Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แถลงข่าว, แถลง, ข่าว , then ขาว, ข่าว, ถลงขาว, แถลง, แถลงข่าว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แถลงข่าว, 823 found, display 51-100
  1. ซู่ซ่า : ว. ที่โจษกันเซ็งแซ่อยู่พักหนึ่ง เช่น ข่าวซู่ซ่า.
  2. เดิน : ก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไปส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).
  3. ตกเป็น : ก. กลายเป็น เช่น ตกเป็นของเขา ตกเป็นข่าว ตกเป็นจําเลย.
  4. ตรับ, ตรับฟัง : [ตฺรับ] ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง.
  5. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  6. แถลงการณ์ : (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความ เข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.
  7. แถลงการณ์ร่วม : น. คําแถลงการณ์ของผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายที่ได้ลงนาม ร่วมกันเพื่อแถลงให้ประชาชนทั่วไปทราบ.
  8. ทราบ : [ซาบ] ก. รู้ (ใช้ในความสุภาพ) เช่น ทราบข่าวได้รับทราบแล้ว เรียนมาเพื่อทราบ.
  9. นิทานวจนะ : [นิทานนะวะจะนะ] น. คําแถลงเรื่องเดิม, ข้อความเบื้องต้น. (ป.).
  10. เนืองนิตย์ : ว. เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์.
  11. บง ๔ : (โบ) ก. บ่ง, ชี้, ระบุ, เช่น แถลงปางแสดงดิพรเกื้อ บุญบง บาปนา. (ยวนพ่าย).
  12. บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  13. บันลือ : ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.
  14. บาแดง : (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, ประแดง ก็ใช้.
  15. ประแดง : (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนําข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงาน ตามคน, ตําแหน่งข้าราชการในสํานักพระราชวัง, บาแดง ก็ใช้.
  16. ปริทัศน์ : [ปะริทัด] น. การวิจารณ์; หนังสือประเภทวารสารที่วิจารณ์ข่าว หรือเรื่องราวต่าง ๆ. (ส. ปริ + ทรฺศน).
  17. ปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์และจําเลยแถลงด้วยปาก หรือหนังสือ หรือทั้ง ๒ อย่างเมื่อสืบพยานจําเลยเสร็จแล้ว เพื่อสรุปประเด็นข้อ เท็จจริงหรือข้อกฎหมายต่อศาลก่อนมีคําพิพากษา.
  18. เปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน เข้าสืบ.
  19. ผูกกระได : ก. ทอดสะพานเข้าไปสืบข่าว เช่น ก็ให้ผูกกระไดข่าวคอย. (ลอ).
  20. แพร่ : ก. กระจายออกไป, แผ่ออกไป, เช่น แพร่ข่าว แพร่เชื้อโรค.
  21. แพร่สะพัด : ก. กระจายไปทั่ว เช่น ข่าวแพร่สะพัดไปโดยเร็ว.
  22. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  23. ม้าเร็ว : น. คนขี่ม้าซึ่งกองทัพจัดไว้สําหรับสืบเหตุการณ์ข่าวคราวของข้าศึก แล้วต้องรีบมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในกองทัพของตน.
  24. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  25. เยี่ยม ๑ : ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงก หน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
  26. เยี่ยมเยียน, เยี่ยมเยือน : ก. ไปมาหาสู่ถามข่าวคราว.
  27. ระบาด : ว. แพร่ไปอย่างรวดเร็ว, แพร่ไปอย่างกว้างขวาง, แพร่ไปทั่ว, เช่น ข่าวลือ ระบาด, ลักษณะของโรคติดต่อที่แพร่ไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางเป็น คราว ๆ ไป, เรียกโรคที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า โรคระบาด เช่น อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง.
  28. ระบายสี : ก. ลงสี, แต้มสี, ป้ายสี, เช่น ระบายสีภาพทิวทัศน์ด้วยสีน้ำ; เสริมแต่งเกินความจริง เช่น เขาระบายสีข่าวเสียจนเชื่อไม่ลง. ว. ที่เสริมแต่งเกินความจริง เช่น ข่าวระบายสี.
