Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นหลัก, เป็น, หลัก , then ปน, เป็น, เป็นหลัก, หลก, หลัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นหลัก, 8229 found, display 2851-2900
  1. ชระง่อน : [ชฺระ] (กลอน) น. ชะง่อน, หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่น ออกมาจากเขา.
  2. ชระเดียด : [ชฺระ] (กลอน) ว. รายไป, เรียดไป, โบราณเขียนเป็น ชรดียด ก็มี เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).ชระเดียดชระดัด (กลอน) ว. เกลื่อนกล่น, ดาษดื่น.
  3. ชราธรรม : ว. มีชราเป็นธรรมดา, มีความแก่ความชํารุด ทรุดโทรมเป็นธรรมดา.
  4. ชลาสินธุ์ : น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณ บิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัดกวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูป อสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
  5. ชเล : (โบ) น. ทะเล, ในนํ้า, ใช้เป็นส่วนหน้าสมาสก็มี เช่น ชเลจร ว่า ผู้เที่ยวไปในนํ้า.
  6. ชว : [ชะวะ] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.
  7. ช่วง ๑ : น. ตอน, ระยะ (ที่ต่อเนื่อง). ก. รับเป็นตอน เช่น รับช่วง เช่าช่วง.
  8. ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
  9. ช่วงใช้ : ก. รับใช้ เช่น เป็นข้าช่วงใช้.
  10. ชวด ๑ : น. ชื่อปีที่ ๑ ของรอบปีนักษัตร มีหนูเป็นเครื่องหมาย. (ข. ชูต).
  11. ชวน ๒ : [ชะวะนะ] (แบบ) น. ความเร็ว, ความไว, ความเร็ว ของปัญญาหรือความคิด, แผลงเป็น เชาวน์ ก็มี. (ป., ส.).
  12. ชวนชม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Adenium obesum Balf. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกมีหลายสี เช่น สีแดง ขาว ชมพู ม่วง ปลูกเป็นไม้ประดับ.
  13. ชวร, ชวระ : [ชวน, ชะวะระ] (แบบ) น. ไข้, ความไข้. ก. เป็นไข้, ป่วย. (ส.; ป. ชร).
  14. ชวา : [ชะ] น. ชื่อเกาะสําคัญที่สุดและเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของ ประเทศอินโดนีเซีย, (โบ) ใช้ว่า ยะวา ก็มี, เรียกประชาชน ที่พูดภาษาชวาว่า ชาวชวา; ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปี่ชวา.
  15. ชวาลา : [ชะ] (โบ) น. เครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง ใช้ตั้งหรือแขวน มีรูปเป็นหม้อกลม สำหรับใส่น้ำมันมีพวยยื่นมาใช้ใส่ ไส้จุดไฟ.
  16. ช่อ ๑ : น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้ บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือ เป็นพวงว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็น กลุ่ม หรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟโคมช่อองุ่น.
  17. ช็อก : น. สภาวะที่ร่างกายเสียเลือดจนความดันเลือดต่ำมาก หรือถูก กระทบจิตใจอย่างรุนแรงหรือถูกกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น จนทำให้เป็นลมหรือหมดสติในทันที. (อ. shock).
  18. ช่อง : น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม; โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทําได้.
  19. ช่องกุด : น. ประตูแบบมียอดที่เจาะกําแพงเมืองหรือกําแพงวัง ชั้นนอกเป็นทางเข้าออก.
  20. ช่องเขา : น. เส้นทางที่ใช้เป็นทางข้ามจากทิวเขาด้านหนึ่งไป ยังอีกด้านหนึ่ง, ช่องที่อยู่ในระหว่างเขา ๒ ลูก.
  21. ช่องตีนกา : น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาท ใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
  22. ช้องนางคลี่ : น. ชื่อไม้อิงอาศัยไร้ดอกชนิด Lycopodium phlegmaria L. ในวงศ์ Lycopodiaceae ลําต้นยาวห้อยลง แยกแขนงเป็นคู่ ๆ.
  23. ช่องไฟ : น. ช่องว่างระหว่างตัวหนังสือ; (ศิลปะ) บริเวณที่ เว้นไว้เป็นพื้นเท่า ๆ กันระหว่างลวดลายแต่ละตัว.
  24. ช่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus ในวงศ์ Channidae ลําตัวทรงกระบอกส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนว เส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลําตัวเป็นสีนํ้าตาลเทา หรือค่อนข้างดํา ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดําพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดํา พบชุกชุม ทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ก่อ หรือ หลิม, อีสานเรียก ค่อ.
  25. ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
  26. ชอบธรรม : ว. ถูกตามหลักธรรม, ถูกตามนิตินัย.
