Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นจังหวะ, จังหวะ, เป็น , then จังหวะ, ปน, เป็น, เป็นจังหวะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นจังหวะ, 8110 found, display 7001-7050
  1. สะดือ : น. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวําเข้าไป.
  2. สะดือทะเล : น. บริเวณทะเลตอนที่มีน้ำไหลวนเป็นเกลียวลึกลงไป ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางของทะเล.
  3. สะดุด ๑ : ก. อาการที่เดินหรือวิ่ง ปลายเท้าไปกระทบสิ่งที่ขวางหน้า ทําให้ก้าว ผิดจังหวะ เซ ถลา หรือหกล้ม เป็นต้น เช่น เขาสะดุดก้อนหินล้มลง เด็กวิ่งไปสะดุดตอไม้.
  4. สะเดา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. siamensis Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้. สะเดาอินเดีย น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. indica Juss. ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และ ใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนาที่ใช้เปลือก สกัดเป็นยาควินิน.
  5. สะตุ : ก. แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี ให้เป็นผง บริสุทธิ์โดยวิธีทําให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการสลาย กลายเป็นควันไป.
  6. สะทึน, สะทึ่น : (กลอน) ว. ใจผิดปรกติ, ใจเป็นทุกข์, เช่น พระทองผทมตื่นขึ้น สะทึ่นเที้ยรสระอื้น. (ลอ).
  7. สะบัก : น. กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลาย ด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด. (รูปภาพ สะบัก)
  8. สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
  9. สะบัดมือ : ก. ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยัง ไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป.
  10. สะบัดร้อนสะบัดหนาว : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจ กลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอ เห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
  11. สะบ้าหัวเข่า : น. กระดูกมีลักษณะกลม ๆ แบน ๆ คล้ายลูกสะบ้า มีเอ็น ยึดระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับกระดูกหน้าแข้ง ประกอบเป็น ส่วนนูนสุดของกระดูกหัวเข่า, ลูกสะบ้า ก็ว่า.
  12. สะเปะสะปะ : ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกต่อยสะเปะสะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น คนเมาเดิน สะเปะสะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนแขนขาก่ายกันสะเปะสะปะ, อาการที่พูดเลอะเทอะเรื่อยเจื้อยไม่มีประเด็น เช่น พูดสะเปะสะปะ.
  13. สะพรั่ง : ว. อาการที่สิ่งอย่างเดียวกันจำนวนมากปรากฏพร้อม ๆ กัน เช่น ดอกไม้ในสวนบานสะพรั่ง มะม่วงออกช่อสะพรั่ง เขามีลูกสาว ๓ คน กำลังเป็นสาวสะพรั่ง.
  14. สะพาน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลอง เป็นต้น บางทีทํายื่น ลงในนํ้าสําหรับขึ้นลง, ไม้ที่ทอดระหว่างหัวเสาสำหรับรับคอสอง ของอาคารที่เป็นตึกโบราณ, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง เช่น ตีสนิทกับน้องชายเพื่อเป็นสะพานไปรู้จักกับพี่สาว, ตะพาน ก็ว่า.
  15. สะพานเดินเรือ : น. พื้นที่ยกสูงขึ้นจากดาดฟ้าเรือ สําหรับนายเรือหรือ นายยามเรือเดิน หรือสําหรับต้นหน กัปตันเรือ หรือผู้บังคับการเรือ ควบคุมและสั่งการเกี่ยวกับการนําเรือในน่านนํ้าให้ปลอดภัย, (โบ) สะพานเดินเรือใช้เป็นหอบังคับการด้วย.
  16. สะพานทุ่น : น. สะพานชั่วคราวที่ใช้ทุ่นรองไม้กระดานเป็นต้นสําหรับ ข้ามแม่นํ้าลําคลอง.
  17. สะพานปลา : น. สะพานที่สร้างทอดยาวออกไปในนํ้า ใช้เป็นท่าเทียบ เรือประมงเพื่อขนปลาเป็นต้นขึ้นจากเรือ.
  18. สะพานลอย : น. สะพานสูงแคบ ๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนน ใช้เป็น ทางให้คนเดินข้ามถนน รถสามารถแล่นผ่านใต้สะพานได้, สะพานสูง กว้าง และยาวมาก มักสร้างคร่อมทางรถไฟหรือสี่แยกที่ถนนสาย สําคัญ ๆ ตัดกัน เพื่อให้รถยนต์แล่นผ่านไปมาได้โดยไม่ต้องรอให้ รถไฟผ่านหรือรอสัญญาณไฟ.
  19. สะใภ้ : น. หญิงที่มาแต่งงานกับญาติผู้ชาย, เมียของญาติ, เช่น ถ้าเป็นเมียของ ลูกชาย เรียก ลูกสะใภ้ ถ้าเป็นเมียของลุง เรียก ป้าสะใภ้, (ปาก) ตะใภ้.