  29. ระบือ : ว. เล่าลือ เช่น ข่าวระบือ, เลื่องลือ, แพร่หลายรู้กันทั่ว, เช่น ชื่อเสียงระบือ ไปไกล.
  30. รั่ว ๑ : ก. อาการที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นไหลเข้าหรือออกทางรอยแตก หรือรูที่เกิดจากความชํารุด เช่น นํ้ารั่ว ฝนรั่ว. ว. มีรอยแตกหรือมีรูซึ่ง เกิดจากความชํารุดที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นเข้าออกได้ เช่น เรือรั่ว ท่อประปารั่ว หลังคารั่ว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ข่าวรั่ว ข้อสอบรั่ว.
  31. รุมล้อม : ก. ออเข้ามา, รุมเข้ามาห้อมล้อม, เช่น นักข่าวรุมล้อม นายกรัฐมนตรี.
  32. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  33. ลงข่าว : ก. ตีพิมพ์ข่าวออกเผยแพร่.
  34. ลองธรรม์ : (แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).
  35. ลาตาย : น. การที่ทายาทหรือญาติของผู้ตายซึ่งขอพระราชทานนํ้า อาบศพนำธูปเทียนแพ กระทงกรวยดอกไม้ และหนังสือกราบถวาย บังคมลาตายไปกราบถวายบังคมลาที่สํานักพระราชวัง เป็นการ กราบทูลข่าวการตายของผู้นั้นให้ทรงทราบ.
  36. เลนหะรี : [เลน–] น. ข่าวแรก; วันอื่น. (ช.).
  37. เล่าลือ : ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
  38. วงใน : ว. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรง เช่น ข่าวนี้รู้มาจากวงในของราชการ เรื่องนี้พูดกันแต่วงในของ คณะรัฐมนตรี, ตรงข้ามกับ วงนอก.
  39. ว่อน : ว. อาการที่เคลื่อนไปในอากาศเป็นฝูงหรือเป็นจำนวนมาก เช่น แมลงบินว่อนกระดาษปลิวว่อน, อาการที่บินวนเวียนไปมา เช่น แมลงวันตัวนี้บินว่อนอยู่ในห้องนานแล้ว, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินกันว่อน ข่าวลือว่อน.
  40. วิเคราะห์ : ก. ใคร่ครวญ เช่น วิเคราะห์เหตุการณ์; แยกออกเป็นส่วน ๆ เพื่อ ศึกษาให้ถ่องแท้ เช่น วิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ วิเคราะห์ข่าว. (ส. วิคฺรห).
  41. แว่ว : ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.
  42. ศูนย, ศูนย์ : [สูนยะ, สูน] ว. ว่างเปล่า. ก. หายสิ้นไป. น. ตัวเลข ๐; จุดกลาง, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม, เช่น ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์หนังสือ ศูนย์รวมข่าว. (ส. ศูนฺย; ป. สุญฺ?).
  43. สมมติฐาน, สมมุติฐาน : [สมมดติ, สมมุดติ] น. ข้อคิดเห็นหรือถ้อย แถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).
  44. สร้างสถานการณ์ : ก. สร้างให้เป็นเรื่องเป็นข่าวขึ้นมาโดยไม่มีมูล เพื่อหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
  45. สรุป, สรูป : [สะหฺรุบ, สะหฺรูบ] ก. ย่อเอาเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องเป็น ประเด็น ๆ ไป เช่น สรุปข่าว สรุปสถานการณ์, โบราณใช้ว่า สรวป ก็มี. น. ประเด็นย่อ ๆ ของเรื่อง เช่น กล่าวโดยสรุป.
  46. สลดใจ : ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหว คนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ.
  47. สะพัด ๑ : ก. ล้อมไว้, กั้นไว้, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ). ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล เช่น ข่าวแพร่สะพัด เงินหมุนเวียนสะพัด, ตะพัด ก็ว่า.
  48. สังเวช, สังเวช : [สังเวด, สังเวชะ] ก. รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่ เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้ว สังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็สังเวช. (ป., ส. สํเวชน).
  49. สับสน : ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน.
  50. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-823

(0.1056 sec)