Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นหลัก, เป็น, หลัก , then ปน, เป็น, เป็นหลัก, หลก, หลัก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นหลัก, 8229 found, display 651-700
  1. โทธก : [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  2. ธงบรมราชวงศ์น้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียว กับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนก แซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธง เป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  3. ธงสามชาย : น. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชาย ลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืน ธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย.
  4. นฤ ๒ : [นะรึ] ว. ไม่มี, ออก, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น นฤมล ว่า ไม่มีมลทิน, นฤโฆษ ว่า ดังออก. (คํานี้เขียนแผลงมาจาก นิ ในบาลี ซึ่งสันสกฤต เป็น นิสฺ).
  5. นักษัตร ๒ : [นักสัด] น. ชื่อรอบเวลา กําหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกําหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู.
  6. นิกขะ : (แบบ) น. ลิ่ม, แท่ง; ชื่อมาตรานํ้าหนักของเงินอินเดีย ๕ สุวัณณะ เป็น ๑ นิกขะ. (ป.).
  7. นิ้ว : น. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลําดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต. นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น (สํา) น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.
  8. เนื้อ ๒ : น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. เนื้อทราย น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus ในวงศ์ Cervidae เป็น กวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลําตัวมีจุด ขาวจาง ๆ อยู่ทั่วไป ลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะชัดเจนมากเช่นเดียวกับ ลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขาผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้า ระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวาง ทรายหรือ ตามะแน ก็เรียก. เนื้อสมัน ดู สมัน.
  9. แน่นหนา : ว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่าง แน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
  10. บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
  11. บรรลัยจักร : [บันไลยะจัก] ว. วายวอด, มักใช้เป็นคําด่าประกอบคํา ฉิบหาย เป็น ฉิบหายบรรลัยจักร.
  12. บริจาริกา : [บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคํา บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัด ใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
  13. บอด : ว. มืด, ไม่เห็น, (ใช้แก่ตา); สกปรก เช่น หัวเทียนบอด; ไม่มีแวว เป็น วงทึบไม่โปร่ง (ใช้แก่หัวตัวหนังสือ) เช่น เขียนหนังสือหัวบอด; เรียก นมที่หัวบุ๋มเข้าไปว่า นมตาบอด หรือ นมบอด.
  14. บั้น ๒ : น. ชื่อมาตราตวงข้าว ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน.
  15. บัล : (แบบ) น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐ บัล เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ป., ส. ปล).
  16. บาตรใหญ่ : น. อํานาจที่ใช้ในทางข่มขี่, ใช้เข้าคู่กับ อํานาจ เป็น อํานาจบาตรใหญ่.
  17. บายศรี : น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้าย กระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่อง สังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือ ข้าวขวัญ).
  18. เบอะ ๑ : ว. เป็นแผลเหวอะหวะเข้าไป เช่น แผลเบอะ, ใช้ประกอบคํา หนา เป็น หนาเบอะ เช่น ปากหนาเบอะ หมายความว่า ปากหนามาก, ใช้ประกอบคํา เหลือ เป็น เหลือเบอะ คือ เหลือมาก.
  19. เบะ : ว. ทําหน้าเหมือนจะร้องไห้; มักใช้ประกอบคํา เหลือ เป็น เหลือเบะ คือ เหลือมาก เช่นในกรณีที่เตรียมของไว้มาก แต่คนมาน้อย.
  20. เบี้ย ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  21. เบียน : ก. รบกวน, ทําให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคํา เบียด เป็น เบียดเบียน; (โหร) เปลี่ยนแปลง เช่น ดาวพระศุกร์ถูกราหูเบียน. น. เรียกสัตว์ หรือพืชที่อาศัยอยู่ภายนอกหรือภายในสัตว์หรือพืชอื่นโดยแย่งกิน อาหารว่า ตัวเบียน.
