Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นอดีต, เป็น, อดีต , then ปน, เป็น, เป็นอดีต, อดีต, อตีต .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นอดีต, 8096 found, display 7551-7600
  1. ไหล ๒ : น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยชอนไปแตกเป็นหน่อ ขึ้น, หางไหล ก็เรียก.
  2. ไหว้ : ก. ทําความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม, ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือ ผู้ทรงศีลต้องก้มศีรษะลงแต่พองาม.
  3. : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
  4. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  5. อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
  6. อก ๑ : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียก เลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
  7. อกไก่ ๑ : น. เรียกอกคนที่มีลักษณะนูนยื่นออกมาอย่างอกของไก่; ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอกของไก่ เรียกว่า บัวอกไก่.
  8. อกไก่ ๒ : น. ไม้เครื่องบนที่พาดเบื้องบนเป็นสันหลังคาเหนือใบดั้ง.
  9. อกตเวทิตา : [อะกะตะ] น. ความเป็นผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ความเป็นผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญุตา. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ + ตา ว่า ความเป็น].
  10. อกตเวที : [อะกะตะ] น. ผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ผู้ไม่ ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญู. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ].
  11. อกตัญญุตา : [อะกะตัน] น. ความเป็นผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทําแก่ตน. (ป.).
  12. อกทะเล : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง มักร้องหรือบรรเลงเป็นเพลงลา.
  13. อกร่อง : น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. อกเป็นร่อง.
  14. อกเลา : น. ไม้ที่เป็นสันทาบอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่างแบบโบราณ เพื่อบังช่องที่บานประตูหรือหน้าต่างทั้ง ๒ บานประกับกัน.
  15. อกไหม้ไส้ขม : (สำ) ก. เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส.
  16. อกุศลเจตนา : [อะกุสนละเจดตะนา] น. ความตั้งใจเป็นบาป, ความ คิดชั่ว. (ส.; ป. อกุสลเจตนา).
  17. อกุศล, อกุศล : [อะกุสน, อะกุสนละ] ว. ชั่ว, ไม่ดี, ไม่เป็นมงคล. (ส.; ป. อกุสล). น. สิ่งที่ไม่ดี, บาป.
  18. อโฆษะ : ว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียง ไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระ ในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).
  19. อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
  20. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  21. องค์การ : น. ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็น หน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในกฎหมายหรือในตราสารจัดตั้งซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคม หรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ. (อ. organization).
  22. องค์ประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, ส่วนประกอบ ก็เรียก
  23. องค์ประชุม : น. จํานวนสมาชิกหรือกรรมการที่มาประชุมตามข้อ บังคับการประชุมที่กำหนดไว้ เช่น กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อย ครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม.
  24. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  25. องศ์ : น. ส่วน, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ไตรยางศ์ (ตฺรย + อํศฺ) ว่า ๓ ส่วน.
  26. องุ่น : [อะหฺงุ่น] น. ชื่อไม้เถาชนิด Vitis vinifera L. ในวงศ์ Vitaceae ผลเป็นพวง กินได้หรือใช้หมักทําเหล้า เรียก เหล้าองุ่น.
  27. อจินไตย : [จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
  28. อดิศร, อดิศวร : [อะดิสอน, สวน] น. ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่. (ส. อติ + อีศฺร, อติ + อีศฺวร).
  29. อติ : [อะติ] คํานําหน้าคําที่มาจากบาลีและสันสกฤตให้มีใจความว่า พิเศษ, ยิ่ง, มาก, เลิศล้น; ผ่าน, ล่วง, พ้นเลยไป, เขียนเป็น อดิ ก็มี. (ป., ส.).
  30. อติเรกจีวร : น. จีวรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่ อธิษฐานเป็นไตรจีวร. (ป., ส.).
  31. อทระ, อารทรา : [อะทฺระ, อาระทฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๖ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปฉัตร, ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา ก็เรียก.
  32. อธรรม : [อะทํา] ว. ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. น. ความ ไม่มีธรรม, ความชั่วร้าย. (ส.).
  33. อธิกวาร : [วาน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้น เดือน ๗ เป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน. (ป.).
  34. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  35. อธิปไตย : [อะทิปะไต, อะทิบปะไต] น. อํานาจสูงสุดของรัฐที่ จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็นใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).
  36. อธิป, อธิป : [อะทิบ, อะทิปะ, อะทิบปะ] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้า คําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).
  37. อน : [อะนะ] เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์ บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. (ดู ๒ประกอบ).
  38. อนงค์ ๒ : [อะนง] (วรรณ) น. ผู้ไม่มีตัวตน เป็นชื่อหนึ่งของกามเทพ. (ส. อนงฺค ว่า ไม่มีตัวตน = ชื่อกามเทพ).
  39. อนรรถ : [อะนัด] ว. ไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีผล. (ส. อนรฺถ; ป. อนตฺถ).
  40. อนัญคติ : [อะนันยะคะติ] น. หนทางเดียว; ความจําเป็น. (ป. อน?ฺ?คติ).
  41. อนัญสาธารณ์ : [อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อน?ฺ?สาธารณ).
  42. อนันตริยกรรม : [ตะริยะกํา] น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรม ที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทําให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทําให้ สงฆ์แตกแยกกัน. (ป. อนนฺตริยกมฺม).
  43. อนากูล : ว. ไม่อากูล, ไม่คั่งค้าง, เช่น การงานอนากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. น + อากุล).
  44. อนาคามิมรรค : น. ทางปฏิบัติที่ให้สําเร็จเป็นพระอนาคามี. (ส. อนาคามินฺ + มารฺค; ป. อนาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
  45. อนาคามี : น. ''ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก'' เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๓ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า พระอนาคา. (ป.; ส. อนาคามินฺ).
  46. อนาจาร : [อะนาจาน] น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทําการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกํานัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทําการลามกอย่างอื่น. ว. ลามก, น่าบัดสี, ทําให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่น ในด้านความดีงาม. (ป., ส.).
  47. อนาทร ๒ : [อะนาทอน] ก. เป็นทุกข์เป็นร้อน, ร้อนอกร้อนใจ, มักใช้ในความ ปฏิเสธว่า ไม่อนาทร อย่าอนาทร หมายความว่า ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน อย่าร้อนอกร้อนใจ.
  48. อนิยต : [อะนิยด] ว. ไม่แน่นอน. น. ชื่ออาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็น อาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้อง วินิจฉัย. (ป., ส.).
  49. อนีก, อนีกะ, อนึก : [อะนีกะ, อะนึก] น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. (ป., ส.).
  50. อนุ : คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | [7551-7600] | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8096

(0.2725 sec)