อริย, อริยะ : [อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
อรูปพรหม :
[อะรูบปะพฺรม] น. เทพในพรหมโลกตามคติ พระพุทธศาสนา เป็นจำพวกไม่มีรูป มี ๔ ชั้น, คู่กับ รูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม).
อรูป, อรูป : [อะรูบ, อะรูบปะ] ว. ไม่มีรูป, ไม่ใช่รูป; ที่เป็นนามธรรม. (ป., ส.). อรูปฌาน [อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
อลเวง : [อนละ] ว. เซ็งแซ่, ไม่เป็นระเบียบ.
อลัชชี : ว. ไม่อาย, นอกจารีต. น. ผู้ไม่อาย (ใช้แก่นักพรต), ผู้ประพฤติ นอกจารีต, เช่น พระรูปนี้เป็นอลัชชี. (ป.).
อลิงค์, อลึงค์ : (ไว) น. เพศของคําที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว. (ส. อลิงฺค).
อโลหะ : น. ธาตุซึ่งมีสมบัติไม่เป็นโลหะ เช่น ถ่าน ออกซิเจน กํามะถัน ฟอสฟอรัส พวกอโลหะเมื่ออยู่ในสภาพไอออนจะเป็นไอออนลบ.
อวดอ้าง : ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกิน ความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไป จากความจริงมาประกอบ.
อวตาร : [อะวะตาน] ก. แบ่งภาคมาเกิดในโลก (ใช้แก่พระนารายณ์) เช่น พระนารายณ์อวตารเป็นปลา. (ส.).
อวน : น. ชื่อเครื่องจับปลา มีหลายชนิด ถักเป็นตาข่ายผืนยาว ใช้ล้อมจับปลา.
อวนลาก : น. อวนชนิดที่ใช้ผูกตอนกลางอวนไว้กับเรือ คนหนึ่งอยู่ข้าง ตลิ่งยึดคันไม้ชายอวนข้างหนึ่งไว้ และอีกคนหนึ่งจับคันไม้ชายอวน อีกข้างหนึ่งเดินลุยนํ้าเป็นรูปครึ่งวงกลมเข้าตลิ่ง, กัดลาก ก็เรียก.
อวบน้ำ : ว. มีเนื้อชุ่มนํ้า (ใช้แก่พืช) เช่น ต้นกระบองเพชรเป็นพืช ที่มีลําต้นอวบนํ้า.
อวัสดา : [อะวัดสะดา] น. ฐานะ, ความเป็นอยู่; เวลา, สมัย. (ส. อวสฺถา; ป. อวตฺถา).
อวิญญาณกทรัพย์ : (กฎ; โบ) น. สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่ง นับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน.
อวิโรธน์, อวิโรธนะ : [อะวิโรด, อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความ ไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).
อวิหิงสา :
น. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม).
อสังกมทรัพย์ : [อะสังกะมะซับ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจใช้ของอื่น ที่เป็นประเภทและชนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ สังกมทรัพย์.
อสังหาริมทรัพย์ : น. ทรัพย์ที่นําไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ เช่น ที่ดิน; (กฎ) ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการ ถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวม ถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือ ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย, คู่กับ สังหาริมทรัพย์.
อสัญกรรม : น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
อสิเลสะ, อาศเลษา : [อะสิเลสะ, อาสะเลสา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๙ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปแขนคู้ หรือพ้อม, ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง ก็เรียก.
อสีตยานุพยัญชนะ : [อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็น พระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ ด้วยลักษณะสําคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอย พระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).
อสุภกรรมฐาน : [กํามะถาน] น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็น อารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของ สังขาร. (ป. อสุภกมฺมฏฺ?าน).
อสุภสัญญา : น. การกําหนดรู้ว่าเป็นของไม่สวยงาม.
อสุภ, อสุภ : [อะสุบ, อะสุบพะ] ว. ไม่งาม, ไม่สวย, ไม่ดี. น. เรียกซากศพว่า อสุภ และเลือนไปเป็น อสภ และ อาสภ ก็มี. (ป.).
อสุร : [อะสุระ] น. อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).
อห : [อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคําที่มาจาก ภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.
