อะเมริเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๙๕ สัญลักษณ์ Am เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. americium).
อะลูมิเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๓ สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว คล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๖๖๐?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะเจือ ใช้ทําเครื่องครัว. (อ. aluminium).
อัก : น. เครื่องสําหรับคัดด้ายหรือไหม มีรูปคล้ายระวิง สําหรับพันด้าย หรือไหมเป็นตอน ๆ ตามลําดับเส้นใหญ่และเล็ก.
อักโกธะ : น. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป.).
อักษรกลาง : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็น เสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียง จัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
อักษรต่ำ : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้น พื้น เสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
อักษรสาส์น : [อักสอนระสาด, อักสอนสาด] น. จดหมายของ ประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่าอักสอนสาน) ก็ได้.
อักษรสูง : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงเอก ผันด้วย วรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คําตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.
อักษะ : น. เพลา, แกน. (ส.); เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่าย สัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายอักษะ.
อักเสบ : ว. มีพิษกําเริบเนื่องจากแผลเป็นต้น; มีปฏิกิริยาตอบสนองป้องกัน เฉพาะที่ชนิดเฉียบพลัน มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีไข้ เช่น ข้ออักเสบเฉียบพลัน, ชนิดเรื้อรัง การดำเนินโรคเป็นไปช้า ๆ ไม่รุนแรง และมักมีเนื้อพังผืดเกิดขึ้น เช่น ข้ออักเสบเรื้อรัง. ก. เกิดปฏิกิริยาตอบสนองป้องกันเฉพาะที่.
อัคร : [อักคฺระ] ว. เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี. (ส.; ป. อคฺค).
อังกฤษ : [กฺริด] น. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชนผิวขาวพวกหนึ่ง ที่อยู่ในเกาะทางทิศตะวันตกของทวีปยุโรปซึ่งเรียกว่า เกรตบริเตน; เรียกโลหะชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ สีคล้ายทองคําหรือสีอื่น ๆ ก็มี ใช้สลักหรือปรุเป็นลายประดับเครื่องศพเป็นต้นว่า ทองอังกฤษ.
อังคาร : [คาน] น. ชื่อวันที่ ๓ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๔ ใน ระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖,๗๘๗ กิโลเมตร มีพื้น ผิวขรุขระ และมีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ มีบริวาร ๒ ดวง; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว. (ป., ส.)
อังคีรส : [คีรด] ว. มีรัศมีซ่านออกจากพระกาย, เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง. (ป., ส.).
อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
อัจเจกะ : ว. ผิดปรกติ, บังเอิญเป็น; รีบร้อน; จำเป็น. (ป.).
อัจฉริยภาพ : น. ความเป็นผู้มีปัญญาความสามารถเกินกว่า ระดับปรกติมาก.
อัจฉริยลักษณ์, อัจฉริยลักษณะ : น. ลักษณะดีเด่นเป็นที่น่าอัศจรรย์ เช่น อัจฉริยลักษณ์ของภาษาไทย อัจฉริยลักษณะของมหาบุรุษ.
อัญชลี : น. การประนมมือ, การไหว้, บางทีใช้เป็น อัญชุลี หรือ ใช้ละว่า ชุลี ก็มี. (ป., ส. อญฺชลิ).
อัญประกาศ : [อันยะ] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ '' '' สําหรับเขียนคร่อมคํา หรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้น ให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
อัญมณี : น. รัตนชาติที่เจียระไนแล้ว, แก้วมณีอื่น ๆ นอกจาก เพชรพลอย; (กฎ; โบ) ของมีค่าอื่น ๆ เช่น มันผู้หนึ่งล้อมไว้เป็น ไร่เป็นสวนมัน มันได้ปลูกสรรพอัญมณีในที่นั้นไว้ ให้ลดอากร ไว้แก่มันปีหนึ่ง. (สามดวง).
อัญมัญ : [อันยะมันยะ] ว. ซึ่งกันและกัน, แก่กันและกัน, ของกันและกัน, เช่น เป็นอัญมัญปัจจัย คือ เป็นปัจจัยของกันและกัน. (ป. อ?ฺ?มญฺ?).
อัญรูป : [อันยะ] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนําไป ทําปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบ อันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนําอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.
อัฐเคราะห์ : (โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจํา ทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็น แผนภูมิดังนี้ (รูปภาพ) ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไป ตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรีและศุกร์เป็นกาลกรรณี.
อัฐยายซื้อขนมยาย : (สํา) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอ แต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้น โดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทําอย่างอื่นในทํานอง เดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่น ของผู้นั้น.
