Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช่วงเวลา, เวลา, ช่วง , then ชวง, ช่วง, ชวงวลา, ช่วงเวลา, เพลา, วลา, เวล, เวลา, เวฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ช่วงเวลา, 933 found, display 701-750
  1. ลอกแลก : ว. แสดงอาการหลุกหลิกเป็นต้น เหลียวซ้ายแลขวาอยู่ตลอดเวลา ถือกันว่าเป็นกิริยาไม่สุภาพหรือบางทีก็ส่อพิรุธด้วย.
  2. ละงาด : น. เย็น, เวลาเย็น, ใช้ว่า ลางาด ล้างาด หรือ ลํางาด ก็มี. (ข. ลงาจ).
  3. ละเมอ : ก. พูด ทํา หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้วยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า.
  4. ละหมาด : น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการนมัสการในศาสนาอิสลามเพื่อชําระจิตใจ ให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติวันละ ๕ เวลา, นมาซ ก็เรียก.
  5. ลักจั่น : [ลักกะจั่น] น. นํ้าเต้าหรือภาชนะดินรูปคล้ายนํ้าเต้า สําหรับบรรจุนํ้า ในเวลาเดินทางอย่างที่พระธุดงค์ใช้.
  6. ลัด ๑ : ก. ตัดตรงไปเพื่อย่นทางย่นเวลา เช่น เดินลัดตัดทุ่ง, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําซึ่งลุล่วงได้โดยตรงและเร็วกว่าการกระทํา ตามปรกติ เช่น เรียนลัด.
  7. ลัดนิ้วมือ : น. เวลาชั่วงอนิ้วมือแล้วดีดออก, โดยปริยายหมายความ ว่าเร็วฉับพลัน, ชั่วประเดี๋ยวเดียว, เช่น ชั่วลัดนิ้วมือเดียวก็ถึง.
  8. ลัยกาล : [ไลยะกาน] น. เวลาแตกดับ, เวลาทําลาย. (ส. ลยกาล).
  9. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  10. ลางาด, ล้างาด : น. เย็น, เวลาเย็น, ละงาด ก็ใช้.
  11. ลายสอ : น. ชื่องูขนาดเล็กในวงศ์ Colubridae ตัวสีเหลือง มีลายดําทั่วตัว อยู่ตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ดุแต่ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) ลายสอหัวเหลือง (Sinonatrix percarinata).
  12. ลำงาด : น. เย็น, เวลาเย็น, ใช้ว่า ละงาด ลางาด หรือ ล้างาด ก็มี. (ข. ลงาจ).
  13. ลำพู่กัน : น. เรียกสิ่งที่ปรากฏเป็นลําขาวไปในท้องฟ้าเวลาเช้าหรือ เย็นถือว่าเป็นลางบอกเหตุ.
  14. ลำยอง : น. ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลมปราสาทหรือวิหาร. ว. สวย, งาม.
  15. ลิงลม : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang ในวงศ์ Lorisidae หางสั้นมาก นิ้วชี้ของขาหน้าเล็กมากดูคล้ายติ่ง นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บ ยาวปลายแหลมเห็นได้ชัด ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง ตาโต ขนนุ่มมีลายสีนํ้าตาล ออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินผลไม้ แมลง และสัตว์เล็ก ๆ, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก.
  16. ลิงหลอกเจ้า : (สํา) ก. ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ.
  17. ลิ่มเลือด : น. เลือดซึ่งแปรรูปคล้ายวุ้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ที่มีประโยชน์เกิดนอกร่างกาย เช่นเวลาเป็นแผลมีเลือดออกแล้ว แข็งเป็นลิ่ม เลือดก็จะหยุดไหล ที่มีโทษเกิดภายในร่างกายซึ่งเกิด จากการผิดปรกติบางอย่างของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตราย ร้ายแรงได้โดยไปอุดตามหลอดเลือดฝอยเช่นที่สมอง ทำให้เป็น อัมพาต ที่หัวใจ ทำให้หัวใจวาย.
  18. ลี่ ๑ : น. ชื่อมดขนาดยาว ๕–๖ มิลลิเมตร อยู่กันเป็นฝูงตามต้นไม้ ทํารัง ด้วยดินและวัสดุเศษไม้ตามซอกกิ่งไม้ ลักษณะคล้ายรังปลวก เวลาเดินจะยกท้องขึ้นเกือบตั้งฉากกับลําตัวคล้ายกับมีหางชี้ ที่พบ ได้บ่อยอยู่ในสกุล Crematogaster วงศ์ Formicidae คือ ชนิด C. dohrni หัวและอกสีส้ม ท้องสีดํา, รี่ หรือ ตูดงอน ก็เรียก.
  19. ลืมตัว : ก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธ เขาลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขา ลืมตัว.
  20. ลุย : ก. เคลื่อนที่ฝ่าเรื่อยเข้าไป เช่น ลุยน้ำ ลุยโคลน ลุยไฟ ลุยป่า ขับรถ ลุยเข้าไปในฝูงคน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลุยงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด หัวหน้าสั่งลูกน้องลุยฝ่าย ตรงข้าม.
