Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้างเคียง, เคียง, ข้าง , then ขาง, ข้าง, ข้างเคียง, เคียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้างเคียง, 932 found, display 751-800
  1. ล้าหลัง : ว. ช้าอยู่ข้างหลังเขา เช่น เดินล้าหลัง, ไม่ก้าวหน้า เช่น ความคิดล้าหลัง.
  2. ลำมาบ : น. พื้นที่ลุ่มกว้างใหญ่ซึ่งมีทางนํ้าไหลอยู่ข้างล่าง.
  3. ลิ : ก. แตกบิ่นไปเล็กน้อย, อาการที่ของเป็นปุ่มเป็นแง่แตกบิ่นไปเล็กน้อย, เช่น พระกรรณพระพุทธรูปลิไปข้างหนึ่ง ขอบถ้วยลิไปนิดหนึ่ง.
  4. ลี่ ๓ : ว. อาการที่ลู่เอนไปข้างหลัง, ไม่กาง, (ใช้แก่หูของหมาเป็นต้น) เช่น หมาหูลี่. ก. แล่น เช่น ขนานลี่ ว่า เรือแล่น.
  5. ลุ้ง : น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทําด้วยโลหะมีทองเหลือง และเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็น ห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้; โลงสําหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.
  6. ลุ้น : (ปาก) ก. เอาใจช่วยเต็มที่ เช่น นั่งลุ้นฟุตบอลอยู่ข้างสนาม, สนับสนุน เช่น ลุ้นให้ได้ตำแหน่ง.
  7. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  8. ลูกกรด : น. ชื่อปืนชนิดที่ใช้กระสุนลูกกรด; ชื่อกระสุนชนิดหนึ่ง เล็กกว่ากระสุนทั่ว ๆ ไป ปลอกทำด้วยโลหะ หัวกระสุนทำด้วย ตะกั่ว มีลูกปรายและดินปืนอยู่ข้างใน มีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก.
  9. ลูกกระพรวน : [–พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้ง เล็ก ๆ อยู่ข้างในเพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, กระพรวน พรวน หรือ ลูกพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  10. ลูกกวาด : น. ของหวานทําด้วยนํ้าตาล มีสีต่าง ๆ มีลักษณะเป็นเม็ด กลม ๆ แน่นแข็ง บางอย่างมีถั่วเป็นต้นอยู่ข้างใน ใช้เคี้ยวหรืออม ให้ค่อย ๆ ละลายไปเอง.
  11. ลูกดอก : น. ไม้หรือเหล็กปลายแหลม มีพู่ข้างท้ายใช้หลอดเป่า ยิงสัตว์, เหล็กปลายแหลมมีด้ามเป็นไม้ มีหาง ใช้ปาไปที่เป้า.
  12. ลูกตะเพรา : น. ลูกกลม ๆ ที่ถักด้วยหวายแล้วยัดด้วยกาบมะพร้าว เป็นต้น แขวนไว้ข้างเรือเพื่อกันกระแทก.
  13. ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
  14. ลูกแตก : น. ลูกกระสุนที่มีดินปืนอย่างร้ายแรงอยู่ข้างใน เมื่อยิงหรือ ขว้างไปจะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ.
  15. ลูกแป : น. วิธีเตะตะกร้อท่าหนึ่งด้วยหน้าเท้า คือ ทั้งฝ่าเท้าและ ข้างเท้าพร้อม ๆ กัน.
  16. ลูกพรวน : น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, กระพรวน พรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น–พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  17. ลูกแอก : น. ไม้ ๒ อันที่สอดทะลุแอกลงไป ใช้กำกับ ๒ ข้างคอวัว หรือควาย.
  18. เลอ : บ. เหนือ, ข้างบน, พ้น. ว. ยิ่ง. (ข.).
  19. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  20. เลี่ยง : ก. ลักษณะอาการที่เบี่ยงออกไปจากทางหรือแนวเดิม เช่น คำนี้ไม่ สุภาพเลี่ยงไปใช้คำอื่น เจ้าหน้าที่ไม่ต้องการยิงให้ถูกผู้ประท้วงจึง ยิงเลี่ยงไปทางอื่น ขับรถเลี่ยงลงข้างทางเพื่อไม่ให้ชนวัวที่ยืนขวาง ถนน, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เลี่ยงงาน เลี่ยงกฎหมาย เลี่ยงภาษี เลี่ยงบาลี.
  21. เลือดตกใน : น. เลือดที่ไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก แทงเป็นต้น.
  22. เลื่อยตะขาบ : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแผ่นแบนยาว ท้องเลื่อยหย่อนโค้ง ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างทำ เป็นบ้อง สำหรับสอดไม้ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักใบเลื่อย ใช้คน ชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน, เลื่อยยมบาล ก็เรียก.
  23. เลื่อยทำทอง : น. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวด แบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็ก เป็นรูปอย่างนี้ ? คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็ก แข็งกว่า.
