Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นจังหวะ, จังหวะ, เป็น , then จังหวะ, ปน, เป็น, เป็นจังหวะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นจังหวะ, 8110 found, display 3051-3100
  1. ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ : (สํา) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ ไม่เป็นอันตราย, เป็นคําเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่ สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้.
  2. ตกผลึก : ก. กลายเป็นผลึก (ใช้แก่สารละลาย).
  3. ตกพุ่มม่าย : ก. อยู่ในฐานะที่เป็นม่าย. ว. เรียกชายหรือหญิงที่หย่าขาด จากความเป็นผัวเมียกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายจากไป, เป็นม่าย ก็ว่า.
  4. ตกฟาก : ก. เกิด, เรียกเวลาที่เด็กออกพ้นครรภ์มารดาว่า เวลาตกฟาก (พื้นเรือนโบราณโดยมากเป็นฟาก); โดยปริยายใช้ในลักษณะที่พูดคํา เถียงคําไม่หยุดปากว่า เถียงคําไม่ตกฟาก.
  5. ต๋ง ๑ : ก. ชักเอาเงินไว้จากขาไพ่ที่เป็นผู้กินหรือลูกค้าที่แทงถูกในการพนัน บางชนิดเช่นถั่ว โป, เรียกเงินที่ได้โดยวิธีนี้ว่า เงินค่าต๋ง. (จ. ต๋งจุ้ย).
  6. ตงุ่น : [ตะหฺงุ่น] ว. เรียกนํ้าตาลที่เคี่ยวจนเป็นยางอย่างนํ้าผึ้งว่า นํ้าตาลตงุ่น.
  7. ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
  8. ตจสาร : [ตะจะสาน] น. ต้นไม้มีผิวเปลือกแข็งเช่นต้นไผ่. (ป. ตจสาร ว่า ต้นไม้มีเปลือกเป็นแก่น).
  9. ตถาคต : [ตะถาคด] น. พระนามพระพุทธเจ้า. (ป. ตถาคต ว่า พระผู้ไปแล้ว อย่างนั้น เป็นคําที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกพระองค์เอง).
  10. ตน : น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
  11. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  12. ต้นขั้ว : น. ส่วนต้นของใบเสร็จ เช็ค สลากกินแบ่ง เป็นต้น ที่ติดอยู่ใน เล่มเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน, หัวขั้ว ก็ว่า.
  13. ต้นแบบ : น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทําขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่ สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสําหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะ เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน.
  14. ต้นเพลิง : น. คนหรือสิ่งที่เป็นเหตุทําให้เกิดไฟไหม้; ผู้ที่จุดไฟเผาศพคนแรก.
  15. ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง : น. เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุก ๆ ๓ ปี; เครื่องสักการะ ที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้า แผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับ พระราชทานตั้งยศ.
  16. ต้นสายปลายเหตุ : น. ความเป็นมาของเรื่อง.
  17. ต้นเหตุ : น. คนหรือสัตว์เป็นต้นที่ทําให้เกิดเหตุเกิดเรื่อง.
  18. ตนุ ๒ : [ตะหฺนุ] น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Chelonia mydas ในวงศ์ Cheloniidae ตีนแบนเป็นพาย ตีนหน้าใหญ่ยาวใช้เป็นหลักในการว่ายนํ้า เกล็ดบนหลัง แต่ละเกล็ดมีลายเป็นทางคล้ายแสงอาทิตย์ จึงมีผู้เรียกว่า เต่าแสงอาทิตย์ ปรกติอาศัยอยู่ในทะเล จะขึ้นมาตามชายหาดเฉพาะเมื่อจะวางไข่เท่านั้น.
  19. ตบแต่ง : ก. ทําให้งาม; จัดให้ลูกสาวมีเรือนตามประเพณี เช่น ตบแต่ง ลูกสาวให้เป็นฝั่งเป็นฝา.
  20. ตบะ : น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความ เพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).
  21. ต้ม ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้ นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีกแล้วคลุกมะพร้าว ข้างนอก เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าว อย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง.
  22. ต้มปลาร้า : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้หัวตาลหรือหน่อไม้เป็นต้นเป็นผัก มี ลักษณะคล้ายแกงเลียง แต่ใส่ปลาร้า.
  23. ตรงกัน : ว. เหมือนกัน เช่น ความคิดตรงกัน, เป็นแนวเดียวกัน เช่น เข้าแถว ให้ตรงกัน.
