อัพภาน : [อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืน เป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).
อัพยากฤต : [อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศล หรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).
อัมพฤกษ์ : [อํามะพฺรึก] น. ชื่อเส้นซึ่งเป็นศูนย์กลางของร่างกาย อยู่ด้านหน้าท้อง; อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาอ่อนแรง.
อัมพา : น. แม่, หญิงดี, (เป็นชื่อยกย่อง). (ป., ส.).
อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
อัยยะ : น. ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย. (ป.).
อัลตราไวโอเลต : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่นประมาณ ระหว่าง ๔ x ๑๐-๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐-๙ เมตร แสงแดดมีรังสีอัลตรา ไวโอเลต ซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7 dehydrocholesterol) ในผิวหนังมนุษย์ ให้กลายเป็นวิตามินดี, รังสี เหนือม่วง ก็เรียก. (อ. ultraviolet).
อัศวมุข, อัศวมุขี : ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ส.; ป. อสฺสมุขี).
อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
อัศวินี, อัศสนี : [อัดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑ มี ๗ ดวง เห็นเป็นรูปคอม้า หรือหางหนู, ดาวคอกม้า ดาวคู่ม้า ดาวม้า หรือ ดาวอัศวยุช ก็เรียก.
อัษฎมงคล, อัษฏมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).
อัสกัณ :
[อัดสะกัน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๗ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อสฺสกณฺณ; ส. อศฺวกรฺณ). (ดู สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
อัสมิมานะ : [อัดสะ] (แบบ) น. มานะว่าเป็นเรา, การถือเขาถือเรา. (ป.).
อัสมุขี : ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป. อสฺสมุขี; ส. อศฺวมุขี).
อัสสนี, อัศวินี : [อัดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑ มี ๗ ดวง เห็นเป็นรูปคอม้าหรือหางหนู, ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า ดาวม้า หรือ ดาวอัศวยุช ก็เรียก.
อา ๑ : น. น้องของพ่อ, (โบ) เขียนเป็น อาว์ ก็มี. (อีสาน อา ว่า น้องสาว ของพ่อ, อาว ว่า น้องชายของพ่อ).
อากรแสตมป์ : [สะแตม] (กฎ) น. ดวงตราที่ปิดทับ ดุน หรือ พิมพ์บนกระดาษ เพื่อใช้เป็นค่าอากรตามประมวลรัษฎากร.
อาการนาม : [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือ ความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา ''การ'' หรือ ''ความ'' นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.
อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
อากูล : [กูน] ว. คั่งค้าง เช่น การงานไม่อากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. อากุล).
อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
อ้าขาผวาปีก, อ้าขาพวาปีก : (สำ) ก. หาเรื่องมาเป็นภาระของตนโดย ไม่จำเป็น เช่น เขามีฐานะยากจนอยู่แล้วยังจะอ้าขาผวาปีกไปขอเด็ก มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมอีก งานก็มากอยู่แล้ว ทำไมจะต้องอ้าขาพวาปีก ไปรับงานอื่นมาอีก.
อาคารชุด : (กฎ) น. อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ ออกได้เป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง. (อ. condominium).
อ้าง : ก. ระบุ, บ่งถึง, เช่น อ้างพยาน; กล่าวถึง, ชี้เป็นหลัก, เช่น อ้างบาลี; ถือเอา เช่น อ้างสิทธิ.
อ่าง ๒ : ว. อาการที่พูดไม่ใคร่ออกทันใจ คือกว่าจะพูดได้แต่ละคําต้องยํ้า เป็นอ่าง หรือ พูดติดอ่าง.
อ้างอิง : ก. ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน, ยกมากล่าวเป็นหลัก, เช่น ในการให้ความหมายของคำ เขามักอ้างอิงพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. ว. ที่ระบุที่มาเพื่อเป็นหลักฐาน เช่น พจนานุกรมเป็นหนังสืออ้างอิง เอกสารอ้างอิง.
อาจ : ว. กล้า ในคำว่า อาจหาญ; สามารถ เช่น เรื่องยาก ๆ อย่างนี้เขาทำได้ ผมไม่อาจทำได้อย่างเขา; เป็นคําช่วยกริยาบอกความคาดคะเน เช่น พรุ่งนี้เขาอาจมาประชุมได้ หรือใช้แสดงว่าสิ่งหนึ่งใช้แทนอีก สิ่งหนึ่งได้ เช่น เมื่อไม่มีกะทิก็อาจใช้นมสดได้.
