Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กว่า , then กว่, กวา, กว่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กว่า, 830 found, display 801-830
  1. หนักหัว : ว. ที่ต้องใช้ความคิดมาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาหนักหัว, หนักสมอง ก็ว่า; (ปาก) เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
  2. หน้าจั่ว : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
  3. หน้าตึง : ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าเข้ม ก็ว่า; มีสีหน้าแดงหรือ เข้มขึ้นเพราะเริ่มเมา.
  4. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  5. หมดกรรม, หมดกรรมหมดเวร, หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม : ก. สิ้นสุด ในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
  6. หมดบุญ : ก. สิ้นอำนาจวาสนา, หมดอำนาจ หรือ หมดวาสนาบารมี ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
  7. หมดเวร, หมดเวรหมดกรรม : ก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.
  8. หมาง : ก. (โบ) กระดาก เช่น หมางกัน คือ กระดากกัน หมางหน้า คือ กระดาก หน้า, อาการที่ห่างเหินกันเพราะขุ่นเคืองใจหรือผิดใจกันเป็นต้น เช่น คนคู่นี้แต่ก่อนก็ดูสนิทสนมกันดี แต่เดี๋ยวนี้ดูเขาหมางกันไป, หมาง ๆ ก็ว่า, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น บาดหมาง หมองหมาง หมางใจ.
  9. หักโหม : ก. ระดมเข้าไปด้วยกำลังให้แตกหัก, โหมหัก ก็ว่า; เอากําลังแรง เข้ามาหักเอา, ทํางานโดยไม่บันยะบันยัง.
  10. หัว ๓ : (โบ) ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือ หัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี.
  11. หัวร่อ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี.
  12. หัวเราะ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.
  13. หัวเห็ด : น. เรียกตะปูชนิดหนึ่งที่หัวบานเหมือนดอกเห็ดสำหรับตอกสังกะสี เป็นต้น ว่า ตะปูหัวเห็ด.ว. ทรหดอดทน เช่น นักข่าวหัวเห็ด นักสืบหัวเห็ด; (โบ) ดื้อรั้นไม่ยอมเปลี่ยนความคิดง่าย ๆ, หัวเห็ดย้ำ ก็ว่า เช่น มหาชนโดย มากเขาทำกันอย่างไร เราก็ต้องทำอย่างนั้น ที่จะไปหัวเห็ดย้ำให้ผิดกาลเทศะ อย่างจีน ๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย. (ลักวิทยา).
  14. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  15. หิงสา : น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางที ก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  16. หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  17. แหง่ : [แหฺง่] น. เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกแหง่, ลูกกะแอ ก็ว่า; เรียกเด็กตัวเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, (ปาก) เรียกเหรียญกระษาปณ์อันเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่, โดยปริยายเรียกคนที่โตแล้วแต่ยังติดพ่อติดแม่เป็นต้นหรือยัง ทําอ้อนเหมือนเด็กเล็ก ๆ ว่า ลูกแหง่.
  18. แหยง : [แหฺยง] ก. ขยาด, ย่อท้อ, ไม่คิดสู้, เช่น พอเห็นหน้าก็แหยงเสียแล้ว. ว. อาการที่รู้สึกขยาด ย่อท้อหรือไม่คิดสู้, แหยง ๆ ก็ว่า, เช่น รู้สึกแหยง ๆ.
  19. อาชญาสิทธิ์ : [อาดยาสิด, อาดชะยาสิด] น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิ ที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม เป็นต้น, อาญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็น เครื่องหมาย ซึ่งเรียกว่า พระแสงอาชญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาญาสิทธิ์.
  20. อาญาสิทธิ์ : น. อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทาน จากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงครามเป็นต้น, อาชญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็นเครื่องหมาย เรียกว่า พระแสง อาญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาชญาสิทธิ์.
  21. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  22. อิฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, อีฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑.
  23. อีฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, อิฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑.
  24. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  25. อุตราวรรต : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
  26. อุตราวัฏ : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้าม กับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).
  27. เอ๋ย : ว. คําลงท้ายชื่อหรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความ เอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คําที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคํากลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ย กาดํา รถเอ๋ยรถทรง.
  28. เอว : น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพก ทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ สะเอว ก็ว่า; โดยปริยายหมายถึง ส่วนกลางของสิ่งอื่น ๆ ตรงที่คอดเข้าไป เช่น เอวว่าวจุฬา เอวพาน.
  29. เอ้อเร้อ : ว. มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อเอ้อเต่อ ก็ว่า; มากเกินไป อย่างไม่เป็นระเบียบ.
  30. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-830]

(0.0920 sec)