อัฒจันทร์ : น. ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สําหรับดูการแสดงมีลักษณะเป็นรูป ครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขายหรือก้าวขึ้นลงทําเป็นขั้น ๆ, อรรธจันทร์ ก็ว่า.
อัตคัด : [อัดตะ] ว. ขัดสน, ฝืดเคือง, ยากจน, เช่น เขาเป็นคนอัตคัด. ก. มีน้อย, ขาดแคลน, เช่น อัตคัดผม อัตคัดน้ำ.
อัตตาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. การถือตนเองเป็นใหญ่. (ป. อตฺตาธิปเตยฺย); ระบอบการปกครองที่ผู้นํามีอํานาจเด็ดขาด และไม่จํากัด. (อ. autocracy).
อัตโนมัติ : [อัดตะ] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลําพังตน, เช่นในคําว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทําหน้าที่ได้ใน ตัวเอง, มีกลไกทําหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
อัตภาพ : น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).
อัตรา : [อัดตฺรา] น. ระดับที่กําหนดไว้, จํานวนที่จํากัดไว้ตามเกณฑ์, เช่น อัตราภาษี อัตราเร็ว. ว. เป็นประจําตามกําหนด, สมํ่าเสมอ, เป็นนิจ, เช่น แล้วให้เทศนาอัตราไป. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญ พระเกียรติ ร. ๓).
อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
อัตเหตุ : [เหด] ว. เพราะตนเป็นเหตุ; เห็นแก่ตัว. (ป. อตฺตเหตุ).
อัธยาศัย : [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
อันดร : [ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคําอื่น เป็นส่วนท้าย ของคําสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
อันตรภาค : [พาก] (สถิติ) น. ช่วงคะแนนหรือขอบเขตของคะแนน เป็นต้นในขั้นหนึ่ง ๆ ในตารางแจกแจงความถี่ เช่น อันตรภาคของ คะแนนตั้งแต่ ๘๖๑๐๐ เป็นอันดับ ๑.
อันตรายิกธรรม : [ยิกะทํา] น. ''ธรรมที่ทําอันตราย'' หมายถึง เหตุ ขัดขวาง เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นโรคเรื้อนเป็นต้น. (ป. อนฺตรายิกธมฺม).
อันเตวาสิก : น. ''ชนผู้อยู่ในภายใน'' หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครอง หรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. (ป.).
อันเต, อันโต : คําใช้เป็นส่วนหน้าสมาส หมายความว่า ภายใน.
อันโตนาที : น. ระยะเวลาโคจรของพระอาทิตย์ภายในราศีหนึ่ง ๆ โดยคิดเป็นวันใน ๑ ปี แล้วเทียบส่วนมาเป็นมหานาทีใน ๑ วัน (๑ มหานาที เท่ากับ ๒๔ นาที) เช่น อยู่ในราศีเมษ ๕ มหานาที ราศีพฤษภ ๔ มหานาที ราศีเมถุน ๓ มหานาที.
อันแถ้ง : (กลอน) ว. งามอ้อนแอ้น, เขียนเป็น อรรแถ้ง ก็มี เช่น พระองค์ กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง. (ลอ).
อันวย, อันวัย : [อันวะยะ] น. การเป็นไปตาม, การอนุโลมตาม, เช่น อันวยาเนกรรถประโยค. (ป.).
อันว่า : ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
อับสปอร์ : น. โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุง ห่อหุ้มสปอร์ เป็นที่เกิดของสปอร์.
อัปมงคล : [อับปะ] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย, อปมงคล ก็ว่า. (ป., ส.).
อัปราชัย : [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคน ชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
อัปรีย์ : [อับปฺรี] ว. ระยํา, จัญไร, เลวทราม, ตํ่าช้า, ชั่วช้า, ไม่เป็นมงคล. (ส. อปฺริย; ป. อปฺปิย).
อัปลักษณ์ : [อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็น มงคล, เช่น รูปร่างอัปลักษณ์ หน้าตาอัปลักษณ์, อปลักษณ์ ก็ว่า. (ส. อปลกฺษณ; ป. อปลกฺขณ).
อัพโพหาริก : ว. ไม่ควรกล่าวอ้าง, ไม่ควรอ้างเป็นกฎเกณฑ์ คือ ไม่ควรนับว่าผิด วินัยหรือกฎหมาย เช่นผู้กินแกงซึ่งปรุงด้วยเหล้าบางอย่างเพื่อ ฆ่าคาวหรือชูรสการกินเหล้าในที่นี้เป็น อัพโพหาริก คือ ไม่ควร นับว่ากินเหล้า. (ป.).