร่างคล้ายแมลงวันและมีขนาดลําตัวไล่เลี่ยกัน แต่ที่อกและท้องพื้นสีนํ้าตาลแก่ นั้นมีรอยแต้มสีเหลืองหรือเหลืองปนส้มเป็นดวงหรือเป็นแถบ ทําให้มองดู คล้ายสีทอง ที่มีเป็นสามัญ คือ ชนิด Dacus dorsalis ซึ่งในระยะที่เป็นตัวหนอน จะทําลายผลไม้.
ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
ยาดำ : น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตาม ขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวด แล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยาย หมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป.
ยาเส้นปรุง : (กฎ) น. ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ.
ยุ่ง : ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึง จะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามา เกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับ เขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.
ระคน : ก. ปนหรือผสมให้เข้ากันคละกันเป็นกลุ่มเป็นพวกเป็นต้น เช่น โจทย์ระคน.
ราตรี ๒ : [ตฺรี] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cestrum nocturnum L. ในวงศ์ Solanaceae ดอกเล็ก สีขาวปนเขียว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมแรงเฉพาะเวลากลางคืน.
ล้วน, ล้วน ๆ : ว. แท้, เป็นอย่างเดียวกันหมด, ไม่มีอะไรปน, เช่น ทองล้วน เงิน ล้วน ๆ.
ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
ลักลั่น : ว. ขาดความเป็นระเบียบทําให้เกิดเหลื่อมลํ้าไม่เป็นไปตาม กฎตามแบบตามลําดับเป็นต้น เช่น ทำงานลักลั่น เครื่องใช้ต่างชุด ต่างสำรับใช้ปนกันดูลักลั่น.
ศรีตรัง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Jacaranda filicifolia D. Don ในวงศ์ Bignoniaceae สูงประมาณ ๑๐ เมตร ใบเป็นฝอยเล็ก ดอกสีนํ้าเงินปนม่วง.
สถาปนา : [สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้นเช่นเลื่อนเจ้านายให้ สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มัก ใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สําคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนา ราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. ?าปน).
หมาป่า : น. ชื่อหมาหลายชนิดในวงศ์ Canidae มีถิ่นกําเนิดเกือบทั่วทุก ภูมิภาคของโลก ขนลําตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและ เขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด Canis vulpes พบในทวีปอเมริกาเหนือ, ชนิด Chrysocyon brachyurus พบในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus พบในทวีปยุโรป, ชนิด Fennecus zerda พบในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureus) และหมาใน (Cuon alpinus) พบในทวีปเอเชีย.
หางข้าว : น. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวง เรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).
อเวจี : น. ชื่อนรกขุม ๑ ในนรก ๘ ขุม ได้แก่ ๑. สัญชีวนรก ๒. กาฬสุตตนรก ๓. สังฆาฏนรก ๔. โรรุวนรก ๕. มหาโรรุวนรก ๖. ตาปนรก ๗. มหาตาปนรก ๘. อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมลึกที่สุดสําหรับลงโทษ แก่ผู้ที่มีบาปหนักที่สุด, ใช้เป็น อวิจี หรือ อวีจิ ก็มี.
ออกซิเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณ ร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วย ให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วย การหายใจของคนไข้. (อ. oxygen).
เอือด : ว. ชื้น เช่น เกลือเอือด ผ้าเอือด. (ถิ่นอีสาน) น. ดินที่มีธาตุเกลือ ปนอยู่และขึ้นเป็นขุยขาวที่หน้าดิน.
โอ่งมังกร : น. โอ่งดินเผาเคลือบ มีสีนํ้าตาลปนเหลือง มักมีลายเป็น รูปมังกร.
ปิ่น : น. เครื่องประดับสําหรับปักผมที่มุ่นเป็นจุก; จอม, ยอด, เช่น ปิ่นพิภพ.
ปี่ใน : น. ปี่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงปี่พาทย์ รูปร่างคล้ายปี่นอก เป็นปี่ ขนาดใหญ่ที่สุด ยาวราว ๔๑-๔๒ เซนติเมตร กว้างราว ๔.๕ เซนติเมตร เป็นปี่ที่ใช้กันมากที่สุด.
เปิ่น : (ปาก) ว. แสดงกิริยาอาการหรือกระทําการใด ๆ ผิดแปลกไปจาก ปรกติที่เป็นอยู่ในหมู่พวกหรือที่นิยมกันตามประเพณี เช่น แต่งตัวเปิ่น ทำท่าเปิ่น.
ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
undefined : น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนาม ว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูป สามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
ก : พยัญชนะตัวต้น เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก.
ก๊ก : น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
กก ๓ : น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชุ่มแฉะ ชนิดลําต้นกลมใช้ทอ หรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลม หรือ กกเสื่อ (Cyperus corymbosus Rottb., C. tegetiformis Roxb.) ที่ลําต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา (C. alternifolius L.) กกสามเหลี่ยม [Schoenoplectus grossus (L.f.) Palla] กกขนาก หรือ กกกระหนาก (C. difformis L.).
กก ๔ : ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอา เรื่องไปกกไว้.
กก ๖ : น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็น ด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
ก่ง : ก. ทำให้งอเป็นรูปโค้ง, ทำให้โค้ง, เช่น ก่งศร ก่งคอ, โก่ง ก็ว่า. ว. โค้ง เช่น คิ้วก่ง, โก่ง ก็ว่า.
กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
กง ๓ : น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ (เทียบมลายู กง, ตะเลง กง, ในความ เดียวกัน); ไม้สําหรับดีดฝ้ายมีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง.
กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
กงจักร : น. สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม มีริมเป็นแฉก ๆ โดยรอบ.
กงเต๊ก : น. การทําบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทําเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. (จ.).
กงพัด ๑ : น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับ พัดด้าย.