อนุประโยค : น. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
อนุปสัมบัน : [อะนุปะสําบัน] น. ผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ หมายถึง สามเณร และคฤหัสถ์, คู่กับ อุปสมบัน หรือ อุปสัมบัน. (ป.).
อนุพันธ์ : ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง. (วิทยา) น. สิ่งที่เกี่ยวเนื่อง เช่น น้ำมันระกำ เป็นอนุพันธ์ของสารฟีนอล. (ป., ส.).
อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา : [อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็น เป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก.
อนุรูป : ว. สมควร, เหมาะ, พอเพียง; เป็นไปตาม. (ป., ส.).
อนุวัต : ก. ทําตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
อนุสภากาชาด : (เลิก) น. ชื่อสมาคมสําหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.
อนุสัญญา : น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สําคัญเฉพาะเรื่อง ที่ ทําเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึก และผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
อนุสาวรีย์ : [อะนุสาวะรี] น. สิ่งที่สร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงบุคคลหรือเหตุการณ์ สําคัญเป็นต้น เช่น อาคาร หลุมฝังศพ รูปปั้น.
อเนกรรถประโยค : [อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยค โดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
อเนจอนาถ : [อะเหฺน็ดอะหฺนาด] ก. สลดใจเป็นอย่างยิ่ง. (ป. อนิจฺจ ว่า ไม่เที่ยง + อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
อปมงคล, อัปมงคล : [อะปะ, อับปะ] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย. (ป., ส.).
อปราชัย, อัปราชัย : [อะปะ, อับปะ] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้ หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).
อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
อปโลกน์ ๑, อุปโลกน์ : [อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. (ป. อปโลกน).
อภัพ, อภัพ : [อะพับ, อะพับพะ] ว. ไม่สมควร, เป็นไปไม่ได้. (ป. อภพฺพ; ส. อภวฺย).
อภัยโทษ : [อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา หรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดี ถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.
อภิชนาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่งที่มีอภิชนเป็นใหญ่. (ป. อภิ + ชน + อธิปเตยฺย). (อ. aristocracy).
อภิปรัชญา : [อะพิปฺรัดยา, อะพิปฺรัดชะยา] น. ปรัชญาสาขาหนึ่ง ว่าด้วยความ แท้จริง ซึ่งเป็นเนื้อหาสําคัญของปรัชญา. (อ. metaphysics).
อภิราม : ว. น่ายินดียิ่ง, เป็นที่พอใจยิ่ง, งดงามยิ่ง. (ป., ส.).
อภิรุม : น. ฉัตรเครื่องสูงอย่างหนึ่ง ใช้ในกระบวนแห่ของหลวง หรือปัก เป็นเครื่องประดับเกียรติยศ, โบราณเขียนเป็น อภิรม ก็มี.
อภิสมโพธิ, อภิสัมโพธิ : [อะพิสมโพด, สําโพทิ] น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).
อภิสัมโพธิญาณ : [อะพิสำโพทิยาน] น. ญาณคือความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า.
อมต, อมตะ : [อะมะตะ, อะมะตะ] ว. ไม่ตาย เช่น อมตธรรม, เป็นที่นิยมยั่งยืน เช่น เพลงอมตะ. น. พระนิพพาน. (ป.; ส. อมฺฤต).
อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
อมเพลิง : [เพฺลิง] น. เรียกไม้เสาที่มีเปลือกและกระพี้เป็นชั้น ๆ ว่า เสาอมเพลิง ถือว่าเป็นเสาไม่ดี.
อมภูมิ : [พูม] ก. ไม่ยอมแสดงความรู้ทั้ง ๆ ที่มีความรู้ บางทีใช้ หมายถึงทำท่าทางคล้าย ๆ รู้ แต่ความจริงไม่รู้ เช่น ทำเป็นอมภูมิ.
อมยิ้ม : ว. ยิ้มน้อย ๆ โดยไม่เผยอริมฝีปาก. น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาล มีสีต่าง ๆ เป็นรูปกลม ๆ หรือแบน ๆ เสียบไม้.
อมรโคยานทวีป : น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.
อยาก : [หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่, เช่น อยากเป็นใหญ่ เป็นโต อยากมีเงิน; หิว, กระหาย, (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.
อย่างไร : ว. ใช้ในประโยคคําถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือ ความเห็นเป็นต้น เช่น จะทําอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ใน ประโยคที่ไม่เป็นคําถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
อยู่ : [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากําลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
อยู่ดีกินดี : ว. มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย.
อยู่ ๆ, อยู่ดี ๆ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.
อยู่อัตรา : (โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติ อยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.
อยู่อาสา : (โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็ง และประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).
อรไท : [ออระไท] น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์), ใช้ว่า อ่อนไท้ ก็มี.
อรพินท์ : [ออระ] น. ดอกบัว, (โบ) เขียนเป็น อรพินธุ ก็มี เช่น อันประดับ ด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนประเวศน์). (ป., ส. อรวินฺท).
อรรถกร : [อัดถะกอน] ว. ให้ประโยชน์, เป็นประโยชน์. (ส. อรฺถกร).
อรรถกวี : [อัดถะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรอง ตามความเป็นจริง.
อรรธจันทร์ : [อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขาย หรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.
อรหัตมรรค :
น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. (ส. อรฺหตฺตฺว + มารฺค; ป. อรหตฺตมคฺค). (ดู มรรค).
อรหัต, อรหัต : [อะระหัด, ออระหัด, อะระหัดตะ, ออระหัดตะ] น. ความเป็น พระอรหันต์. (ป. อรหตฺต; ส. อรฺหตฺตฺว).
อรหันตฆาต : น. การฆ่าพระอรหันต์, นับว่าเป็นบาปหนักที่สุด อย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕ อันได้แก่ ๑. ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา ๒. มาตุฆาต คือ ฆ่ามารดา ๓. อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท คือ ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. สังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป.).
อรหันต, อรหันต์ : [อะระหันตะ, ออระหันตะ, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริย บุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ อนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
อรัญญิก : น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก. (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น. (จารึกสยาม). ว. ที่เกี่ยวกับป่า เช่น อรัญญิกาวาส. (ป. อาร?ฺ??ก ว่า เกี่ยวกับป่า).
อรินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชา หรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
อริยมรรค : น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทาง ดําเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).