  21. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  22. ลูกคอ : น. เสียงเอื้อนหรือเสียงครวญในเวลาร้องเพลงเป็นต้น.
  23. ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
  24. ลูกบวบ : น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือหนีบ รักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
  25. ลูกปราย : น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้อง ปืนครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่กับ ดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซองใช้ กระสุนลูกปราย.
  26. ลูกฝาแฝด : น. ลูก ๒ คนที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลา เดียวกันหรือใกล้กัน อาจมีร่างกายติดกันหรือไม่ติดกันก็ได้ มักมี หน้าตาเหมือนกัน.
  27. ลูกแฝด : น. ลูกที่เกิดจากท้องแม่คนเดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้กัน อาจเป็นแฝด ๒ คน ๓ คน หรือมากกว่านั้นก็ได้.
  28. ลูกหนู ๒ : น. ส่วนที่นูนขึ้นบนกล้ามเนื้อเวลาเอามือดึงหรือฟันที่ แขน, ต่อมนํ้าเหลืองที่โตขึ้นและคลําได้เป็นก้อนบริเวณใต้หูใต้ ขากรรไกรล่างและใต้คาง.
  29. ลูกหมาก ๒ : น. อุปกรณ์ในส่วนช่วงล่างของรถยนต์ มีหน้าที่บังคับ ล้อและพวงมาลัยไม่ให้สั่น ทั้งช่วยผ่อนความสะเทือนของตัวรถด้วย.
  30. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  31. ลูกอ่อน : น. ลูกเล็ก ๆ ที่ยังไม่หย่านม, เรียกพ่อหรือแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ ยังไม่หย่านมว่า พ่อลูกอ่อน แม่ลูกอ่อน, โดยปริยายเรียกบุคคลที่ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้อื่นคอยดูแลอย่างใกล้ชิด (มักใช้แก่ผู้สูงอายุ) เช่นเวลานี้ไปไหนไม่สะดวก เพราะมีคุณยายเป็นลูกอ่อน ต้องคอย ดูแลท่าน.
  32. เล็บนาง : น. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลา ฟ้อนรํา.
  33. เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.
  34. เลี้ยงผอก : ก. นำข้าวไปให้ชาวนากินในเวลาทำนา.
  35. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  36. วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
  37. วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
  38. วลี : [วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคําที่เรียง ติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยัง ไม่เป็นประโยคสมบูรณ์เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.
  39. วอกแวก : ว. อาการที่จิตใจไม่จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาฟัง ครูสอนมีสิ่งรบกวนทำให้จิตใจวอกแวก.
  40. วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
  41. วัดแดด : ก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก เช่น พอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ น.
  42. วันดีคืนดี : (ปาก) น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่ แน่นอน เช่น หายหน้าไปนาน วันดีคืนดีก็มา. วันตรุษ น. วันสิ้นปีซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔.
  43. วับ ๆ หวำ ๆ : ว. รู้สึกวาบ ๆ ในใจด้วยความหวาดหวั่น เช่น ใจวับ ๆ หวำ ๆ เวลาจะเข้ารับการผ่าตัด.
  44. วัสดุ : [วัดสะดุ] น. วัตถุที่นํามาใช้ เช่น วัสดุก่อสร้าง; ของใช้ที่มีอายุการ ใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น กระดาษ ดินสอ (ใช้แก่การงบประมาณ). (ส. วสฺตุ; ป. วตฺถุ).
  45. ว่าง : ว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง ที่ว่าง ตําแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคํา เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มี ภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวันเย็นนี้หมอว่าง ไม่มีคนไข้. น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง.
  46. ว่าไปทำไมมี : ก. พูดไปก็เสียเวลาเปล่า ๆ เช่น ว่าไปทำไมมี เมื่อก่อนก็ไม่มีสมบัติอะไรติดตัวอยู่แล้ว; ใช้เป็นคำขึ้นต้นประโยค หมายความว่า อันที่จริง เช่น ว่าไปทำไมมี เราคนกันเองทั้งนั้น.
  47. วาย ๑ : ก. ค่อยสิ้นไปตามคราวหรือกําหนดอายุเวลา เช่น มะม่วงวาย ตลาดวาย หัวใจวาย.
  48. วาร ๒, วาระ : [วาระ] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ใน ตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
  49. วารสาร : น. หนังสือที่ออกตามกำหนดเวลา เช่น วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน วารสารศิลปากร วารสารกรมการแพทย์.
  50. วาว : ว. สุกใส, มีแสงกลอกกลิ้งอยู่ข้างใน, เช่น ในเวลากลางคืนตาแมวดู วาว, เป็นมัน เช่น ผ้าต่วนเป็นมันวาว พื้นเป็นมันวาว, วาบแวบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-933

(0.1332 sec)