  22. : พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
  23. ปรมาตมัน : [ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็น ต้นกําเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
  24. ปรหิตะ : [ปะระหิตะ, ปอระหิตะ] น. ประโยชน์ผู้อื่น, มักใช้ควบกับ ประโยชน์ เป็น ปรหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. (ป. ปรหิต).
  25. ปรอด : [ปะหฺรอด] น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น กินผลไม้และแมลง มีหลายชนิด เช่น ปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi) ปรอดหน้านวล (P. goiavier), กรอด ก็เรียก, บางทีเขียน เป็น กระหรอด หรือ กะหรอด.
  26. ประ- ๑ : [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคําอื่นเพื่อให้คําหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คําที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
  27. ประชน : ก. ประชัน, มักใช้เข้าคู่กับคํา ประชัน เป็น ประชนประชัน.
  28. ประดอย : ก. ทําให้งดงามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, มักใช้เข้าคู่กับคํา ประดิด เป็น ประดิดประดอย.
  29. ประดา ๑ : ว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มประดา หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.
  30. ประโยคประธาน : [-โหฺยก-] น. หลักไวยากรณ์, หลัก.
  31. ปราย : [ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.
  32. ปล้อน : [ปฺล้อน] ก. ปลิ้นเปลือกหรือเมล็ดในผลไม้ออกจากปาก เช่น ปล้อน เมล็ดลําไย ปล้อนเมล็ดน้อยหน่า, ลอกเปลือกผลไม้ออก เช่น ปล้อน มะพร้าว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปลิ้น เป็น ปล้อนปลิ้น หรือ ปลิ้นปล้อน มีความหมายอย่างปล้อน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อุบายล่อลวง เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตน.
  33. ปล่อยปลาลงน้ำ : (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  34. ปล่อยเสือเข้าป่า : (สํา) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทําร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.
  35. ปละ ๑ : [ปะละ] น. ชื่อมาตรานํ้าหนักมคธ ๑๐๐ ปละ เป็น ๑ ตุลา, ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ. (ป., ส.).
  36. ปละ ๒ : [ปฺละ] ก. ปล่อย, ละทิ้ง, ละเลย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปล่อย เป็น
  37. ปลั่ง : [ปฺลั่ง] ว. ผ่องใส, มีนํ้านวล, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปล่ง เป็น เปล่งปลั่ง.
  38. ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ : (สํา) ก. ทําตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผล โดยตรง, มักพูดเข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน.
  39. ปวง : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น ปวงชน, มักใช้เข้าคู่กับคํา ทั้ง เป็น ทั้งปวง เช่น ชนทั้งปวง.
  40. ปศุ : [ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสําหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).
  41. ปอดแปด : ว. อ่อนน่วมอยู่ภายใน, มักใช้ประกอบกับคํา เหลว เป็น เหลวปอดแปด; อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ, กระปอดกระแปด ก็ว่า.
  42. ปะไร : ตัดจากคำว่า เป็นไร. (ดูที่ เป็นไร ในคำ เป็น).
  43. ปัญญาวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยปัญญา เป็น โลกุตรธรรมประการหนึ่ง, คู่กับ เจโตวิมุติ. (ป. ป?ฺ?าวิมุตฺติ).
  44. ปัตถะ : [ปัดถะ] (แบบ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). (ป.).
  45. ปับ : ว. เสียงดังอย่างเสียงถูกชกหรือต่อย; อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปับ หยิบปับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุบ เป็น ปุบปับ.
  46. ปั๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปั๊บ หยิบปั๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุ๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
  47. ป่าย ๑ : ว. ปีนขึ้นไปด้วยความยากลําบาก, มักใช้เข้าคู่กับคํา ปีน เป็น ป่ายปีน หรือ ปีนป่าย.
  48. ปื้อ : ว. ดํามืด, มักใช้ประกอบคํา ปึ้ด เป็น ปึ้ดปื้อ.
  49. ปุบ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น ฉวยปุบ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปับ เป็น ปุบปับ.
  50. ปุ๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปุ๊บ เปิดปุ๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปั๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8229

(0.2637 sec)