อาจิณสมาจาร : [อาจินนะสะมาจาน] น. มรรยาทที่เคยประพฤติมา จนติดเป็นนิสัย. (ป. อาจิณฺณสมาจาร).
อาจิณ, อาจิณ : [จิน, จินนะ] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
อาชญา : [อาดยา, อาดชะยา] น. อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชําระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชําระความแพ่ง; คํา อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คํา อาญา เป็นพื้น.
อาชญากร : [อาดยากอน, อาดชะยากอน] น. ผู้ก่ออาชญากรรม, ผู้กระทําความผิดที่เป็นคดีอาญา.
อาชญาสิทธิ์ : [อาดยาสิด, อาดชะยาสิด] น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิ ที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม เป็นต้น, อาญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็น เครื่องหมาย ซึ่งเรียกว่า พระแสงอาชญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาญาสิทธิ์.
อาชวะ : [อาดชะวะ] น. ความซื่อตรง, ความตรงไปตรงมา, ความมีสัตย์, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. อาชฺชว, ส. อารฺชว).
อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).
อาชีพ, อาชีว, อาชีวะ : น. การเลี้ยงชีวิต, การทํามาหากิน; งานที่ทําเป็นประจําเพื่อเลี้ยงชีพ. (ป., ส.).
อาญาสิทธิ์ : น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทาน จากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงครามเป็นต้น, อาชญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็นเครื่องหมาย เรียกว่า พระแสง อาญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาชญาสิทธิ์.
อาตมภาพ, อาตมา ๑ : [พาบ, อาดตะมา] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด สําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา).
อาถรรพ์, อาถรรพณ์, อาถรรพณะ : [ถัน, ถัน, ถับพะนะ] น. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท, การทํา พิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือ ทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทําพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์; อํานาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ เสานี้มีอาถรรพ์. (ส. อาถรฺวณ; ป. อาถพฺพณ).
อาทาน : น. การถือเอา, การรับ, การยึดถือ, มักใช้เป็นส่วนท้ายศัพท์ เช่น อุปาทาน สมาทาน. (ป., ส.).
อาทิ : น. ต้น ในคําว่า เป็นอาทิ, เป็นเบื้องต้น, ทีแรก, ข้อต้น. (ป., ส.).
อาทิตย, อาทิตย์ : [ทิดตะยะ, ทิด] น. ''เชื้ออทิติ'' คือ เทวดาพวกหนึ่งซึ่งเป็นลูกนาง อทิติผู้เป็นชายาพระกัศยปประชาบดี เทวดาพวกนี้มีจํานวนกล่าวไว้ ต่างกัน บ้างว่ามี ๕ องค์ บ้างว่ามี ๗ องค์ บ้างว่ามี ๑๒ องค์ ได้แก่ อินทราทิตย์ (พระอินทร์) วรุณาทิตย์ (พระพิรุณ) ฯลฯ สูรยาทิตย์ (พระอาทิตย์ที่ส่องโลก); ชื่อเทวดาพระเคราะห์ คือ สูรยาทิตย์; ดวงตะวัน (ชื่อเทวดาองค์หนึ่งในนิยาย), ในตํารานพเคราะห์นับ เอาเป็นดาวพระเคราะห์ที่ ๑; ชื่อวันที่ ๑ ของสัปดาห์; รอบ ๗ วัน เช่น ไม่ว่างตลอดอาทิตย์. (ส.; ป. อาทิจฺจ).
อาทีนพ, อาทีนวะ : [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรือ อาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).
อาทึก : ว. เป็นที่ต้น, ก่อน, แรก, เบื้องต้น. (ป. อาทิก).
อาเทสนาปาฏิหาริย์ : น. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่า อัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).
อาธาน : [ทาน] น. การตั้งไว้, การวางไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จิตกาธาน. (ส.).
อาน ๕ : (ถิ่นปักษ์ใต้) ว. เป็นหมัน, ไม่มีลูก, (ใช้เฉพาะสัตว์).