  20. สะระตะ : (แบบ) ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี. (หนังสือ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.
  21. สะลาบ : น. ผิวของพิมพ์หล่อพระที่แตกออกเป็นกาบเล็ก ๆ เมื่อความร้อน ลดลงกะทันหัน.
  22. สะสม : ก. สั่งสม, รวบรวมให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ, เช่น เขาสะสมนาฬิกาเป็น งานอดิเรก.
  23. สะสวย : ว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย.
  24. สะอาด : ว. ไม่สกปรก เช่น เสื้อผ้าสะอาด บ้านเรือนสะอาด น้ำสะอาด, หมดจด, ผ่องใส, เช่น จิตใจสะอาด, ไม่มีตําหนิ, บริสุทธิ์, ไม่ทุจริต, เช่น เขาเป็น คนใจซื่อมือสะอาด.
  25. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  26. สะอื้น : ก. ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ เพราะร้องไห้มากเนื่องจากเสียใจระทมใจ เป็นต้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ.
  27. สะเอ้ง ๑ : น. สายรัดเอว เป็นเครื่องประดับสําหรับผู้หญิง, สะอิ้ง ก็ว่า. (ไทยใหญ่ แอ้ง ว่า เอว).
  28. สัก ๓ : ก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้ เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทําเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดง เป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือ เป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิก เป็นต้น.
  29. สักกระหม่อม : ก. ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือน้ำมันแทงลงกลางศีรษะ ให้เป็นอักขระหรือเครื่องหมาย.
  30. สักกายทิฐิ : น. ความยึดถือว่ากายหรือตัวเป็นของตน. (ป. สกฺกายทิฏฺ??).
  31. สักที่นอน : ก. เย็บกรึงที่นอนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้นุ่นเป็นต้นอยู่คงที่ ไม่เลื่อนไปเลื่อนมา.
  32. สักวา : [สักกะวา] น. ชื่อกลอนแบบหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คํากลอน ขึ้นต้นด้วยคํา ''สักวา'' และลงท้ายด้วยคํา ''เอย'', ชื่อลํานําเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็น ทํานองโต้ตอบกัน. (โบราณ เขียนเป็น สักระวา ก็มี).
  33. สักว่าว : ก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็น ตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.
  34. สักหมาย : (โบ) น. เครื่องหมายที่สักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าสังกัดอยู่ ในหมู่ใดกรมใด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว. (ตราสามดวง).
  35. สังกมทรัพย์ : [สังกะมะ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของอื่น อันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ อสังกมทรัพย์.
  36. สังกะตัง : ว. ลักษณะที่ติดแน่นเป็นปมเหนียวที่ผมหรือขนสัตว์สางไม่ออก เช่น ผมเป็นสังกะตัง.
  37. สังกะสี : น. ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว แกมนํ้าเงินหลอมละลายที่ ๔๑๙ ? ซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. (อ. zinc); เหล็กชุบสังกะสีบาง ๆ เป็นแผ่นเรียบหรือเป็นลอนอย่างลูกฟูก ใช้มุง หลังคาเป็นต้น เช่น หลังคาสังกะสี รั้วสังกะสี.
  38. สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
  39. สังเกต : ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
  40. สังขยา ๒ : [ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทําด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และ กะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
  41. สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
  42. สังเขป : น. ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป. (ป.; ส. สํเกฺษป).
  43. สังคญาติ : (ปาก) น. บรรดาญาติ, ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นญาติกัน, เช่น คนทั้งหมู่บ้านล้วนเป็นสังคญาติกันทั้งนั้น.
  44. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  45. สังคัง : (ปาก) น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา (Epidermophyton floccosum) บางรายเกิดจากเชื้อราในสกุล Trichophyton เกิดที่ถุงอัณฑะ ลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ด มีอาการคันมาก.
  46. สังคายนา, สังคายนาย : [คายะ, คายยะ] น. การซักซ้อม, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบ เดียวกัน, การประชุมชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ปาก) ก. สะสาง เช่น เรื่องนี้ต้องสังคายนากันเสียที. (ป. สงฺคายน).
  47. สังคีติ : น. สังคายนา, การสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน, การประชุม ชําระพระไตรปิฎกให้เป็นแบบเดียวกัน. (ป.).
  48. สังเคราะห์ : (เคมี) ก. ทําให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ, ทําให้สาร ประกอบมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบอื่น. ว. ที่สร้างขึ้นโดย กรรมวิธีทางเคมี เช่น ใยสังเคราะห์. (อ. synthesise).
  49. สังฆ : [สังคะ] น. สงฆ์, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
  50. สังฆเถระ : น. ภิกษุผู้เป็นใหญ่ในพระสงฆ์หมู่หนึ่ง ๆ, ภิกษุผู้เป็น ประธานในที่ประชุมสงฆ์. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | [7001-7050] | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8110

(0.3105 sec)