Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าระเบียบ, ระเบียบ, เจ้า , then จา, จารบยบ, เจ้, เจ้า, เจ้าระเบียบ, ระเบียบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าระเบียบ, 917 found, display 201-250
  1. กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
  2. กัน ๓ : ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่าย ในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวน เสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.
  3. กากคติ : [กากะคะติ] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดําเนินกลอน อย่างกาที่บินไป เช่น สรรเพ็ชญ์เจ้าได้ ทรงฤทธิ์เรืองไกร ย่อมบำเพงทาน ให้พระวิมุติ โลกุดรญาณ แสวงหาศีลาจาร ประเสริฐหนักหนา. (ชุมนุมตํารากลอน).
  4. ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  5. กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
  6. -การ ๒ : น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
  7. กาลี ๒ : น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. (ส.).
  8. ก้าวก่าย : ก. ล่วงล้ำเข้าไปยุ่งเกี่ยวหน้าที่ผู้อื่น, เหลื่อมล้าไม่เป็นระเบียบ เช่น งานก้าวก่ายกัน.
  9. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  10. กำตัด : น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง; การพนันชนิดหนึ่ง ลักษณะเหมือนกําถั่ว ใช้กําเบี้ย ต่างคนต่างถือแต้ม ไม่มีเจ้ามือ กําแล้วจะเติมหรือชักออกก็ได้.
  11. กำนัล ๒ : น. นางอยู่งานที่ทรงใช้สอยในพระราชมนเทียร และได้รับพระราชทานหีบหมากกาไหล่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม เรียกว่า นางกำนัล.
  12. กำพร้า ๒ : [-พฺร้า] ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา. (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว. (ลอ).
  13. กำมะลอ : น. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า เครื่องกํามะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือน รูปต้นไม้ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกํามะลอว่า ไม้กํามะลอ; เรียกกลดที่ทําด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สําหรับใช้กับ เจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกํามะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่อง กํามะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาว หรือแพรขาวว่า ลายกํามะลอ; เรียกของทําเทียมหรือของเล็กน้อย ที่ทําหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า ของกํามะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.
  14. กำหนดการ : น. ระเบียบการที่บอกถึงขั้นตอนของงาน ที่จะต้องทําตามลําดับ.
  15. กิจจะลักษณะ : ว. เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว, เป็นระเบียบเรียบร้อย.
  16. กินตามน้ำ : (สำ) ก. รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง (มักใช้แก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ).
  17. กินเหมือนหมู อยู่เหมือนหมา, กินอย่างหมู อยู่อย่างหมา : (สํา) ว. เละเทะไม่มีระเบียบ.
  18. กุญแจมือ : น. ห่วงเหล็กมีกุญแจไข สําหรับเจ้าหน้าที่ใช้ใส่ข้อมือผู้ต้องหา.
  19. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  20. เก๋ง : น. เรือนตึกมีรูปหลังคาแบบศาลเจ้าจีน; เครื่องบังมีฝาและ หลังคาแบนสําหรับเรือและรถ, เรียกเรือหรือรถที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เรือเก๋ง รถเก๋ง.
  21. เกณฑ์เมืองรั้ง : น. ตําแหน่งเก่าในราชการ ซึ่งเป็นตําแหน่งสํารองเจ้าเมือง.
  22. เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
  23. เกยลา : น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านาย รองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา; นอกชาน.
  24. เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  25. เกศากันต์ : ก. ตัดจุก, โกนจุก, (ใช้เฉพาะเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า).
  26. เกะกะ : ว. กีด, ขวาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น วางของเกะกะ; ประพฤติเป็นพาลเกเร เช่น คนเกะกะ.
  27. เกี้ยมอี๋ : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง. (จ. ว่า เจียมอี๊).
  28. แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
  29. ไกพัล : [ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  30. ขนบประเพณี : น. จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว.
  31. ขนมเปียก : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อ และกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว.
  32. ขนมเปียกปูน : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผา ให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิและน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลง ใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาว เท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ก็เรียก.
  33. ข่มขืนใจ : (กฎ) ก. บังคับให้กระทําหรืองดเว้นกระทํา โดยไม่สมัครใจ แต่จําต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า จะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๙.
  34. ขยด : [ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
  35. ขยุกขยุย : [ขะหฺยุกขะหฺยุย] ว. ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ.
  36. ขรัว : [ขฺรัว] น. คําเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า. ว. เรียกคนที่มั่งมีว่า เจ้าขรัว.
  37. ขรัวตา : น. สามัญชนที่เป็นตาของพระองค์เจ้า.
  38. ขรัวยาย : น. สามัญชนที่เป็นยายของพระองค์เจ้า.
  39. ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
  40. ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
  41. ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
  42. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  43. ขอเฝ้า : น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่ง เครื่องแบบราชการ.
  44. ขับ ๒ : ก. ร้องเป็นทํานอง เช่น ขับกล่อม ขับเสภา. ขับซอ (ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).
  45. ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ : (สํา; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบ ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อน เจ้านายน้อยตัวก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้น ก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้าเข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
  46. ข้าพเจ้า : [ข้าพะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  47. ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  48. ขาย : ก. เอาของแลกเงินตรา, โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่กันโดย ตกลงกันว่าผู้รับโอนจะใช้ราคาแห่งทรัพย์สินนั้น มีหลายลักษณะ คือ ชําระเงินในขณะที่ซื้อขายกัน เรียกว่า ขายเงินสด, ขายโดยยอม เก็บเงินอันเป็นราคาของในวันหลัง เรียกว่า ขายเชื่อ, (เลิก) เอาเงินเขา มาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าเงิน เรียกว่า ขายตัวลงเป็นทาส.
  49. ข้าว : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะ ชนิด Oryza sativa L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
  50. ข้าวเกรียบ : น. ของกินทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่น ตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-917

(0.1316 sec)