Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เจ้าระเบียบ, ระเบียบ, เจ้า , then จา, จารบยบ, เจ้, เจ้า, เจ้าระเบียบ, ระเบียบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เจ้าระเบียบ, 917 found, display 751-800
  1. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  2. หม่อมฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือ สําหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  3. หม่อมราชวงศ์ : น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมเจ้า.
  4. หม่อมห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย, ใช้คํานําหน้านามว่า หม่อม.
  5. หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
  6. หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
  7. หมายค้น : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจค้น เพื่อยึดสิ่งของ หรือจับกุมบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ หรือเพื่อช่วยบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย.
  8. หมายจับ : (กฎ) น. หมายอาญาที่สั่งให้เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ต้องหาหรือจําเลย.
  9. หมายบังคับคดี : (กฎ) น. หมายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอต่อ ศาลเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล.
  10. หมายรับสั่ง : น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า ''ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ''.
  11. หมายอาญา : (กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้ อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับ แล้วด้วย.
  12. หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
  13. หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ : ว. ทําท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที; ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ.
  14. หลบหนี้ : ก. หลบไม่ยอมพบเจ้าหนี้.
  15. หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
  16. หล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สําหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้ง บุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  17. หอคำ : น. เรือนของเจ้าผู้ครองแคว้นฝ่ายเหนือ.
  18. ห่อน : ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคําประพันธ์บาง คราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).
  19. หอบังคับการ : น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงาน ควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตาม ที่ได้รับมอบหมาย.
  20. หักกลบลบหนี้ : (กฎ) น. การนําเอาหนี้ที่บุคคล ๒ คนต่างเป็นลูกหนี้และ เจ้าหนี้ในมูลหนี้อันมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน มาหักลบกันเท่า จํานวนหนี้ที่ตรงกัน เพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.
  21. หัวก่ายท้ายเกย : ว. มากมายเต็มไปหมดอย่างไร้ระเบียบ เช่น เรือจอดหัวก่าย ท้ายเกย เด็ก ๆ นอนกันหัวก่ายท้ายเกยเต็มห้องไปหมด.
  22. หัวเรือใหญ่ : น. ผู้ออกรับแทนผู้อื่นเสียเอง, ผู้จัดการทุกอย่างให้ผู้อื่นด้วย ตนเอง, ผู้ที่ชอบเจ้ากี้เจ้าการทำเรื่องต่าง ๆ เสียเอง.
  23. ห้าม : ก. ให้เว้นกระทํา, ไม่ให้ทําตามที่กําหนดไว้. น. เรียกภรรยาของเจ้านายที่ ไม่ใช่สะใภ้หลวง ว่า นางห้าม, เรียกหญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย ว่า หม่อมห้าม.
  24. ห้ำ : (ปาก) ก. เข้าทําร้ายกัน; ตัดให้สั้นอย่างไม่เป็นระเบียบ; เข้าตะครุบขบกัด (ใช้แก่สัตว์).
  25. เหม็ง : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเหม็งประตูใด โปออกประตูนั้น เจ้ามือ ใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกข้างเคียงซ้ายหรือขวา เป็นเจ๊า ถ้าออกประตูตรงข้าม เจ้ามือกิน เช่น เหม็ง ๒ ถ้าออก ๒ เป็นถูก ออกหน่วย ออก ๓ เป็นเจ๊า ออกครบ เจ้ามือกิน.
  26. เหมาะสม : ว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.
  27. เหยียบย่ำ : ก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำ คนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.
  28. เหรัญญิก : น. ตําแหน่งกรรมการเจ้าหน้าที่ของสมาคมเป็นต้น ทําหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน.
  29. เหวย ๆ : อ. คำร้องเรียกแสดงว่ามีอำนาจหรือแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยามเป็นต้น เช่น เหวย ๆ เจ้าเด็กน้อย. ว. เสียงร้องเรียกที่ได้ยินแต่ที่ไกล เช่น ได้ยินเสียง ใครมาร้องเรียกอยู่เหวย ๆ.
  30. เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว : (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
  31. ให้สินเชื่อ : (กฎ) น. ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต.
  32. ให้ออก : (กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้น จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ (๓) ลาออกจากราชการ และได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใด กรณีหนึ่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญ ให้ออก เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.
  33. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  34. อดิศร, อดิศวร : [อะดิสอน, สวน] น. ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่. (ส. อติ + อีศฺร, อติ + อีศฺวร).
  35. อติราช : [อะติราด] น. เจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่, มหาราช. (ป.).
  36. อธิการ : [อะทิกาน] น. เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสซึ่งไม่มีสมณศักดิ์ อย่างอื่นว่า พระอธิการ, เรียกพระที่ดํารงตําแหน่งพระอุปัชฌาย์หรือ เจ้าคณะตําบล ซึ่งไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า เจ้าอธิการ; ตําแหน่งสูงสุด ของผู้บริหารในวิทยาลัย. (ป., ส.).
  37. อนาธิปไตย : [อะนาทิปะไต, อะนาทิบปะไต] ว. ภาวะที่บ้านเมืองไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมายและระเบียบ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง. (อ. anarchy).
  38. อนุมัติ : [มัด] ก. ให้อำนาจกระทำการตามระเบียบที่กําหนดไว้. (ป., ส.).
  39. อนุรักษนิยม : [อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม] น. อุดมคติทาง การเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทาน การเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว.
  40. อภิสิทธิ์ : น. สิทธินอกเหนือขอบเขต, สิทธิเหนือกฎหรือระเบียบที่วางไว้, สิทธิที่ได้รับนอกเหนือไปจากกฎหรือระเบียบที่วางไว้. (ป., ส.).
  41. อรินทร์ : น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชา หรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
  42. อลเวง : [อนละ] ว. เซ็งแซ่, ไม่เป็นระเบียบ.
  43. อสัตถพฤกษ์, อัสสัตถพฤกษ์ : [อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก] น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้า ประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์.
  44. อ๋อ ๑ : น. ชื่อวิธีแทงโปกำและโปปั่นวิธีหนึ่ง มีถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู คือ ถ้าลูกค้าแทงอ๋อประตูเดียว โปออกประตูที่แทงนั้น เจ้ามือต้องจ่าย ๓ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน, เรียกกิริยาที่แทงเช่นนั้นว่า แทงอ๋อ.
  45. อ๋อง : น. เจ้านายชั้นสูงของจีน. (ปาก) ว. เยี่ยมยอด เช่น มือชั้นอ๋อง. (จ.).
  46. อัตราส่วน : น. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือ ต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณ หลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณ แรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด บางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วน ไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).
  47. อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
  48. อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
  49. อัยยะ : น. ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย. (ป.).
  50. อา ๓, อ๋า : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก ๓ ประตู โปออก ประตูใดใน ๓ ประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน หมดทั้ง ๓ ประตู.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-917

(0.0807 sec)