  24. เลื่อยธนู : น. เครื่องมือสำหรับตัดหรือซอยไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำ ด้วยเหล็กดัดโค้งคล้ายคันธนู.
  25. เลื่อยโยง : น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะ เป็นแถบยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่าง ผูกโยงกับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อย ให้ทำงาน.
  26. เลื่อยลอ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายข้างหนึ่งมีด้ามสำหรับจับ.
  27. เลื่อยเหล็ก : น. เครื่องมือสำหรับตัดเหล็ก ใบเลื่อยมีลักษณะเป็น แถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายและโคนคันเลื่อย ซึ่งทำด้วยเหล็ก ที่โคนคันมีด้ามสำหรับจับ.
  28. วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
  29. วอ : น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สําหรับเจ้านายหรือ ข้าราชการฝ่ายในนั่งมีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียก รถยนต์ที่มีวอสําหรับเชิญศพตั้งบนกระบะรถว่า รถวอ.
  30. วัก ๑ : ก. เอาอุ้งมือตักน้ำหรือของเหลวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว เช่น ใช้มือวักน้ำ กิน เอามือวักน้ำโคลนสาด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วักควัน.
  31. วันหน้า : น. วันที่จะมาถึงข้างหน้า เช่น วันหน้าจะพบกันใหม่, ใช้ว่า วันหลัง ก็มี.
  32. วางตัว : ก. ประพฤติตน เช่น วางตัวไม่ดี คนอื่นจะดูถูกได้, ปฏิบัติตน เช่น วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างใคร.
  33. วางตัวเป็นกลาง : ก. ไม่เข้าข้างใคร เช่น พี่น้องทะเลาะกัน เขาเลยต้องวางตัวเป็นกลาง.
  34. วาม ๒, วามะ ๑ : [วามะ] ว. ซ้าย, ข้างซ้าย. (ป., ส.).
  35. วาว : ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดู วาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ.
  36. วาวแวว : ว. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น แหวนเพชรวงนี้มีน้ำ วาวแวว, แวววาม หรือ แวววาว ก็ว่า.
  37. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  38. วิจิตรพิศวง : [จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลาย ชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
  39. วิดพื้น : (ปาก) น. ท่ากายบริหารอย่างหนึ่งมี ๒ แบบ แบบหนึ่งเริ่ม ด้วยท่านอนทอดตัวลงเกือบถึงพื้น มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้น ไว้ งอแขนให้ศอกแนบลำตัว หน้าเงย แล้วเหยียดแขนพร้อมกับ ยกตัวขึ้น แล้วงอแขนพร้อมทั้งลดตัวลงกลับไปอยู่ในท่าเดิม อีกแบบหนึ่งเริ่มด้วยท่านอน มือและปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างยันพื้นไว้ แขนเหยียดตรง หน้าเงย แล้วงอแขนให้ศอกแนบลำตัวพร้อมกับ ทอดตัวลงเกือบถึงพื้น แล้วเหยียดแขนพร้อมทั้งยกตัวขึ้นกลับไป อยู่ในท่าเดิม, เรียกเป็นทางการว่า ยุบข้อ.
  40. วิปริต : [วิปะหฺริด, วิบปะหฺริด] ก. แปรปรวน, ผิดปรกติ, ผิดแนวทาง, แปรปรวนไปข้างร้าย, กลับกลายไปข้างร้าย. (ป.; ส. วิปรีต).
  41. วิมุข : [มุก] ว. กลับหน้า; เพิกเฉย; ข้างหลัง, ฝ่ายหลัง. (ป., ส.).
  42. วิหารราย : น. วิหารขนาดใกล้เคียงกับวิหารน้อย ตั้งเรียงรายภายใน พุทธาวาสโดยรอบ เช่น วิหารรายวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศาลารายที่ใช้สำหรับพิธีสวดโอ้เอ้ วิหารราย เช่น ศาลารายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร.
  43. วุ้น : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทำจากสาหร่ายทะเลเป็นต้น เมื่อนํามาต้มแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัว มีลักษณะค่อนข้างใสและนุ่ม ใช้ทําเป็นของ หวานบางอย่าง เช่นวุ้นกะทิ วุ้นนํ้าเชื่อม, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เคี่ยวหนังหมูจนเปื่อยเป็นวุ้น.
  44. แวววาม, แวววาว : ก. มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน เช่น เพชรเม็ดนี้ มีน้ำงาม มีแสงแวววาว, วาวแวว ก็ว่า.
  45. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  46. ศัพท์สำเนียง : น. เสียง เช่น ข้างนอกเสียงเอ็ดอึง อยู่ข้างในฟัง ไม่ได้ศัพท์
  47. ศุกลปักษ์ : น. เวลาข้างขึ้น. (ส.).
  48. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  49. ส่ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึง ผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบน ให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อ มีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้นไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.
  50. สงกรานต์ ๒ : [กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ใน ทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณ น้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | [751-800] | 801-850 | 851-900 | 901-932

(0.0993 sec)