Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าระเบียบ, ระเบียบ, เจ้า , then จา, จารบยบ, เจ้, เจ้า, เจ้าระเบียบ, ระเบียบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าระเบียบ, 917 found, display 501-550
  1. โป๊กเกอร์ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นเป็นกลุ่ม ๔ คน เจ้ามือ แจกไพ่ควํ่าคนละ ๕ ใบ ทุกคนมีสิทธิ์ขอเปลี่ยนไพ่ครั้งเดียว ผู้ใด ถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ. (อ. poker).
  2. โปปั่น : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือเอาลิ้นโปใส่ลงใน ฝาครอบโปไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโปแล้วตั้งให้แทง โดย ยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาว ตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับ แทงเพียง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โป ก็เรียก.
  3. ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
  4. ไปรษณีย-, ไปรษณีย์ : [ไปฺรสะนียะ-, ไปฺรสะนี] น. วิธีการส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของ เป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง. (ส. เปฺรษณีย).
  5. ผทม : [ผะทม] ก. นอน (ใช้แก่เจ้านาย), ประทม หรือ บรรทม ก็ใช้. (ข. ผฺทํ).
  6. ผังเมือง : (กฎ) น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมือง ในด้านสุขลักษณะ ความสะดวก สบายความเป็นระเบียบความสวยงาม การใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม.
  7. ผ้าชุบสรง : น. ผ้าผลัดอาบน้ำเจ้านายหรือพระสงฆ์.
  8. ผ้าห้อยหอ : (โบ) น. ผ้าซึ่งเจ้าบ่าวนุ่งในพิธีซัดนํ้าแต่งงานแล้ว ผลัดพาดไว้ที่เรือนหอ มีของมีค่าอยู่ในนั้นเพื่อเป็นรางวัลผู้เอาไปซัก.
  9. ผิดนัด : ก. ไม่ไปตามนัด, ไปไม่ตรงตามเวลาที่นัดไว้; (กฎ) การที่ ลูกหนี้ไม่ชําระหนี้ตามกําหนดเวลา หรือการที่เจ้าหนี้ไม่รับชําระ หนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้.
  10. ผีถ้วยแก้ว : น. เรียกการเล่นทรงเจ้าเข้าผีวิธีหนึ่ง โดยผู้เล่นเอานิ้ว แตะที่ถ้วยแก้วแล้วถ้วยแก้วจะเคลื่อนไปตามตัวอักษรต่าง ๆ ให้ ผู้เล่นอ่านเอาความได้.
  11. ผู้ค้ำประกัน : น. ผู้ให้คำรับรองต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้นั้น; (กฎ) ผู้ที่ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระ หนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น.
  12. ผู้คุม : น. เจ้าพนักงานผู้ควบคุมดูแลนักโทษ.
  13. ผู้นำจับ : (กฎ) น. บุคคลผู้มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนำความมาแจ้ง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด.
  14. เผ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นกัน ๔ คน เจ้ามือแจกไพ่ ควํ่า ๑ ใบแรก แล้วแจกไพ่หงายอีก ๔ ใบ ก็มี แจกไพ่หงายใบที่ ๒ และที่ ๓ เหลือนอกนั้นแจกควํ่า ก็มี ผู้ใดถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์ สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ.
  15. ฝ่าพระบาท : ส. ท่าน (ใช้แก่เจ้านาย), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  16. ฝ่ายใน : น. เจ้านายและข้าราชการเป็นต้นที่เป็นสตรีสังกัดอยู่ภายใน พระราชฐานชั้นใน.
  17. ฝ่ายหน้า : น. เจ้านายและข้าราชการซึ่งไม่ใช่ฝ่ายใน.
  18. ฝืน : ก. ต้องจําใจทําสิ่งที่ไม่อยากจะทํา เช่น ฝืนกิน ฝืนทํา; ขัด, ไม่ทําตาม, เช่น ฝืนระเบียบ; ขืน, ขืนไว้, เหนี่ยวรั้ง, เช่น ฝืนใจ.
  19. เฝ้า : ก. ระวังดูแล, รักษา, เช่น เฝ้าไข้ เฝ้าขโมย เฝ้าบ้าน; มุ่งทำแต่สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น เฝ้าถาม เฝ้าแต่ร้องไห้; จ้องดู, คอยดู, เช่น นั่งเฝ้า โทรทัศน์ตลอดวัน; (ราชา) ไปพบ, ไปหา, เช่น เฝ้าเจ้านาย.
