อิตเทรียม : [อิดเทฺรียม] น. ธาตุลําดับที่ ๓๙ สัญลักษณ์ Y เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของแข็งสีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๕๐๐?ซ. ใช้ประโยชน์นํา ไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์. (อ. yttrium).
อิตเทอร์เบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๐ สัญลักษณ์ Yb เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๘๒๔?ซ. (อ. ytterbium).
อิทธิปาฏิหาริย์ : น. ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้น วิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ใน ปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์. (ป.).
อิทธิพล : น. กําลังที่ยังผลให้สําเร็จ, อํานาจซึ่งแฝงอยู่ในบุคคล หรือรัฐ ซึ่งสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์, อํานาจ ที่สามารถบันดาลให้ผู้อื่นต้องคล้อยตามหรือทําตาม, อํานาจที่ สามารถบันดาลให้เป็นไปได้ต่าง ๆ เช่น อิทธิพลของดวงดาว, อํานาจนอกเหนือหน้าที่ เช่น ใช้อิทธิพลบังคับให้ยอม.
อินซูลิน : น. ฮอร์โมนประเภทโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งหย่อมเซลล์แลงเกอร์ฮานส์ (islets of Langerhans) ในตับอ่อนผลิตขึ้น มีสมบัติควบคุมการ เผาผลาญนํ้าตาลในร่างกาย ในทางแพทย์ใช้เป็นสารลดระดับ นํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (อ. insulin).
อินเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒?ซ. ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง เช่นทําอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่น ให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบ ด้วยเงินแล้ว. (อ. indium).
อินท์ : น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช, พระอินทร์; ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อินฺทฺร).
อินทนิล, อินทนิลน้ำ : [ทะนิน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lagerstroemia speciosa Pers. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีม่วงแดงหรือชมพู ออกเป็นช่อตั้งตรง เมล็ดและ ใบใช้ทํายาได้.
อินทร, อินทร์ : [อินทะ, อินทฺระ, อิน] น. ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).
อินทราภิเษก : [อินทฺรา] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นําเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอา ฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทําพิธีราชาภิเษก อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอํานาจได้ มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.
อินทรี ๑ : [ซี] น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเหยี่ยว ขามีขนปกคลุม กรงเล็บแข็งแรง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น อินทรีหัวนวล (Haliaeetus leucoryphus) อินทรีดํา (Ictinaetus malayensis) อินทรีปีกลาย (Aquila clanga).
อินทรี ๒ : [ซี] น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในหลายวงศ์ ลําตัวแบน ข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเป็นแฉกลึก อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวนํ้า เช่น อินทรีบั้ง (Scomberomorus commersoni) อินทรีจุด (S. guttatus) ในวงศ์ Scombridae.
อินธน์ : น. การจุดไฟ; เชื้อไฟ, ไม้สําหรับติดไฟ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของ สมาส เช่น นิรินธน์ ว่า ไม่มีเชื้อไฟ. (ป., ส.).
อิมัลชัน : น. สารผสมที่ประกอบด้วยของเหลวต่างชนิดกันตั้งแต่ ๒ ชนิด ขึ้นไปผสมกันอยู่ในลักษณะซึ่งของเหลวชนิดหนึ่งเป็นอย่างน้อย อยู่ในสภาพเป็นเม็ดเล็ก ๆ ลอยแผ่กระจายทั่วโดยสมํ่าเสมอ. (อ. emulsion).
อิริเดียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๗ สัญลักษณ์ Ir เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวคล้ายเงิน เนื้อแข็งมาก เป็นธาตุที่หนักที่สุดเท่าที่รู้จักกัน หลอมละลายที่ ๒๔๕๔?ซ. เป็นโลหะที่ทนทานต่อการสึกกร่อน ที่สุด ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. iridium).
อิเล็กตรอน : [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ อะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวล ๙.๑๐๙๑ x ๑๐-๓๑ กิโลกรัม. (อ. electron).
อิศวร : [อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).
อิษฏ์ ๑ : ว. น่าปรารถนา, น่ารัก, เป็นที่พอใจ. (ส.).
อิสรภาพ : น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นไทแก่ตัว; การปกครอง ตนเอง.
อิสร, อิสระ : [อิดสะหฺระ] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครอง ตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็น อิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).
อิสริยยศ : [อิดสะริยะยด] น. ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความ ยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศ ทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้า พระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดี ความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรม จึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระนามเดิม เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.
อิสริย, อิสริยะ : [อิดสะริยะ] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).
อิสริยาภรณ์ : น. ตราเครื่องประดับเกียรติยศ เรียกเป็นสามัญว่า เหรียญตรา.
อิสลาม : น. ศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก มีศาสดาชื่อมุฮัมมัด นับถือพระเจ้าองค์เดียวคืออัลลอฮ์ มีคัมภีร์อัลกุรอานเป็นหลัก ไม่มีนักบวช, เรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามว่า มุสลิม.
อิสินธร : [สินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๒ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็น วงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อิสินฺธร, อีสธร; ส. อีษาธร). (ดูสัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
อี ๑ : น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า, คําใช้ ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คําประกอบ คําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามาก ด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น อีหนู, คําประกอบ หน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้น ไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิง บริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่ เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชน ทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ใน ทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวด อยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอด อี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
อี๋ ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มนํ้าตาล.
