เอง : ว. คําเน้นแสดงว่าไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฉันเอง เป็นธรรมดา อยู่เอง; ตามลําพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง; แหละ, นี่แหละ, นั่นแหละ, เช่น แค่นั้นเอง.
เอ็ง : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้พูดกับผู้น้อยหรือใช้พูดกับ เพื่อนฝูงที่อยู่ในวัยเดียวกัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
เอตทัคคะ : [เอตะ] น. ผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ. (ป.).
เอทิลแอลกอฮอล์ : น. แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H5OH ลักษณะเป็นของเหลว ใสไม่มีสี มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. จุดไฟติด ดื่มเข้าไปทําให้เกิดอาการ มึนเมา เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราเมรัยทุกประเภท ใช้ประโยชน์ เป็นตัวทําละลายเป็นเชื้อเพลิงและใช้สังเคราะห์สารเคมีอื่นได้มากมาย. (อ. ethyl alcohol).
เอน : ว. อาการของสิ่งที่มีลักษณะยาวหรือเป็นแผ่นเป็นต้น ตั้งอยู่ แต่ ไม่ตรง เช่น เสาเอน ต้นไม้เอน ฝาเอน.
เอนไซม์ : น. สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ของกรรมวิธีต่าง ๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก. (อ. enzyme).
เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
เอราวัณ : น. ช้าง ๓๓ เศียรเป็นพาหนะของพระอินทร์. (ป. เอราวณ; ส. ไอราวณ).
เออ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคําที่ผู้ใหญ่ ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คําที่เปล่งออกมา แสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
เออแน่ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงว่า ไม่น่าจะเป็น อย่างนั้น.
เออร์เบียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๘ สัญลักษณ์ Er เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เป็นเงาวาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๔๙๗?ซ. ใช้ประโยชน์นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. erbium).
เอ้อเร้อ : ว. มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อเอ้อเต่อ ก็ว่า; มากเกินไป อย่างไม่เป็นระเบียบ.
เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
เอาจริง ๑, เอาจริงเอาจัง : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจัง, ถือเอาเป็นแน่นอน.
เอาแต่ใจ : ว. ถือใจตนเป็นใหญ่.
เอาทารย์ : [ทาน] น. ความมีใจโอบอ้อม, ความเป็นคนใจบุญ, ความเผื่อแผ่. (ส. เอาทารฺย).
เอาปูนหมายหัว : (สํา) ก. ผูกอาฆาตไว้, คาดโทษไว้, เชื่อแน่ว่า จะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้, ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้.
เอาผิด : ก. ถือว่าเป็นความผิด.
เอาเยี่ยง : ก. ทำตามเฉพาะที่เห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์.
เอาเรื่อง : ก. ถือเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เจ้าของเขาจะเอาเรื่อง. ว. ยิ่งกว่าธรรมดา, มาก, เช่น เผ็ดเอาเรื่อง; เอาจริง เอาจริงเอาจัง เช่น เขาเป็นคนเอาเรื่อง.
เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม : (สำ) ก. เอาลูกของคนอื่นมา เลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้.
เอาหน้า : ก. อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ เช่น ทำบุญเอาหน้าหรือ อยากได้บุญคุณ เช่น เขามาเอาหน้ากับฉันว่าเป็นคนเสนอชื่อฉัน ให้ได้รับรางวัล; เรียกการทํางานเฉพาะงานที่ผู้ใหญ่รู้เห็นเพื่อหวัง ประโยชน์ว่า ทํางานเอาหน้า.
เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ : (สํา) ก. แสร้งทําเป็นไม่รู้ไม่เห็นไม่สนใจ.
เอาใหญ่เอาโต : ก. วางตัวเป็นคนใหญ่คนโตให้ผู้อื่นนอบน้อมหรือ แสดงท่าทางว่าเป็นคนมีอำนาจ.
เอี้ยง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น กินแมลงและ ผลไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เอี้ยงสาริกา หรือ สาลิกา (Acridotheres tristis) เอี้ยงหงอน (A. javanicus) เอี้ยงหัวสีทอง (Ampeliceps coronatus) เอี้ยงดําปักษ์ใต้ (Aplonis panayensis).
เอี้ยมจุ๊น : น. ชื่อเรือขนาดใหญ่ ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สําหรับขนถ่าย และบรรทุกสินค้า. (จ.).
เอือน ๒ : น. ลักษณะของเนื้อมะพร้าวแก่ที่บาง ขรุขระเหมือนผิวมะกรูด มีรสออกหวานไม่มัน เรียกว่า มะพร้าวเป็นเอือน หรือ มะพร้าว เอือนกิน.
เอือนกิน : ว. เรียกลักษณะมะพร้าวเป็นเอือนว่า มะพร้าวเอือนกิน.