  24. ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
  25. ตรมเตรียม : [-เตฺรียม] ก. ระทมใจจนหม่นไหม้, ใช้เป็น กรมเกรียม เกรียมกรม หรือ เตรียมตรม ก็ได้.
  26. ตรวน : [ตฺรวน] น. เครื่องจองจํานักโทษชนิดหนึ่ง เป็นห่วงเหล็ก ใช้สวมขานักโทษ มีโซ่ล่ามถึงกัน.
  27. ตรวย : [ตฺรวย] ก. พุ่งตรงมา เช่น บ้างเป็นเสาตรวยตรงลงถึงดิน. (อิเหนา).
  28. ตระชัก : น. ชื่อแพรชนิดหนึ่ง เนื้อเกลี้ยงเป็นมันด้านเดียว ทอเป็นลายสอง.
  29. ตระพอง : [ตฺระ-] น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กะพอง กระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
  30. ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  31. ตระหง่าน : [ตฺระหฺง่าน] ว. สูงเด่นเป็นสง่า.
  32. ตรัสรู้ : [ตฺรัดสะ-] ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า); โดยปริยายหมายความว่า รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้.
  33. ตรา : [ตฺรา] น. เครื่องหมายที่มีลวดลายและทําเป็นรูปต่าง ๆ สําหรับประทับเป็น ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ ประดับในจําพวกราชอิสริยาภรณ์ เช่น ตราช้างเผือก, สําหรับเป็นเครื่องหมาย เช่น ผ้าตรานกอินทรี. ก. ประทับเป็นสําคัญ เช่น ตราไว้; กําหนดไว้, จดจําไว้, เช่น ตราเอาไว้ที; ตั้งไว้ เช่น ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้.
  34. ตราขุนพล : น. ลายที่ขีดเป็นกากบาทที่ก้นหม้อตาลสําหรับปักไว้กันผี.
  35. ตราแดง : (โบ) น. หนังสือสําคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กําหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่งแล้ว งดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.
  36. ตราตั้ง : น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทาน ให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทําประโยชน์ในราชการส่วน พระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรม ความตกลงกัน.
  37. ตราบาป : น. บาปติดตัว, ความรู้สึกว่าเป็นบาปซึ่งมีฝังอยู่ในจิตใจตลอดไป.
  38. ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
  39. ตราสัง : ก. มัดศพ, ผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ ด้วยด้ายดิบเป็นต้น.
  40. ตราสาร : (กฎ) น. หนังสือสําคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น โฉนด ที่ดิน ตั๋วเงิน.
  41. ตราสิน : ก. แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน, จดทะเบียน, เช่น ตราสินหนังสือ พิมพ์ ตราสินชื่อย่อโทรเลข.
  42. ตรีกาย : น. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกาย มหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).
  43. ตรีโกณมิติ : [ตฺรีโกน-] น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยฟังก์ชันของตัวแปรจริง ซึ่งแทนขนาดของมุมใด ๆ, คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการใช้ฟังก์ชันของมุม เป็นรากฐานในการศึกษาสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหรือรูปอื่นใดที่ทอนลงมาเป็น รูปสามเหลี่ยมได้. (อ. trigonometry).
  44. ตรีทศ : น. เทวดา ๓๓ องค์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มิได้แยกว่าใครเป็นใคร หมายถึง พระอินทร์และบริวารพระอินทร์ ๓๒ องค์, ไตรทศ ก็เรียก. (ส. ตฺริทศ ว่า สามสิบ).
  45. ตรีเนตร : น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).
  46. ตรีปวาย : [ตฺรีปะ-] น. พิธีพราหมณ์กระทํารับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่ พระนารายณ์ ซึ่งกระทําในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุปปาไว).
  47. ตรียัมปวาย : [ตฺรียําปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทํารับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญ ว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทําในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).
  48. ตรีศูล : น. หลาวสามง่ามเป็นศัสตราประจําหัตถ์พระอิศวร.
  49. ตรีสาร : น. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓ อย่าง เป็นคําแพทย์ใช้ในตํารายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู. (ส.).
  50. ตรุษจีน : [ตฺรุด-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Bougainvillea glabra Choisy ในวงศ์ Nyctaginaceae ใบประดับสีม่วงแดง กลีบดอกสีขาวรวมติดกัน ปลูกเป็นไม้ประดับ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | [3051-3100] | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8110

(0.3358 sec)