  27. ชอล์ก ๒ : น. เครื่องเขียนกระดานดําชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทําจาก แคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า, ที่มีสีอื่น ๆ ผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป เรียกว่า ชอล์กสี. (อ. chalk).
  28. ชอุ่ม : [ชะ] ว. ชุ่ม, สดชื่น, เช่น เขียวชอุ่ม;ชุ่มด้วยละอองนํ้า จนเห็นเป็นมืดคลุ้มหรือมืดมัว เช่น ท้องฟ้าชอุ่ม.
  29. ชะง่อน : น. หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากเขา.
  30. ชะงุ้ม : ว. เป็นเพิงงุ้มลงมา.
  31. ชะโด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมี จํานวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒–๙๕ เกล็ด ข้างลําตัวมีแถบสีดําเรียงคู่กันจากนัยน์ตาถึงหาง ระหว่างแถบ เป็นสีแดง แถบนี้อาจแตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก.
  32. ชะตา : น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลา เกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่ โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
  33. ชะต้า : (แบบ) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขา เป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.
  34. ชะมด ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอนหน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดําตามยาวทั่วตัว หางและ ขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้ นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทําเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดํา(V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.
  35. ชะมด ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเม่า มะพร้าวขูด และน้ำตาล กวนให้เข้ากันปั้นเป็นก้อนกลมแบน ชุบด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้ว ทอดน้ำมัน.
  36. ชะมบ : น. ไม้ปักเป็นเครื่องหมายสําหรับขุดหลุมจะปลูกเรือน. (ปรัดเล).
  37. ชะมวง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia cowa Roxb. ในวงศ์ Guttiferae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผัก.
  38. ชะวากทะเล : น. ฝั่งทะเลที่เว้าเป็นช่องเข้าไปยังปากแม่นํ้า ซึ่งนํ้าจืดไหลมาผสมกับนํ้าทะเล.
  39. ชะวุ้ง : ว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคําฉันท์).
  40. ชะอม : น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Acacia pennata (L.) Willd. subsp. insuavis (Lace) Nielsen ในวงศ์ Leguminosae มีหนาม กลิ่นแรง ใบเล็กเป็นฝอยยอดและใบอ่อนกินได้.
  41. ชะเอม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Myriopteron extensum (Wight) K. Schum.ในวงศ์ Asclepiadaceae เถามีรสหวาน ใช้ทํายา ผลมีครีบโดยรอบ กินได้, ข้าวสาร ก็เรียก. (๒) ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทย หรือ ชะเอมป่า (Albizia myriophylla Benth.)เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทํายาได้, ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอม ขาไก่ (G. uralensis Fish.)เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรส หวานชุ่มคอ ใช้ทํายาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน).
  42. ชะโอน : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่ แหลมคมลําตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดํา เป็นพวกปลาเนื้ออ่อนมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok bimaculatus ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้นเหนือครีบอกมีจุดกลมสีดํา ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพรหรือ นาง ก็เรียก; และชนิด Kryptopterus apogon ไม่มีครีบ หลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดําบนลําตัว, เนื้ออ่อน แดง นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก.
  43. ชักครอก : [คฺรอก] น. เรียกลูกปลาจำพวกปลาช่อนที่ตาม พ่อเป็นฝูง ๆ ว่า ลูกชักครอก, ลูกครอก ก็ว่า.
  44. ชักตะพานแหงนเถ่อ : (สํา) ก. ตั้งใจทําอะไรแล้วไม่เป็น ผลสําเร็จ ต้องคอยค้างอยู่.
  45. ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
  46. ชักยันต์ : ก. ลากเส้นและลงอักขระเป็นรูปยันต์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง บริกรรมคาถา; ขี่ม้าแปรขบวนเป็นรูปคล้ายยันต์.
  47. ชักเย่อ : [ชักกะ] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่น ออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลัง พอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่น ทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็น เครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลาง เป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่าย ต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามา ในแดนของตนถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามา ในแดนของตนได้ ถือว่าชนะตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. ก. ดึง, รั้ง.
  48. ชักสองแถว : ก. ยอมแพ้ (ใช้แก่ปลากัดซึ่งมีตัวซีด มีเส้นดํา ขึ้นที่ตัวเป็น ๒ แถว).
  49. ชั้น : น. ที่สําหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มี บานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลําดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
  50. ชันนะตุ : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นที่ศีรษะ เกิดจากเชื้อรา บนผิวหนังศีรษะก่อนแล้วลุกลามกินลึกลงไปถึงรากผม ทําให้ผมร่วง (มักเกิดแก่เด็กผู้ชาย).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | [2851-2900] | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8229

(0.2828 sec)