Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นอดีต, เป็น, อดีต , then ปน, เป็น, เป็นอดีต, อดีต, อตีต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นอดีต, 8096 found, display 1451-1500
  1. เกยลา : น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านาย รองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา; นอกชาน.
  2. เกร็ด ๑ : [เกฺร็ด] น. ลําน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลําน้ำใหญ่สายเดียวกัน ทั้ง ๒ ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี.
  3. เกร็ด ๒ : [เกฺร็ด] น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจ ที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคล สำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขัน ในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา.
  4. เกรอะ : [เกฺรอะ] ก. แยกเอาแต่ส่วนที่เป็นน้ำใสหรือส่วนละเอียดที่นอนก้น อยู่ด้วยเครื่องกรองมีผ้าหนาหรือกระดาษฟางเป็นต้น เช่น เกรอะน้ำปลา เกรอะแป้ง. ว. เป็นตะกอนทับถมอย่างของที่นอนก้นซับซ้อนอยู่ เช่น ตะกอนเกรอะ, เขรอะ หรือ เขลอะ ก็ว่า.
  5. เกริ่น ๒ : [เกฺริ่น] (ถิ่น-จันทบุรี) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.
  6. เกรินบันไดนาค : น. เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญพระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง.
  7. เกรียก ๑ : [เกฺรียก] ก. เอามีดสับ ผ่า หรือจักชิ้นไม้ให้ฉีกออกไปตามเนื้อไม้ เพื่อให้เป็นซีกเป็นเสี้ยวน้อย ๆ เช่น เกรียกไม้ทำเชื้อไฟ.
  8. เกรียง ๑ : [เกฺรียง] น. เครื่องมือสําหรับใช้ในการถือปูน ทําด้วยไม้หรือเหล็ก เป็นรูปแบน ๆ.
  9. เกรียบ : [เกฺรียบ] น. ตะกั่วที่ประสมโลหะบางอย่างเพื่อให้แข็ง เรียกว่า ตะกั่วเกรียบ; เรียกของกินทําด้วยข้าวเป็นแผ่น ๆ มีหลายอย่าง เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบอ่อน.
  10. เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
  11. เกรียมกรม : ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น กรมเกรียม เตรียมตรม หรือ ตรมเตรียม ก็ได้.
  12. เกรียว : [เกฺรียว] ว. ลักษณะที่ต่อเนื่องกันมาก ๆ เป็นแถว ๆ เช่น มากันเกรียว, ลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวพร้อม ๆ กัน เช่น ขนลุกเกรียว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง เช่น หมาเห่าเกรียว เล่นกันเกรียว.
  13. เกรียวกราว : ว. เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, โดยปริยายหมายความว่า ที่รู้และพูดกันทั่วไป เช่น เป็นข่าวเกรียวกราว.
  14. เกล็ด : น. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและ สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอา แต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.
  15. เกล็ดกระโห้ : น. ชื่อขนมทําด้วยแป้ง น้ำตาล ไข่ เป็นแผ่น ๆ คล้ายเกล็ดปลากระโห้ ผิงให้สุกกรอบ.
  16. เกล็ดนาค : น. ชื่อลายมีรูปเป็นครึ่งวงกลมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา.
  17. เกล้ากระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก หรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  18. เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  19. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  20. เกลือกรด : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่แปร สภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรด ถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่ไม่หมด เช่น โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต (NaHSO4). (อ. acid salt).
  21. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  22. เกลือเงิน : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ อุตสาหกรรมชุบโลหะให้เป็นเงิน.
  23. เกลื้อน : [เกฺลื้อน] น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา (Malassezia furfur) ขึ้นเป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, ขี้เกลื้อน ก็ว่า.
  24. เกลือปรกติ : (เคมี) น. เกลือที่เกิดขึ้นโดยธาตุไฮโดรเจนชนิดที่ แปรสภาพเป็นไอออนได้ ซึ่งมีอยู่ในโมเลกุลของกรดถูกโลหะหรือ หมู่ธาตุที่เทียบเท่าโลหะเข้ามาแทนที่จนหมดสิ้น เช่น โซเดียมซัลเฟต (Na2SO4). (อ. normal salt).
  25. เกศพ, เกศวะ : [-สบ, เกสะวะ] ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์ หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์. (ส.).