อีก๋อย : น. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ตัวสีนํ้าตาลเทาลายดํา ปากยาวโค้ง ปลายแหลม ขายาว หากินเป็นฝูงตามชายหาด มีหลายชนิด เช่น อีก๋อยใหญ่ (Numenius arquata) อีก๋อยเล็ก (N. phaeopus), ก๋อย ก็เรียก.
อีฉุยอีแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็น ชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีหลุยฉุยแฉก ก็ว่า.
อีดำอีแดง ๒ : น. ชื่อโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นสีดําสีแดงตามตัว.
อีเทอร์ : น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทหนึ่ง มีสูตรทั่วไปเป็น ROR โดยทั่วไปมักหมายถึง ไดเอทิลอีเทอร์ ซึ่งมีสูตร C2H5OC2H5 ลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี มีขีดเดือด ๓๔.๖?ซ. ไวไฟมาก ใช้ประโยชน์เป็นยาดมสลบ เป็นตัวทําละลาย และใช้นําไปเตรียม สารเคมีอื่น. (อ. ether).
อีนูน : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่อไม้เถามีหัวชนิด Adenia pierrei Gagnep. และชนิด A. viridiflora Craib ในวงศ์ Passifloraceae ขึ้นปกคลุม ต้นไม้ตามป่าทั่วไป ทุกส่วนเป็นพิษ ยอดอ่อนดองแล้วกินได้, นางนูน หรือ ผักสาบ ก็เรียก.
อีโปง ๒, อีโปงครอบ : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ยซึ่งเรียกว่า ลูกอีโปง ลักษณะเป็นลูกบาศก์ หน้าทั้ง ๖ ด้านมีภาพนํ้าเต้า ปู ปลา กุ้ง เสือ ไก่ ให้ลูกค้าแทง ถ้าแทงถูกเจ้ามือใช้ ๓ ต่อ.
อีลุ่ยฉุยแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีหลุยฉุยแฉก หรือ อีฉุยอีแฉก ก็ว่า.
อีศ : [อีด] น. ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อีส).
อีส : [อีด] น. ผู้เป็นใหญ่. (ป.; ส. อีศ).
อีหรอบเดียวกัน : (สํา) ว. ทํานองเดียวกัน, แบบเดียวกัน, (มักใช้ใน ทางไม่ดี) เช่น พ่อเป็นขโมย ลูกก็อีหรอบเดียวกัน.
อีหลัดถัดทา : น. ส่วนหนึ่งแห่งคําร้องในการเล่นโมงครุ่มซึ่งเป็นมหรสพชนิดหนึ่ง ของหลวง โดยคนตีฆ้องจะร้องว่า ''อีหลัดถัดทา''.
อีหลุยฉุยแฉก : ก. กระจัดกระจาย, ไม่รวมอยู่แห่งเดียวกัน. ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, สุรุ่ยสุร่าย, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีฉุยอีแฉก ก็ว่า.
อีเห็น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียว กับชะมดและพังพอน ลําตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทําให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบท ประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
อีโหลกโขลกเขลก : [โหฺลกโขฺลกเขฺลก] ว. อาการที่ยานพาหนะเป็นต้นเคลื่อนที่ไป อย่างทุลักทุเล เช่น นั่งรถอีโหลกโขลกเขลกมาทั้งวัน, ไม่เป็นโล้ เป็นพาย, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, เช่น ใช้ชีวิตอีโหลกโขลกเขลกไป วันหนึ่ง ๆ.
อีแอ่น : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Apodidae, Hemiprocnidae, Hirundinidae และ Artamidae ตัวสีนํ้าตาลหรือดํา ปลายปีกแหลม ใช้เวลาส่วนใหญ่ บินโฉบแมลง มักอยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น อีแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) อีแอ่นตะโพกแดง (H. daurica) ในวงศ์ Hirundinidae อีแอ่นตาล (Cypsiurus balasiensis) ในวงศ์ Apodidae ชนิดที่นํารัง มากินได้ เช่น อีแอ่นกินรัง (Collocalia fuciphaga หรือ Aerodramus fuciphagus)ในวงศ์ Apodidae, นางแอ่น หรือ แอ่นลม ก็เรียก.
อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
อุดมการณ์ : [อุดมมะ, อุดม] น. หลักการที่วางระเบียบไว้เป็น แนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้.
อุดมคติ : [อุดมมะ, อุดม] น. จินตนาการที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน แห่งความดี ความงาม และความจริง ทางใดทางหนึ่งที่มนุษย์ ถือว่าเป็นเป้าหมายแห่งชีวิตของตน.
อุตตรายัน : [อุดตฺรา] (ดารา) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวัน ยาวที่สุด เรียกว่า อุตตรายัน (summer solstice), คู่กับ ทักษิณายัน, ครีษมายัน ก็เรียก. (ป. อุตฺตร + ส. อายน).
อุตตานภาพ : [อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัด ทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอ ล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).
อุตรกุรุทวีป, อุตรกุรูทวีป : [อุดตะระ] น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศ เหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีป หรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป. (ป., ส. อุตฺตรกุร + ส. ทวีป).
อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี : [อุดตะระผนละคุนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๒ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปงูเหลือม แรดตัวเมีย หรือเพดานตอนหลัง, ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตรผาลฺคุนี; ป. อุตฺตรผคฺคุนี).
อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ : [อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).