เอื้อย : (โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย. (สามดวง); เรียก พี่สาวคนโตว่า พี่เอื้อย, (ปาก) เรียกผู้ที่หมู่คณะยกย่องให้เป็น หัวหน้าว่า พี่เอื้อย.
แอกทิเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๘๙ สัญลักษณ์ Ac เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๐๕๐?ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มี ปรากฏในธรรมชาติ. (อ. actinium).
แอ้ด ๑ : น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Gryllidae ลำตัวยาว ไม่เกิน ๒.๕ เซนติเมตร ส่วนใหญ่ปีกคู่หลังยาวกว่าปีกคู่หน้า เวลาพับปีกจะเห็นเป็นชายห้อยไปคล้ายมีหางคู่ โดยทั่วไปสีดำ ตลอดทั้งตัว เรียกว่า อ้ายแอ้ดชนิดที่พบเป็นสามัญ ได้แก่ ชนิด Acheta confermata, จิ้งหรีดผี ก็เรียก.
แอมมิเตอร์ : น. เครื่องมือที่ใช้สําหรับวัดค่าของกระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์. (อ. ammeter).
แอมโมเนีย : น. สารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร NH3 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี กลิ่นฉุน ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใน อุตสาหกรรมทําปุ๋ย กรดไนตริก ใยสังเคราะห์ เป็นตัวทําความเย็น. (อ. ammonia).
แอลกอฮอล์ : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหย ง่าย มีขีดเดือด ๗๘.๕?ซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกัน สั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภท แป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสําคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะ ออกฤทธิ์ทําให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําละลาย และ เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. (อ. alcohol, ethyl alcohol).
แอลฟา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาค แอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับ ฉากเรืองแสงจะทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. (อ. alpha rays).
แอสทาทีน : น. ธาตุลําดับที่ ๘๕ สัญลักษณ์ At เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ. (อ. astatine).
แอสไพริน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร CH3COO?C6H4?COOH ชื่อทางเคมี คือ acetylsalicylic acid ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๓๓?ซ. ใช้ในทางการแพทย์เป็นยาลดไข้และ ระงับปวด. (อ. aspirin).
โอ๋ : อ. คําที่เปล่งออกมาเป็นเสียงเช่นนั้นเพื่อปลอบเด็ก. ก. ตามใจ, เอาอกเอาใจ.
โอ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่หลายชนิดในวงศ์ Thunnidae อยู่เป็นฝูง ห่างฝั่ง รูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ด เล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เช่น โอหม้อ หรือ โอดํา (Thunnus tonggol) โอลาย (Euthynnus affinis).
โอ้กอ้าก : ว. เสียงอย่างเสียงอาเจียนติดต่อกัน, โดยปริยายหมายถึง อาการของผู้หญิงที่แพ้ท้องหรืออาการของผู้ที่จะเป็นลม.
โองการ : น. คําศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคําศักดิ์สิทธิ์มาจาก พระดํารัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).
โองโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
โอโซน : น. แก๊สชนิดหนึ่ง สีนํ้าเงิน กลิ่นฉุน เป็นอัญรูปของธาตุออกซิเจน มีสูตร O3 ใช้ประโยชน์ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าเพื่อใช้เป็นนํ้าดื่ม ใช้ฟอก จางสีของสารอินทรีย์บางอย่างเช่นเส้นใยที่ใช้ทอผ้า. (อ. ozone).
โอด : น. ชื่อเพลงสำหรับใช้เป็นหน้าพาทย์บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ สลบหรือตาย; วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่ง ซึ่งดำเนินไป โดยแช่มช้าโหยหวน และโศกซึ้ง. ก. ร้องไห้.
โอดโอย : ก. ร้องเพราะความเจ็บปวด, (ปาก) ร้องเรียนว่าไม่ได้รับ ความเป็นธรรมเป็นต้น.
โอน : ก. น้อมลง, โน้ม; ยกไปไว้อีกที่หนึ่ง เช่น โอนบัญชี; ยอมมอบให้; ย้ายสังกัด; (กฎ) ทําให้สิทธิตกไปเป็นของบุคคลอื่น เช่น โอนกรรมสิทธิ์.
โอนกรรมสิทธิ์ : (กฎ) ก. โอนสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ให้แก่บุคคลอื่น.
โอภาปราศรัย : [ปฺราไส] ก. ทักทายด้วยความสนิทสนมเป็นกันเอง.
โอม : น. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามา ใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือ เป็นคําศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคํา ขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).
โอละพ่อ : ว. กลับตรงกันข้าม อย่างกลับหน้ามือเป็นหลังมือ. น. คําขึ้นต้น ที่พวกระเบ็งร้องและรําในการมหรสพของหลวงเช่นพระราชพิธี โสกันต์.