Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นลำดับ, ลำดับ, เป็น , then ปน, เป็น, เป็นลำดับ, ลำดับ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นลำดับ, 8095 found, display 7901-7950
  1. อุตตานภาพ : [อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัด ทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอ ล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).
  2. อุตรกุรุทวีป, อุตรกุรูทวีป : [อุดตะระ] น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศ เหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีป หรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป. (ป., ส. อุตฺตรกุร + ส. ทวีป).
  3. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี : [อุดตะระผนละคุนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๒ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปงูเหลือม แรดตัวเมีย หรือเพดานตอนหลัง, ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตรผาลฺคุนี; ป. อุตฺตรผคฺคุนี).
  4. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ : [อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).
  5. อุตราษาฒ, อุตตราอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ : [อุดตะราสาด, อุดตะรา อาสาด, อุดตะราสานหะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๑ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูป ครุฑหรือช้างพัง, ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตราษาฒ; ป. อุตฺตราสาฬฺห).
  6. อุทกวิทยา : น. วิชาว่าด้วยนํ้าที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาถึงสาเหตุ การเกิด การหมุนเวียน ตลอดจนคุณลักษณะของนํ้า รวมทั้งการ นํานํ้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์. (ป., ส. อุทก + ส. วิทฺยา).
  7. อุทยานแห่งชาติ : (กฎ) น. พื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ได้สงวน รักษาไว้ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพื่อให้เป็นประโยชน์ แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกา ประกาศกําหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วย อุทยานแห่งชาติ.
  8. อุทาหรณ์ : [หอน] น. ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น, สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมา เทียบเคียงเป็นตัวอย่าง. (ป., ส.).
  9. อุ่นหนาฝาคั่ง : ว. มั่นคง, มีหลักฐานเป็นที่พักพิงมั่นคง, เช่น มีฐานะ อุ่นหนาฝาคั่ง; มากมายคับคั่ง เช่น งานนี้มีผู้คนมาอุ่นหนาฝาคั่ง.
  10. อุบ ๒ : ก. นิ่งไว้ไม่เปิดเผย เช่น เรื่องนี้อุบไว้ก่อน; ถือเอา, ริบเอา, เช่น อุบเอามาเป็นของตน, ไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลง เช่น ที่รับปาก ไว้แล้ว อุบละนะ. ว. อาการที่พูดหรือบ่นเบา ๆ เป็นต้น เช่น ด่าอุบ บ่นอุบ, อุบอิบ อุบอิบ ๆ หรือ อุบ ๆ อิบ ๆ ก็ว่า.
  11. อุบะ : น. เป็นดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายแล้วเข้าพวงอย่างพู่สำหรับห้อยกับ มาลัย ห้อยระหว่างเฟื่อง หรือห้อยประดับข้างหูเป็นต้น.
  12. อุบัติเหตุ : น. เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด, ความบังเอิญเป็น.
  13. อุบาทว์ : ว. อัปรีย์, จัญไร, ไม่เป็นมงคล. (ป. อุปทฺทว; ส. อุปทฺรว).
  14. อุบาท, อุปบาท : [อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กําเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).
  15. อุเบกขา : น. ความเที่ยงธรรม, ความวางตัวเป็นกลาง, ความวางใจเฉยอยู่, เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป. อุเปกฺขา).
  16. อุปกรณ์ : [อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่อง ประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดย เจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจําอยู่ กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นํามา สู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนํามาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำ โดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็น ประธานนั้น. (ป., ส.).
  17. อุปนิษัท : [อุปะ, อุบปะ] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์ อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).
  18. อุปนิสัย : [อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาใน สันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้อง ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจน เกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).
  19. อุปบล : [อุบบน] (แบบ) น. อุบล, บัวสาย, ดอกบัว, มักใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาส เช่น นีลุปบล ว่า บัวขาบ. (ป. อุปฺปล).
  20. อุปรากร : [อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็น ส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).
  21. อุปริภาพ : น. ฐานะหรือความเป็นอยู่อย่างสูง. (ป., ส. อุปริภาว).
  22. อุปโลกน์ : [อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็น หัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า. (ป. อปโลกน).
  23. อุปเวท : [อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ ''พระเวทรอง'' ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรือ อาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็น สาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชา การดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).
  24. อุปสมบท : [อุปะสมบด, อุบปะสมบด] ก. บวชเป็นภิกษุ. (ป. อุปสมฺปทา).
  25. อุปสมบทกรรม : [บดทะกำ] น. การบวชเป็นภิกษุ.
  26. อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
  27. อุปสัมปทา : [อุปะสำปะทา, อุบปะสำปะทา] น. การบวชเป็นภิกษุ. (ป., ส.).