อหังการ : [อะ] น. การยึดว่าเป็นตัวเรา; ความเย่อหยิ่งจองหอง, ความทะนงตัว, ความก้าวร้าวด้วยการถือว่าตนเองสำคัญ. ก. หยิ่ง, จองหอง, อวดดี. (ป., ส.).
อเหตุกทิฐิ : [อะเหตุกะทิดถิ] น. ความเห็นว่าบาปบุญในโลกไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เป็นความเห็นของเดียรถีย์พวกหนึ่ง. (ป. อเหตุกทิฏฺ??).
อ้อ ๑ : น. ชื่อหญ้าชนิด Arundo donax L. ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ในที่ชื้นแฉะ ลําต้นแข็งเป็นปล้อง ข้างในกลวง.
ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
ออกไข้หัว : (โบ) ก. อาการที่ไข้หัวผุดขึ้นมา, เป็นไข้หัว.
ออกไซด์ : น. สารประกอบที่มีองค์ประกอบเป็นธาตุออกซิเจนกับธาตุอื่น. (อ. oxide).
ออกท่า, ออกท่าออกทาง : ก. แสดงกิริยาอาการเป็นท่าทางต่าง ๆ.
ออกไท้ : (โบ; กลอน) น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่ หมายถึง กษัตริย์ เช่น คิดปรานีออกไท้ รอยราชละห้อยไห้ ถึงลูกแลนะหัว ลูกเอยฯ. (ลอ).
ออกบวช : ก. ไปถือเพศเป็นพระหรือนักพรตอื่น ๆ; ทางศาสนา อิสลาม หมายถึง เลิกถือศีลอด.
ออกฝี, ออกฝีดาษ : ก. เป็นฝีดาษ, (โบ) ออกไข้หัว.
ออกรส : ว. มีรสมีชาติ, โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่ชอบอก ชอบใจ, สนุกสนาน.
ออกโรง : ก. ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อได้ฝึกหัดมาแล้ว; แสดง ด้วยตนเองเป็นครั้งคราว ในคำว่า ออกโรงเอง.
ออกลูกหมด :
ก. เปลี่ยนการบรรเลงเพลงธรรมดาไปเป็น เพลงลูกหมด. (ดู ลูกหมด ที่ ลูก).
ออกสิบสองภาษา : น. เรียกเพลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงแม่บทโดย นำเพลงที่บรรเลงออกสำเนียงภาษาของชาติอื่น ๆ มารวมกันเข้า เป็นชุดมี ๑๒ ภาษา ว่า เพลงออกสิบสองภาษา.
ออกหัด : ก. เป็นโรคหัด.
ออเจ้า : (โบ) ส. คําใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อน ทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่า ออเจ้า. (ม. คําหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
อ่อนไท้ : (กลอน) น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียก นางกษัตริย์) เช่น จอมราชพิศพักตรา อ่อนไท้. (ลอ), ใช้ว่า อรไท ก็มี.
อ่อนหวาน : ว. ไพเราะ, น่าฟัง, เช่น เขาเป็นคนพูดจาอ่อนหวาน; งามละมุนละไม เช่น หน้าตาอ่อนหวาน.
อ้อย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum officinarum L. ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลําต้นเป็นปล้อง ข้างในตัน มีหลายพันธุ์ เช่น อ้อยขาไก่ อ้อยตะเภา หีบเอานํ้าหวานทํานํ้าตาลทรายหรือใช้ดื่ม หรือเคี้ยวกิน แต่นํ้าหวาน.
อ่อย ๑ : ก. โปรยเหยื่อล่อปลา, มักใช้ว่า อ่อยเหยื่อ; ให้สิ่งของหรือเงินทอง คราวละเล็กละน้อยเป็นเหยื่อล่อ.
ออสเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๖ สัญลักษณ์ Os เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๐๐?ซ. เนื้อแข็งมาก ใช้ประโยชน์นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. osmium).
อะเซทิลีน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H2 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี เป็นพิษ จุดไฟติด ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นนําไปจุดกับ แก๊สออกซิเจนได้เปลวไฟออกซิอะเซทิลีนซึ่งร้อนจัดจนใช้เชื่อม และตัดโลหะได้ ใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อสังเคราะห์สารอื่นได้มากมาย. (อ. acetylene).
อะตอม : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทําปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลาง และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom).
อะนะ, อะหนะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].