Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หายใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หายใจ, 85 found, display 51-85
  1. มองคร่อ : [-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทําให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์ Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอยอาจติดต่อถึงคนได้, เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).
  2. รวย ๒, รวย ๆ : ว. แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจรวย ๆ หอมรวย ๆ, ระรวย ก็ว่า; ชื่น, รื่น; งาม เช่น รูปรวย ว่า รูปงาม.
  3. ระรวย : ว. รวย ๆ, แผ่ว ๆ, เบา ๆ, เช่น หายใจระรวย ลมพัดมาระรวย; ส่งกลิ่น หอมน้อย ๆ เช่น หอมระรวย.
  4. รุ่ย ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bruguiera cylindrica (L.) Blume ในวงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าชายเลน โคนต้นมีรากหายใจโค้งคล้ายรูปหัวเข่า ผลยาวเหมือน ฝักถั่ว, ถั่วขาว ก็เรียก.
  5. ไร ๑ : น. ชื่อสัตว์พวกแมงหลายชนิด ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดหรือเล็กกว่า ลักษณะคล้ายพวกเห็บแต่ต่างกันที่ไม่มีหนามเล็ก ๆ คลุมรอบปาก และแผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลําตัวไม่เลยขาคู่ที่ ๔ ชนิดดูดกินเลือดสัตว์ เช่น ไรไก่ (Dermanyssus spp.) ในวงศ์ Dermanyssidae ชนิดทําลายพืช เช่น ไรแดง (Tetranychus spp.) ในวงศ์ Tetranychidae.
  6. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  7. ลมปราณ : น. ลมหายใจ เช่น ทำงานเหน็ดเหนื่อยแทบจะสิ้น ลมปราณ; วิธีกําหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดี หรือฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.
  8. โล่งจมูก : ก. รู้สึกว่าหายใจสะดวก.
  9. โลมา ๒ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti มีหลายชนิด หลายวงศ์ ลำตัวใหญ่ บางชนิดปลายปากยื่นแหลม บางชนิดหัว กลมมน หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ มักมีครีบหลัง ๑ ครีบ หายใจด้วยปอด อาศัยอยู่ในทะเล เช่น โลมาขาวเทา (Sotalia plumbea) ในวงศ์ Stenidae โลมาหัวขวด (Delphinus delphis) ในวงศ์ Delphinidae โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides) ในวงศ์ Phocaenidae, ปลาโลมา ก็เรียก.
  10. วายุ : น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).
  11. วาฬ ๒ : [วาน] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti และ Mysticeti มีหลายชนิดในหลายวงศ์ ขนาดใหญ่มาก หัวมนใหญ่ หางแบนเพื่อ ช่วยในการพุ้ยน้ำ สามารถพ่นอากาศที่มีไอน้ำออกทางจมูกได้เวลา โผล่ขึ้นมาหายใจ เช่น วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยปรกติ ไม่พบในน่านน้ำไทย, วาฬแกลบครีบดำ (B. borealis) และ วาฬแกลบครีบขาวดำ (B. acutorostrata) ในวงศ์ Balaenopteridae, วาฬหัวทุย (Physeter catodon) ในวงศ์ Physeteridae, ปลาวาฬ ก็เรียก.
  12. ศวัสนะ : น. การหายใจ. (ส. ศฺวสน).
  13. ศวาสะ : น. การหายใจ, ลมหายใจ. (ส. ศฺวาส).
  14. สะท้อนใจ : ก. อาการที่หายใจแรงขึ้น ๆ ลง ๆ เพราะอารมณ์สะเทือนใจ เป็นต้น.
  15. สะอึก : ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
  16. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  17. หลอดลม : น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่าง อยู่ระหว่างท่อลมส่วนอก กับถุงลมปอด. (อ. bronchus, lower airways).
  18. หลอดลมฝอย : น. ทางเดินอากาศหายใจส่วนล่างในปอด ขนาดไม่เกิน ๑ มิลลิเมตร. (อ. bronchiole).
  19. หวัด ๑ : น. อาการที่เยื่อของอวัยวะที่เป็นเครื่องหายใจอักเสบ มักทําให้เสียงแห้ง และนํ้ามูกไหล.
  20. หอบ ๒ : ก. หายใจถี่ด้วยความเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย.
  21. หอบหืด : ก. อาการหายใจไม่สะดวก มีเสียงหวีดหวือ เนื่องจากหลอดลม หดเกร็ง มักเกิดในผู้ป่วยโรคหืด.
  22. หืด : น. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทําให้ หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.
  23. เห็บ ๑ : น. ชื่อแมงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ลักษณะทั่วไปคล้ายไร แต่ส่วนใหญ่มักโตกว่า และปากมีลักษณะเป็นแท่ง มีหนามโค้งเล็ก ๆ กระจายอยู่รอบปลายปาก แผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวเลยขาคู่ที่ ๔ มาทางด้านส่วนท้อง มีทั้งชนิดที่มีผนังลําตัวแข็งและ ผนังลําตัวอ่อน เป็นตัวเบียนดูดกินเลือดสัตว์ เช่น เห็บวัว (Boophilus caudatus) เห็บสุนัข (Rhipicephalus sanguineus) ทั้ง ๒ ชนิดอยู่ในวงศ์ Ixodidae.
  24. อปาน : [อะปานะ] น. ลมหายใจออก. (ป., ส.).
  25. อสุ : [อะ] น. ลมหายใจ, ชีวิต. (ป., ส.).
  26. ออกซิเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณ ร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วย ให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วย การหายใจของคนไข้. (อ. oxygen).
  27. อัด ๑ : ก. ดันลมเข้าไป เช่น อัดลูกโป่ง, ยัดให้แน่น เช่น อัดดินปืน, ประกับ ให้แน่น เช่น อัดพื้นให้ชิด, ทำให้แน่น เช่น อัดกันอยู่ในรถ, บีบ เช่น อัดใบลาน; กลั้น, กลั้นหายใจ, เช่น อัดลมหายใจ.
  28. อั้น : ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
  29. อัสสาสะ : (แบบ) น. ลมหายใจเข้า, คู่กับ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจออก; การหายใจ คล่อง; ความโปร่งใจ. (ป.).
  30. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  31. อาน ๖ : [อานะ] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจ ออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคําว่า อานาปานัสสติ = สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).
  32. อานาปาน, อานาปานะ : [นะ] น. ลมหายใจเข้าออก ในคําว่า อานาปานัสสติ. (ป., ส.).
  33. อานาปานัสสติ : [นัดสะติ] น. สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก.
  34. อึดใจ : น. เวลาชั่วกลั้นลมหายใจไว้คราวหนึ่ง.
  35. 1-50 | [51-85]

(0.0175 sec)