  28. อุปสัมปทาเปกข์, อุปสัมปทาเปกษ์ : [อุปะสำปะทาเปก, อุบปะสำปะทาเปก] น. ''ผู้เพ่งอุปสมบท'' คือ นาคที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วและจะ ขอบวชเป็นภิกษุต่อไป. (ป. อุปสมฺปทาเปกฺข; ส. อุปสมฺปทาเปกฺษ).
  29. อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
  30. อุปัชฌาย, อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ : [อุปัดชายะ, อุบปัดชายะ, อุปัดชา, อุบปัดชา] น. พระเถระผู้เป็น ประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. อุปาธฺยาย).
  31. อุปัฏฐาก : [อุปัดถาก, อุบปัดถาก] น. ผู้อุปถัมภ์บํารุงพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็น หญิงใช้ อุปัฏฐายิกา. (ป.).
  32. อุปาทาน : [อุปาทาน, อุบปาทาน] น. การยึดมั่นถือมั่น, การนึกเอาเองแล้ว ยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ. (ป.).
  33. อุ๊ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงอาการตกใจ มักเป็นเสียงผู้หญิง.
  34. อุยยาน : น. อุทยาน, สวนเป็นที่รื่นรมย์. (ป.; ส. อุทฺยาน).
  35. อุลกมณี : [อุนละกะมะนี] น. อุกกาบาตที่นำมาเจียระไนทำเป็นเครื่อง ประดับ เชื่อว่าเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่ง.
  36. อุแว้ : ก. ร้อง (ใช้แก่เด็กแดง ๆ) เช่น เด็กคนนี้ พออุแว้ออกมาก็มีเงิน เป็นล้านแล้ว, แว้ ก็ว่า. ว. เสียงอย่างเสียงเด็กแดง ๆ ร้อง เช่น เสียงลูกร้องอุแว้, แว้ ก็ว่า.
  37. อุสภ ๑ : [อุสบ] น. วัวผู้ (เป็นเครื่องหมายแสดงความสามารถของบุรุษ ผู้นักรบ), เขียนเป็น อุสุภ ก็มี. (ป.; ส. ฤษภ, วฺฤษฺภ).
  38. อุสุม : น. ไอ, ไออุ่น; ความร้อน; ฤดูร้อน, แผลงใช้เป็น อรสุม ก็มี เช่น อรสุมพล = กําลังไอนํ้า; ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มี ลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่ เสียง ศ ษ ส. '' (ป.; ส. อุษฺมนฺ).
  39. อุฬาร : [ลาน] ว. ใหญ่โต, โอ่โถง, กว้างขวาง; ยิ่งใหญ่, เลิศล้น; ประเสริฐ, ดี; แผลงเป็น โอฬาร หรือ เอาฬาร ก็ได้. (ป.).
  40. เอ้ : ว. สําคัญ, หัวโจก, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น เขาเป็นตัวเอ้ใน การชวนเพื่อนหนีโรงเรียน.
  41. เอกฉันท์ : [เอกกะ] ว. มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด.
  42. เอกเทศ : [เอกกะเทด] น. ส่วนหนึ่งต่างหาก, เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เขาแยกตัวไปทำงานเป็นเอกเทศ.
  43. เอกภพ : [เอกกะ] (ดารา) น. ระบบซึ่งเป็นผลรวมของกาแล็กซี ทั้งหมด. (อ. universe); (สถิติ) จํานวนประชากรทั้งหมดที่นํามา พิจารณาหรือหาตัวอย่าง.
  44. เอกภาพ : [เอกกะ] น. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน; ความ สอดคล้องกลมกลืนกัน. (อ. unity).
  45. เอกมัย : [เอกกะ] ว. เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เป็นแบบเหมือนกัน.
  46. เอกราช : [เอกกะราด] ว. เป็นอิสระแก่ตน, ไม่ขึ้นแก่ใคร.
  47. เอกสาร : [เอกกะ] น. หนังสือที่เป็นหลักฐาน; (กฎ) กระดาษหรือ วัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทําให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่น อันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น.
  48. เอกสารสิทธิ : [เอกกะสานสิด] (กฎ) น. เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่ง การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ.
  49. เอกอัครราชทูต : [เอกอักคฺระ] น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐ แต่งตั้งไปประจํายังสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็น ตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติ ของตนในรัฐนั้น ๆ. (อ. ambassador).
  50. เอกอัครสมณทูต : [เอกอักคฺระ] น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปา ทรงแต่งตั้งไปประจําสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทน ทางการทูต รวมทั้งทําหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชน นิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับ เอกอัครราชทูต. (อ. nuncio).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | [7901-7950] | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8095

(0.3106 sec)