  20. เฝ้าศพ : ก. อยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพในงานศพ.
  21. เฝ้าแหน : [–แหนฺ] ก. เฝ้าระวังเหตุการณ์, เฝ้าเจ้านายตามตําแหน่ง.
  22. พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
  23. ฯพณฯ : [พะนะท่าน] น. คํานําหน้าชื่อหรือตําแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้น รัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคํา พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).
  24. พธู : [พะ] น. เจ้าสาว; เมีย; ผู้หญิง. (ส., ป. วธู).
  25. พนักงานสอบสวน : (กฎ) น. เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอํานาจ และหน้าที่ทําการสอบสวน.
  26. พนักงานอัยการ : (กฎ) น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเจ้าพนักงานอื่น ผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้; ข้าราชการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดผู้มี อำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีหรือทำหน้าที่ในฐานะทนาย แผ่นดิน, อัยการ ก็เรียก.
  27. พนัสบดี : [พะนัดสะบอดี] น. เจ้าป่า. (ส. วนสฺปติ หมายถึง ต้นโพ ต้นไทร และต้นมะเดื่อ; ป. วนปฺปติ).
  28. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  29. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  30. พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
  31. พระชายา : (ราชา) น. พระองค์เจ้าหญิงซึ่งเป็นภรรยาของพระราชวงศ์.
  32. พระเดชพระคุณ : น. คําใช้นําหน้าสมณศักดิ์ของพระราชาคณะ เช่น เรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม, ถ้าใช้นําหน้า สมณศักดิ์ของสมเด็จพระราชาคณะ ใช้ว่า พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณ หรือพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณ เช่น กราบเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์. ส. คําเรียกผู้ มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มี สมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนาม บุรุษที่ ๒.
  33. พระทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง; (กลอน) คําแทนชื่อเจ้านาย. พระทัย (ราชา) น. ใจ.
  34. พระธรรมนูญศาลยุติธรรม : (กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร ศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาล ยุติธรรมต่าง ๆ.
  35. พระนางเธอ : น. ตําแหน่งพระมเหสี ตํ่ากว่าพระนางเจ้า.
  36. พระนาย : น. คําเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ.
  37. พระภูมิ : น. เทพารักษ์ประจําพื้นที่และสถานที่, พระภูมิเจ้าที่ ก็เรียก.
  38. พระรูป, พระรูปชี : น. เจ้านายที่เสด็จบวชเป็นชี.
  39. พระสนม : น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี.
  40. พระสนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่ม จากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว ศรีจุฬาลักษณ์.
  41. พระองค์ : (ราชา) น. ตัว เช่น รู้สึกพระองค์ เผลอพระองค์; ลักษณนาม ใช้แก่พระพุทธเจ้า เทพผู้เป็นใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์. (ราชา) ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แก่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป และสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี.
  42. พลอยสามสี : น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ, จะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วงเจ้าสามสี ก็เรียก.
  43. พลุกพล่าน : [พฺลุกพฺล่าน] ก. เกะกะ, ขวักไขว่, เกลื่อนกล่น. ว. อาการที่เคลื่อน ไหวขวักไขว่ไม่เป็นระเบียบ เช่น เดินพลุกพล่าน วิ่งพลุกพล่าน แล่นพลุกพล่าน.
  44. พ่อเมือง : น. ผู้ที่ชาวเมืองยกขึ้นเป็นเจ้าเมือง.
  45. พ่ะย่ะค่ะ : ว. คํารับหรือคําลงท้ายที่ผู้ชายใช้เพ็ดทูลพระราชวงศ์ที่ดํารงพระยศ เจ้าฟ้า.
  46. พัดงาสาน : (โบ) น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมาย ฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จ พระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า ''คามวาสี อรัญวาสี'' มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่าย อรัญวาสี.
  47. พาณี : น. เสียง, ถ้อยคํา, ภาษา; เจ้าแม่แห่งวาจา คือ พระสรัสวดี. (ป., ส. วาณี).
  48. พ่าน : ว. พล่าน, พลุกพล่าน, ไม่เป็นระเบียบ.
  49. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  50. พิรากล : ว. เจ้ามารยา, เจ้าเล่ห์เจ้ากล.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | [501-550] | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-917

(0.1121 sec)