  26. เกษม : [กะเสม] น. ความสุขสบาย, ความปลอดภัย, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็นกระเษม, เขษม ก็มี). (ส.; ป. เขม).
  27. เกสร : [-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว, เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้; (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).
  28. เกะกะ : ว. กีด, ขวาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น วางของเกะกะ; ประพฤติเป็นพาลเกเร เช่น คนเกะกะ.
  29. เก๋า : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Serranidae ที่มีสีต่าง ๆ เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้าทึบ เช่น ตุ๊กแก (Epinephelus salmoides) หมอทะเล (Promicrops lanceolatus).
  30. เกาต์ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป เป็นผลให้เกิดการตกตะกอนเป็นเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อบริเวณข้อ เช่น ที่ข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ข้อเท้า หรือ บริเวณอวัยวะอื่น ทําให้มี อาการบวมและปวด. (อ. gout).
  31. เกาะ ๒ : ก. จับหรือยึดสิ่งใดไว้เพื่อทรงอยู่ เช่น นกเกาะกิ่งไม้ แมงมุมเกาะฝา, เอาสิ่งมีขอเป็นต้นเกี่ยวเข้ากับสิ่งอื่นเพื่อให้ติดอยู่ เช่น เอาขอเกาะต้นไม้, โดยปริยายหมายความถึงอาการที่เข้าไปติดแน่นอยู่ เช่น ปลิงเกาะ หรือเข้าเป็นหมู่หรือกลุ่มเดียวกัน เช่น ดินเกาะเป็นก้อนบินเกาะหมู่ วิ่งเกาะกลุ่ม; ไปเอาตัวมาโดยอํานาจศาลเป็นต้น เช่น ไปเกาะตัวมา.
  32. เกาะแกะ : ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เช่น มันเกาะแกะเกินก้ำเป็นธรรมดา. (ขุนช้างขุนแผน), เคาะแคะ ก็ว่า.
  33. เกิด : ก. เป็นขึ้น, มีขึ้น, กําเนิด; มีขึ้นเป็นขึ้นโดยกะทันหัน เช่น เกิดตายไปเสียก่อนที่จะได้รับมรดก เกิดฝนตกลงมา.
  34. เกียกกาย ๑ : น. กองเสบียง (เป็นส่วนหนึ่งในกองทัพ), หัวหน้าแห่งกองเสบียงนั้น.
  35. เกียง : ก. เกี่ยง, รังเกียจ, ไม่ลงรอย, เกี่ยงแย่ง, เกี่ยงแย้ง, เช่น คนใดอันรังร้าย จิตรพิศเกียงกล. (จารึกวัดโพธิ์), โดยมากใช้เป็น เกี่ยง.
  36. เกี้ยมอี๋ : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง. (จ. ว่า เจียมอี๊).
  37. เกียร์ : น. กลอุปกรณ์ที่ส่งผ่านกําลังและการเคลื่อนที่จากส่วนหนึ่งไปยังอีก ส่วนหนึ่งของเครื่องกล; ส่วนหนึ่งของรถยนต์ เรือยนต์ เป็นต้น ต่อจากคลัตช์ ทําหน้าที่เปลี่ยนอัตราส่วนการทดรอบระหว่าง เครื่องยนต์กับล้อ, เขียนเป็น เกีย ก็มี. (อ. gear).
  38. เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
  39. เกี๊ยว : น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลี ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).
  40. เกี้ยว ๑ : น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่ง อย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
  41. เกี่ยวดอง : ว. นับเป็นญาติกันทางเขยหรือสะใภ้.
  42. เกี้ยวประทีป : น. ซุ้มไฟทําเป็นรูปอย่างเกี้ยว.
  43. แก้ ๑ : น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สําหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).
  44. แก ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒; (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  45. แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
  46. แก้เคล็ด : ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือ ป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา.
  47. แกง : น. กับข้าวประเภทที่เป็นน้า มีชื่อต่าง ๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม. (ดูที่คํานั้น ๆ). ก. ทํากับข้าว ประเภทที่เป็นแกง.
  48. แก๊ง : (ปาก) น. กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล. (อ. gang).
  49. แกงขม : น. เครื่องกินกับขนมจีนน้ายา มีมะระหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วลวกให้สุก.
  50. แกงจืด : น. กับข้าวที่ปรุงเป็นน้า รสไม่เผ็ด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | [1451-1500] | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8096

(0.1747 sec)