Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าระเบียบ, ระเบียบ, เจ้า , then จา, จารบยบ, เจ้, เจ้า, เจ้าระเบียบ, ระเบียบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าระเบียบ, 917 found, display 701-750
  1. ศิลปลักษณะ : น. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้ จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืน และความเรียบง่าย.
  2. ศุภอักษร : น. สาส์นของเจ้าประเทศราช.
  3. ศุลการักษ์ : [สุนละการัก] น. เจ้าหน้าที่รักษาศุลกากร.
  4. ส่งตัว : ก. นําตัวเจ้าสาวไปส่งให้แก่เจ้าบ่าวตามฤกษ์ เช่น ได้ฤกษ์ส่งตัว.
  5. ส่งส่วย : ก. ส่งเงินเป็นต้นให้เป็นประจำตามที่ตกลงกัน (มักใช้ในทางไม่ สุจริต) เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนันต้องส่งส่วยให้พวกนักเลงเจ้าถิ่น.
  6. สดับปกรณ์ : [สะดับปะกอน] ก. บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย). น. พิธีสวดมาติกา บังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย. (ป. สตฺตปฺปกรณ; ส. สปฺตปฺรกรณ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์).
  7. สถาปนา : [สะถาปะนา] ก. ยกย่องโดยแต่งตั้งให้สูงขึ้นเช่นเลื่อนเจ้านายให้ สูงศักดิ์ขึ้น หรือยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง, ตั้งขึ้น (มัก ใช้แก่หน่วยราชการหรือองค์การที่สําคัญ ๆ ในระดับกระทรวง ทบวงมหาวิทยาลัย) เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันสถาปนา ราชบัณฑิตยสถาน วันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ส. สฺถาปน; ป. ?าปน).
  8. สนม ๑ : [สะหฺนม] น. เจ้าจอมมารดาหรือเจ้าจอมอยู่งานซึ่งทรงพระเมตตา ยกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง โดยได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำลงยา ราชาวดี เรียกว่า พระสนม. (ข. สฺนํ).
  9. สนม ๒ : [สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสํานักทําหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทําสุกําศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. สฺนุํ).
  10. สนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจาก หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณ มี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.
  11. สมจร : ก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้ ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้า ข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล (สามดวง) มีนิทานเรื่องนางนาค สมจรกับงูดิน.
  12. สมเด็จ : น. คํายกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จ เจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.
  13. สมนอก : น. เลกของเจ้านายที่ทรงกรมหรือขุนนางที่มีสิทธิ์มีเลก.
  14. สมใน : น. เลกของเจ้านายฝ่ายใน.
  15. สมภาร : [พาน] น. พระที่เป็นเจ้าอาวาส. (ป., ส. สมฺภาร).
  16. สมยอม : ก. ยอมตกลงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่าง (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เจ้าทุกข์สมยอมกับเจ้าหน้าที่.
  17. สมัญญา : [สะมันยา] น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญา ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ศาสดาของ ศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. (ป.).
  18. สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  19. สมิงพราย : น. เจ้าผี.
  20. สยาม, สยาม : [สะหฺยาม, สะหฺยามมะ] น. ชื่อเรียกประเทศไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒; ของประเทศไทย.
  21. สยามานุสติ : [สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึง ประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  22. สรง : [สง] ก. อาบนํ้า (ใช้แก่บรรพชิตและเจ้านาย). (ข.).
  23. สลับเรือน : (โหร) ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกัน ในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตร ศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธ ราศีกันย์.
  24. ส่วนพระองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่เจ้านายตั้งแต่พระองค์เจ้า ขึ้นไป) เช่น หนังสือส่วนพระองค์.
  25. ส่วนองค์ : (ราชา) ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์.
  26. สวรรคบดี : [สะหฺวันคะบอดี] น. เจ้าเมืองสวรรค์ คือ พระอินทร์. (ส. สฺวรฺคปติ). สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ (สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำ ความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง.
  27. สวรรคาลัย : ก. ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง), (กลอน) ตาย.
  28. สวามิภักดิ์ : ก. ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อํานาจ เช่น ข้าศึกเข้ามา สวามิภักดิ์, สามิภักดิ์ ก็ว่า. (ส. สฺวามินฺ + ภกฺติ ว่า ความซื่อตรงต่อเจ้า).
  29. สวามิ, สวามี : [สะหฺวา] น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย; ผัว, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสวามี; เจ้าของ. (ส. สฺวามี, สฺวามินฺ; ป. สามิ).
  30. สอดไส้ : ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่ง แปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตร ปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตน ปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. ว. เรียกขนม ชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วย ใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก.
  31. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  32. สะเปะสะปะ : ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกต่อยสะเปะสะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น คนเมาเดิน สะเปะสะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนแขนขาก่ายกันสะเปะสะปะ, อาการที่พูดเลอะเทอะเรื่อยเจื้อยไม่มีประเด็น เช่น พูดสะเปะสะปะ.
  33. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  34. สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
  35. สังเค็ด : น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์ หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด.
  36. สังฆการี : น. เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง.
  37. สังฆาธิการ : น. พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์นับตั้งแต่ ตําแหน่งเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงตําแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส เรียกว่า พระสังฆาธิการ.
  38. สัญญาบัตร : น. ใบตั้งยศ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน ทรงตั้ง เช่น นายทหารสัญญาบัตร พระราชาคณะสัญญาบัตร พระครูสัญญาบัตร, ถ้าเป็นใบที่เจ้ากระทรวงตั้ง เรียกว่า ใบประทวน.
  39. สัทธาจริต : ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคน สัทธาจริตเชื่ออะไรง่าย. (ป.).
  40. สับสน : ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน.
  41. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  42. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  43. สัสดี : [สัดสะดี] น. ผู้รวบรวมบัญชีคน, เจ้าหน้าที่บัญชีทหาร; การรวมบัญชีคน.
  44. สากิยมุนี : น. ศากยมุนี, พระนามของพระศากยพุทธเจ้า. (ป.).
  45. หน่วงเหนี่ยว : [หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่ หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.
  46. หนังสือรับรองการทำประโยชน์ : (กฎ) น. หนังสือคํารับรองจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ออกให้ผู้มีสิทธิในที่ดิน เพื่อแสดง ว่าได้ทําประโยชน์ในที่ดินนั้นแล้ว.
  47. หน้าเลือด : ว. ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะ เห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
  48. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  49. หนี้สูญ : น. หนี้ที่เจ้าหนี้ไม่มีทางที่จะได้รับชําระหนี้จากลูกหนี้ได้.
  50. หมอ ๒ : (ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้าย หมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-917

(0.1204 sec)